รีเซต

ทึ่ง! เผยอาหารมื้อสุดท้ายของฟอสซิล ‘ไทรโลไบต์’ อายุ 465 ล้านปี

ทึ่ง! เผยอาหารมื้อสุดท้ายของฟอสซิล ‘ไทรโลไบต์’ อายุ 465 ล้านปี
TNN ช่อง16
1 ตุลาคม 2566 ( 13:42 )
97
ทึ่ง! เผยอาหารมื้อสุดท้ายของฟอสซิล ‘ไทรโลไบต์’ อายุ 465 ล้านปี

การค้นพบล่าสุดนี้ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยอัปป์ซาลา (Uppsala University) ประเทศสวีเดนได้ศึกษาฟอสซิลของไทรโลไบต์ สายพันธุ์โบฮิโมลิคัส อินโคลา (Bohemolichas incola) ซึ่งถูกพบที่ประเทศสาธารณรัฐเช็ก รวมไปถึงอาหารในกระเพาะอาหารของสัตว์ดังกล่าว เนื่องจากซากอาหารเหล่านั้นอยู่ในสภาพดี นักวิจัยจึงสามารถอนุมานรูปแบบการกินของสิ่งมีชีวิตที่มีอายุถึง 465 ล้านปี ได้จากตัวอย่างซากฟอสซิลนี้


ทั้งนี้ ไทรโลไบต์เป็นหนึ่งในสัตว์ทะเลที่มีความซับซ้อนและเก่าแก่ที่สุดในยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มันเป็นสิ่งมีชีวิตที่พบได้จำนวนมาก โดยมีการระบุสปีชีส์ของไทรโลไบต์ที่มีชีวิตอยู่ในช่วง 270 ล้านปี แล้วกว่า 20,000 ชนิด ทำให้มีการค้นพบซากฟอสซิลของพวกมันในส่วนต่าง ๆ ของโลก อย่างไรก็ดี กลับก็ไม่ค่อยมีใครรู้เกี่ยวกับนิสัยการกินของไทรโลไบต์ เนื่องจากไม่เคยมีรายงานเกี่ยวกับตัวอย่างอาหารที่พบในลำไส้ของฟอสซิลมาก่อน 


การค้นพบครั้งนี้จึงเป็นเหมือนการเปิดฉากบทใหม่ของการศึกษาเกี่ยวกับไทรโลไบต์ ที่อาจนําไปสู่ความเข้าใจที่ดีขึ้นเกี่ยวกับวิวัฒนาการของกระบวนการย่อยอาหารของมัน โดยทีมวิจัยได้ใช้เทคโนโลยีซินโครทรอน ไมโครโทโมกราฟี (synchrotron microtomography) ซึ่งเป็นการใช้รังสีเอ็กซเรย์แบบใหม่ที่สามารถสร้างภาพถ่าย 3 มิติ ของลําไส้ที่อัดแน่นเต็มไปด้วยเปลือกหอยของสัตว์ทะเลต่าง ๆ อาทิ หอยสองฝาประเภทออสทราคอดส์ (ostracods) และไบวาลฟ์ (bivalves) รวมถึงสัตว์จำพวกเม่นทะเลและพลับพลึงทะเล (echinoderms) ได้ 


ผลการค้นพบซากอาหารจำนวนมากนี้ทำให้เห็นว่าน่าจะเป็นสัตว์กินซากพืชซากสัตว์ (scavenger) จอมฉวยโอกาส ซึ่งคาดว่ามันน่าจะกินทั้งสัตว์ที่ตายแล้วและสัตว์ที่ยังมีชีวิต โดยอาหารที่ไทรโลไบต์ชอบคือสิ่งมีชีวิตที่สามารถกระเทาะออกได้ง่ายหรือมีขนาดเล็กพอที่จะกินได้ทั้งเปลือก ยิ่งกว่านั้นมันยังมีลําไส้ที่มีค่าความเป็นกรด-ด่างสูงเทียบได้กับกุ้งและแมงดาทะเลในปัจจุบันอีกด้วย 


ที่มาข้อมูล interestingengineering 

ที่ารูปภาพ nature


ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง