รีเซต

นักดื่มต้องอ่าน! ด่านตรวจยุค"พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข"ผบ.ตร.

นักดื่มต้องอ่าน! ด่านตรวจยุค"พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข"ผบ.ตร.
TNN ช่อง16
5 พฤศจิกายน 2563 ( 10:05 )
262

หลังจากที่การตั้งจุดตรงของตำรวจห่างหายไปพักใหญ่ เนื่องจาก พลตำรวจเอกสุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้มีคำสั่งให้ระงับการตั้งจุดตรวจไว้ก่อน เพื่อปรับปรุงแนวทางการปฏิบัติให้มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และมีมาตรฐานสากล เพราะที่ผ่านมา มีการร้องเรียนจากประชาชนมาอย่างต่อเนื่องว่า การตั้งจุดตรวจของตำรวจไม่มีความโปร่งใส เป็นหนทางหนึ่งในการแสวงหาผลประโยชน์ ทำให้ประชาชนเดือดร้อน

จากนั้นจึงให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ไปกำหนดแนวทางการตั้งจุดตรวจ เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น และก็ได้แนวทางดังกล่าวออกมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

เมื่อคืนที่ผ่านมา จึงได้มีการสาธิตการตั้งจุดตรวจวัดแอลกอฮอล์ และป้องกันอาชญากรรม เพื่อลดอุบัติเหตุ บริเวณด้านหน้า สน.ทองหล่อ โดยมี พลตำรวจเอกมนู เมฆหมอก และ พลตำรวจเอกดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ มาตรวจสอบดูการสาธิต ซึ่งมีแนวทางการปฏิบัติ 3 ข้อ ดังนี้

ข้อ 1 หลักการและแนวทางในการตั้งจุดตรวจ คือ 

1.1 การตั้งจุดตรวจต้องได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชา ตั้งแต่ระดับ ผบก.ขึ้นไป

1.2 การตั้งจุดตรวจต้องมีแผนการปฏิบัติที่ชัดเจน

1.3 จุดตรวจวัดแอลกอฮอล์ต้องมีป้ายแสดงถึงมาตรฐานการตรวจวัดแอลกอฮอร์ ตั้งไว้ตรงบริเวณใกล้โต๊ะตรวจวัดฯ ในลักษณะที่ผู้รับการตรวจวัดฯ

มองเห็นได้ชัดเจน

1.4 การกำหนดสถานที่ตั้งจุดตรวจวัดแอลกอฮอร์ ต้องกำหนดมาจาก (1.) ข้อมูลผู้กระทำความผิดเมาแล้วขับในเขตพื้นที่ (2.) สถิติการเกิดอุบัติเหตุ สาเหตุมาจากเมาแล้วขับ (3.)สภาพการจราจร ความปลอดภัยของผู้ใช้รถใช้ถนนและเจ้าหน้ที่ตำรวจเป็นสำคัญ (4.) ความสะดวก มีที่จอดยานพาหนะของผู้ขับขี่ มีไฟฟ้าสำหรับใช้ที่จุดตรวจฯ เช่น สำหรับกล้องวงจรปิดสัญญาณไฟวบวาบ และเครื่องพิมพ์ผลการตรวจ เป็นต้น

1.5 จุดตวจวัดแอลกอฮอล์ต้องมีแผงกั้นที่มีเครื่องหมายการจราจรว่า "หยุดตรวจ" โดยให้เป็นไปตามมาตรฐานที่จุดตรวจและในเวลากลางคืนจะต้องมีแสงไฟส่องสว่างให้มองเห็นได้อย่างชัดเจนในระยะไม่น้อยกว่า 150 เมตร และก่อนถึงจุดตรวจให้มีแผนป้ายแสดงยศ ชื่อ นามสกุล และตำแหน่งของหัวหนด่านตรวจ หรือจุดตรวจดังกล่าว

1.6 การสื่อสารกับประชาชนในการบังคับใช้กฎหมาย ต้องมีการอธิบายข้อกฎหมายให้ผู้กระทำผิดเข้าใจข้อกล่าวหา โดยใช้กิริยาวาจาที่สุภาพ

