รีเซต

นักดาราศาสตร์พบ 'ดาวพฤหัสร้อน' อุณหภูมิแตกต่างสุดขั้ว

นักดาราศาสตร์พบ 'ดาวพฤหัสร้อน' อุณหภูมิแตกต่างสุดขั้ว
Xinhua
15 สิงหาคม 2566 ( 19:50 )
101

เยรูซาเล็ม, 15 ส.ค. (ซินหัว) -- ผลการศึกษาจากวารสารเนเจอร์ แอสโทรโนมี (Nature Astronomy) ซึ่งเผยแพร่เมื่อวันจันทร์ (14 ส.ค.) ระบุว่าคณะนักดาราศาสตร์นานาชาติได้ค้นพบดาวพฤหัสบดีร้อน (Hot Jupiter) ที่มีอุณหภูมิระหว่างสองด้านของดาวแตกต่างกันสุดขั้ว"ดาวพฤหัสบดีร้อน" เป็นคำศัพท์ที่เหล่านักดาราศาสตร์ใช้อธิบายดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะประเภทหนึ่งอันมีลักษณะทางกายภาพคล้ายคลึงกับดาวพฤหัสบดีที่เป็นดาวเคราะห์ก๊าซยักษ์ (Gas giant) แต่โคจรอยู่ใกล้ดาวฤกษ์ โดยการแผ่รังสีรุนแรงจากดาวฤกษ์ของพวกมันส่งผลให้ดาวพฤหัสร้อนมีอุณหภูมิพื้นผิวสูงมากนาอามา ฮัลลาคูน นักดาราศาสตร์จากสถาบันวิทยาศาสตร์ไวซ์มันน์ (WIS) ซึ่งเป็นผู้นำการศึกษา เผยผ่านเว็บไซต์สถาบันฯ ว่าพวกเขาค้นพบดาวพฤหัสบดีร้อนที่โคจรรอบดาวแคระขาว (white dwarf) ห่างจากโลกประมาณ 1,400 ปีแสง เป็นแกนกลางที่หลงเหลือของดาวฤกษ์ที่มีการเผาไหม้เชื้อเพลิงนิวเคลียร์หมดแล้วฮัลลาคูนกล่าวว่ามีความเป็นได้ที่จะมองเห็นและศึกษาวัตถุนี้เพราะว่ามันมีขนาดใหญ่มากเมื่อเทียบกับดาวฤกษ์ที่มันโคจรโดยรอบ ซึ่งสลัวกว่าดาวฤกษ์ทั่วไปถึง 10,000 เท่าการศึกษายังพบว่าด้านกลางวันของดาวพฤหัสบดีร้อน มีอุณหภูมิอยู่ที่ประมาณ 7,000-9,500 องศาเซลเซียส ร้อนกว่าพื้นผิวดวงอาทิตย์มากกว่า 2,000 องศาเซลเซียส ขณะด้านกลางคืนมีอุณหภูมิเพียง 1,000-2,700 องศาเซลเซียส โดยมีความแตกต่างกันประมาณ 6,000 องศาเซลเซียส ซึ่งถือเป็นความแตกต่างมากที่สุดเท่าที่เคยพบเจอในดาวพฤหัสบดีร้อนฮัลลาคูนชี้ว่าการค้นพบดังกล่าวเปรียบดังห้องทดลองที่มีความสมบูรณ์แบบสำหรับการศึกษาสภาวะสุดขั้วของดาวพฤหัสบดีร้อนในอนาคต

ข่าวที่เกี่ยวข้อง