จับสัญญาณเตือนเสี่ยงฆ่าตัวตาย หลัง “เบิร์ดแฟนแตงโม” พูดเสร็จงานก็จะไปแล้ว
จากพิธีไว้อาลัย “แตงโม นิดา” ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 11-13 มีนาคม 2565 ที่คริสตจักรเสรีภาพกรุงเทพ (Liberty Church Bangkok) มีนักแสดงและคนในวงการบันเทิงหลายคนมาร่วมงาน หนึ่งในนั้นคือ “เบิร์ดแฟนแตงโม” ที่ยังคงเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดย "โม อมีนา" นักแสดงเล่าว่า “เบิร์ดแฟนแตงโม” ได้นำแหวนที่ทำให้แตงโม เป็นพิเศษ ไปวางไว้หน้าลูกโป่งที่จัดให้แตงโม พร้อมกล่าวว่า เราแต่งงานกันแล้วนะ
สภาพจิตใจของ “เบิร์ดแฟนแตงโม” ยังคงไม่ดีขึ้น หลังจากเหตุการณ์แตงโม นิดา พัชรวีระพงษ์ ตกเรือเสียชีวิต ซึ่งก่อนหน้านี้ เอ ศุภชัย ผู้จัดการดารา ได้ให้สัมภาษณ์ไว้ว่า เคยโทรหาพี่ซูซี่ ที่สนิทกับน้องเบิร์ดแฟนแตงโม ในเรื่องงานเบื้องหน้าและงานเบื้องหลัง พี่ซูซี่ก็บอกว่า "เบิร์ดเขาไม่เอาอะไรเลยพี่ เขาบอกว่า “เสร็จงานเดี๋ยวเขาก็ไปแล้ว” เราก็ยิ่งร้องไห้ เราก็ยิ่งสงสาร เรายิ่งเอ็นดู อย่าใช้คำว่าสงสารเลย เอาเป็นเราก็ยิ่งเอ็นดู"
จากนั้นเฟซบุ๊กเพจ คลินิกสุขภาพจิตนายแพทย์เจษฎา ของ นพ.เจษฎา ทองเถาว์ จิตแพทย์ประจำโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ จ.อุบลราชธานี ได้ออกมาโพสต์ตั้งข้อสังเกตกับคำพูดของ "เบิร์ดแฟนแตงโม" สำหรับประโยคที่ว่า "เสร็จงาน ก็จะไปแล้ว" เน้นย้ำอย่าประมาทกับประโยคนี้ อย่าประมาทกับประโยคสั้นๆประโยคนี้ ขอวิงวอนญาติสนิท/คนใกล้ชิด ช่วยดูแล/เฝ้าระวังให้ดีด้วยครับ
ภาพจากเฟซบุ๊ก คลินิกสุขภาพจิตนายแพทย์เจษฎา
ซึ่งทำให้แฟนคลับแตงโม เพื่อนแตงโม และประชาชนต่างเป็นห่วง "เบิร์ดแฟนแตงโม" เป็นอย่างมาก เนื่องจากในงานไว้อาลัย “แตงโม นิดา” ระหว่างเปิดเพลงและวีดีโอ ประมวลภาพของ แตงโม ตั้งแต่เด็ก เบิร์ด ได้ลุกขึ้นซับน้ำตา ก่อนที่จะเดินออกจากบริเวณที่จัดงาน จากนั้นกลุ่มเพื่อนของเบิร์ด และเพื่อนแตงโม ได้เดินตามไปปลอบใจ
ล่าสุด “โม อมีนา” ยืนยันว่า “เบิร์ดแฟนแตงโม” ไม่เคยคิดฆ่าตัวตาย แค่อยากไปเที่ยวไปพักผ่อนเหมือนไปพักใจเฉยๆ ที่พะงัน ซึ่งที่ผ่านมาก็ไม่มีคำพูดอะไรที่น่าเป็นห่วง ตนก็ยังสงสัยอยู่ว่าคำพูดนี้มาจากไหน เพราะพี่เบิร์ดไม่เคยให้สัมภาษณ์เลย เมื่อวานกลับจากงานก็ยังคอยดูแลและถามไถ่กันตลอด ในส่วนของสภาพจิตใจพี่เบิร์ดก็ยังแย่อยู่ แต่ไม่ได้ถึงขั้นว่าจะต้องฆ่าตัวตาย
จากเหตุการณ์การสูญเสีย “แตงโม นิดา” ดาราชื่อดัง ที่ตกเรือเสียชีวิตในครั้งนี้ สร้างความสะเทือนใจต่อสังคมเป็นอย่างมาก TrueID จึงพาทุกคนมาเช็กคนใกล้ชิดถึง “สัญญาณเตือนเสี่ยงฆ่าตัวตาย” หากคนใกล้ชิดมีอาการเศร้า เสียใจ อาจเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายได้