1.7 การตั้งจุดตรวจวัดแอลกอฮอล์ให้ปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติเกี่ยวกับการตั้งด่านตรวจ จุดตรวจ และจุดสกัด ตามที่ ตร. ได้เคยสั่งการไว้อย่าง

เคร่งครัด

ข้อ 2 การนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อให้เกิดความโปร่งใส ตรวจสอบได้ คือ

2.1 บันทึกข้อมูลการตั้งจุดตรวจวัดแอลกอฮอล์ตามแผนการปฏิบัติลงในระบบการจัดทำแผนการตั้งจุดตรวจกวดขันวินัยจราจร หรือ Police Traffic Checkpoint Control

2.2 ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่ประจำจุดตรวจวัดแอลกอฮอล์ทุกนาย บันทึกการปฏิบัติหน้าที่ด้วยกล้องบันทึกภาพเคลื่อนไหว เพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานในการปฏิบัติหน้าที่ และเพื่อยืนยันความโปร่งใส

2.3 การตรวจวัดแอลกอฮอล์ ให้มีการตรวจเบื้องต้นและแบบยืนยันผล และต้องบันทึกการตรวจทั้งสองแบบด้วยกล้องบันทึกภาพเคลื่อนไหวแบบดิจิตอลชนิดใส่ซิมเน็ต เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาสามารถตรวจสอบได้แบบเรียลไทม์

ข้อ 3 แนวทางการปฏิบัติเพื่อป้องกันการทุจริต คือ

3.1 จัดโต๊ะสำหรับตรวจวัดแอลกอฮอล์แบบยืนยันผลให้มีแสงสว่างมากพอ เป็นสถานที่เปิดเผย ป้องกันความเคลือบแคลงสงสัยจากประชาชน

3.2 มีป้ายไว้ตรงบริเวณจุดตรวจวัดฯ มีข้อความว่า "จุดตรวจวัดแอลกอฮอล์ สน. หรือ สภ.ท้องที่นั้นๆ มีการ บันทึกภาพเคลื่อนไหวแบบดิจิตอลไว้เป็นหลักฐาน เพื่อความโปร่งใส ตรวจสอบได้ เป็นมาตรฐานสากล"

3.3 เมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติแล้ว ให้หัวหน้าจุดตรวจวัดแอลกอฮอล์รายงานผลการปฏิบัติเป็นลายลักษณ์อักษรเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น

3.4 ให้หัวหน้าสถานีตรวจสอบข้อมูลการตรวจที่พิมพ์จากเครื่องตรวจวัดแอลกอฮอล์ ตามข้อ 3.3 หาก พบข้อมูลผิดปกติ ให้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริง และดำเนินการตามกฎหมายและระเบียบต่อไป

3.5 ให้หัวหน้าสถานีตำรวจจัดทำระบบจัดเก็บไฟล์ภาพเคลื่อนไหวแบบดิจิทัลการตรวจวัดแอลกอฮอล์ เพื่อป้องกันการร้องเรียนการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้ที่ผู้ตรวจวัดฯ ในภายหลัง

3.6 จัดให้มีแผ่นป้ายแสดงข้อความว่า "หากพบเจ้าหน้าที่ทุจริต หรือประพฤติมิชอบให้แจ้งผู้บังคับการ ระบุหมายเลขโทรศัพท์ หรือ แจ้งร้องเรียนการปฏิบัติหน้ที่ สายด่วน หมายเลข 1599" ข้อความดังกล่วข้างต้นให้มองเห็นได้อย่างชัดเจนในระยะไม่น้อยกว่า 15 เมตร

สำหรับการตั้งจุดตรวจวัดแอลกอฮอล์ของสถานีตำรวจ แบ่งเป็น 3 ขนาด คือ

สถานีตำรวจขนาดใหญ่ ใช้กำลัง 12 นาย

มีหัวหน้าชุด 1 นาย , ชุดคัดเลือกรถเพื่อมาตรวจสอบ 2 นาย , ชุดตรวจวัดแอลกอฮอล์ 3 นาย , ชุดป้องกันการหลบหนี 4 นาย , ชุดคุ้มกันเจ้าหน้าที่ตรวจวัดแอลกอฮอล์ 1 นาย และชุดควบคุมผู้ต้องหา 1 นาย

สถานีตำรวจขนาดกลาง ใช้กำลัง 9 นาย มีหัวหน้าขุด 1 นาย , ชุดคัดเลือกรถเพื่อมาตรวจสอบ 2 นาย , ชุดตรวจวัดแอลกอฮอล์ 2 นาย , ชุดคุ้มกันเจ้าหน้าที่ตรวจวัดแอลกอฮอล์ 1 นาย , ชุดป้องกันการหลบหนี 2 นาย และชุดควบคุมผู้ต้องหา 1 นาย

สถานีตำรวจขนาดเล็ก ใช้กำลัง 7 นาย มีหัวหน้าชุด 1 นาย , ชุดคัดเลือกรถมาตรวจสอบ 1 นาย , ชุดตรวจวัดแอลกอฮอล์ 1 นาย , ชุดคุ้มกันเจ้าหน้าที่ตรวจวัดแอกอฮอล์ 1 นาย , ชุดป้องกันการหลบหนี 2 นาย และศูนย์ควบคุมผู้ต้องหา 1 นาย

ขณะที่พลตำรวจเอกดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยว่า หากแนวปฎิบัติได้ออกมาอย่างชัดเจน ตำรวจทั่วประเทศต้องนำไปปฎิบัติ หากพบว่าไม่ปฎิบัติตามจะต้องดำเนินการทางวินัย และการตั้งด่านตรวจจะต้องได้รับการอนุมัติจากผู้บังคับการของแต่ละพื้นที่ก่อน การจัดตั้งป้ายแสดงการตรวจวัดแอลกอฮอล์ กล้องวงจรปิดที่สามารถบันทึกและตรวจสอบย้อนหลังได้ 3 วัน และขอให้ประชาชนเชื่อมมั่นในการทำงานของตำรวต และสามารถบันทึกภาพได้ขณะที่รับการตรวจเพื่อใช้เป็นหลักฐานกรณีที่เห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม

ขณะที่นายแพทย์แท้จริง ศิริพานิชย์ เลขาธิการมูลนิธิเมาไม่ขับ เห็นด้วยกับมาตรการนี้ หากมีการบังคับใช้อย่างจริงจัง ก็เชื่อว่าจะสามารถลดอุบัติเหตุจากผู้ขับขี่ที่เมาแล้วขับได้ เพราะในช่วงงดตั้งด่านตรวจที่ผ่านมา ก็พบว่ามีอุบัติเหตุในช่วงกลางคืนรุนแรงขึ้นมาก 

แม้ว่าวิธีการตั้งด่านตรวจจะไม่แตกต่างจากเดิมมากนัก แต่เห็นว่ามีการนำเทคโนโลยีมาใช้ประกอบเพื่อให้มีความโปร่งใสในการทำงานของตำรวจมากขึ้น แต่ก็อยากให้ผู้ที่เข้ารับการตรวจถ่ายคลิปวิดีโอไว้เป็นหลักฐานของตัวเองด้วย 

อย่างไรก็ตาม มูลนิธิเมาไม่ขับยังพร้อมร่วมที่จะขับเคลื่อนการรณรงค์แก้ไขปัญหาเมาไม่ขับ และพร้อมนำผู้เสียหายจากการถูกรถชนจากเหตุผู้ขับรถที่เมาแล้วขับมาร่วมสังเกตการณ์ทำงาน หรือเป็นตัวอย่างให้ผู้ขับขี่มีจิตสำนึกมากขึ้นด้วย และทางมูลนิธิฯ พร้อมที่จะออกค่าใช้จ่ายเอง


เกาะติดข่าวที่นี่

website: www.TNNTHAILAND.com
facebook : TNNONLINE
facebook live : TNN Live
twitter : TNNONLINE
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNONLINE
Instagram : TNN_ONLINE
TIKTOK : @TNNONLINE

ข่าวที่เกี่ยวข้อง