10 สัญญาณเตือนเสี่ยง “ฆ่าตัวตาย”
- ประสบปัญหาชีวิต เช่น ล้มละลาย สูญเสียคนรักกะทันหัน พิการจากอุบัติเหตุ
- ใช้สุรา หรือยาเสพติด
- มีประวัติคนในครอบครัว เคยฆ่าตัวตาย
- แยกตัว ไม่พูดกับใคร
- นอนไม่หลับเป็นเวลานาน
- พูดจาด้วยน้ำเสียงวิตกกังวล หน้าตาเศร้าหมอง
- ชอบพูดว่าอยากตายหรือไม่อยากมีชีวิตอยู่
- มีอารมณ์แปรปรวน จากซึมเศร้า หรือหงุดหงิดมานานเป็นสบายใจอย่างผิดหูผิดตา
- เคยพยายามฆ่าตัวตายมาก่อน
- มีการวางแผนการฆ่าตัวตายไว้ล่วงหน้า
- พูดจาฝากฝังคนข้างหลัง
- จัดการงานและทรัพย์สินให้เรียบร้อย
- แจกจ่ายของรักให้คนอื่น
การช่วยเหลือคนที่อยากฆ่าตัวตายเบื้องต้น
จุดมุ่งหมายหลักของการพูดคุยคือเพื่อให้เขารับรู้ว่ามีคนใส่ใจรับรู้ปัญหาความทุกข์องเขา ส่วนการมุ่งหาทางแก้ปัญหาให้เขาถือเป็นเรื่องรอง ท่าทีเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ฟังด้วยความใส่ใจ เปิดโอกาสให้เขาพูด พยายามที่จะเข้าใจความทุกข์ใจ และปัญหาในมุมมองของเขา
- ไม่รีบให้คำแนะนา หรือบอกว่าอย่าคิดอย่างนี้ หรือหาเหตุผลมาแย้งว่าเขาคิดผิด ซึ่งจะยิ่งทาให้เขายิ่งไม่อยากเล่า
- ถามความคิดเรื่องการฆ่าตัวตาย อย่ากลัวที่จะถาม การถามไม่ได้กระตุ้นให้เขาคิดถึงเรื่องการฆ่าตัวตาย แต่จะเป็นการเปิดโอกาสให้เขาได้ระบายความรู้สึก อาจเริ่มด้วย “เคยมีความคิดไม่อยากอยู่หรืออยากไปให้พ้น ๆ ไหม” เขาคิดบ่อยไหม คิดจะทำอย่างไร
- ให้เขารับรู้ว่าเราพร้อมที่จะช่วยเขาตลอดในช่วงนี้
- ถ้าไม่ได้อยู่กับเขา บอกเขาว่าเราจะหมั่นโทรศัพท์มาเช็ค ถ้าเขารู้สึกไม่สบายใจให้รีบโทรศัพท์มาหาเราได้ทันที
- หากดูเขาซึมเศร้า หรือพูดคุยแล้วยังไม่ดีขึ้น ชักชวนแนะนำให้เขาพบแพทย์หรือนักจิตวิทยาเพื่อรับการช่วยเหลือ
ถ้าสงสัยว่าผู้นั้นคิดฆ่าตัวตายหรือไม่ "ควรถาม"
การถามเรื่องการฆ่าตัวตายสามารถทำได้ เพราะอาจช่วยรักษาชีวิตเขาไว้ได้ วิธีการถามควรใช้ชุดคำถามแบบขั้นบันได ดังนี้
- เมื่อพบว่าใครมีอารมณ์ซึมเศร้า ให้ถามว่า“ความเศร้านั้นมากจนทำให้เบื่อชีวิตหรือไม่”
- ถ้าตอบรับ ให้ถามต่อไปว่า “ความรู้สึกเบื่อชีวิตนั้น ทำให้คิดอยากตายหรือไม่”
- ถ้าตอบรับ ให้ถามต่อไปว่า “เมื่อคิดอยากตาย เคยคิดจะทำหรือไม่”
- ถ้าตอบรับ ให้ถามต่อไปว่า “คิดจะทำอย่างไร”
- ถ้าตอบรับ ให้ถามต่อไปว่า “เคยทำหรือไม่”
- ถ้าตอบรับ ให้ถามต่อไปว่า “เคยทำอย่างไร”
- สุดท้าย ให้ถามต่อไปว่า “มีอะไรยับยั้งใจ หรือหยุดความคิดนี้ได้ จนทำให้ไม่ได้ทำ”
คำถามข้อสุดท้ายไม่ว่าจะตอบอย่างไร แสดงถึงปัจจัยบวกของผู้นั้นที่ช่วยให้เขายั้งคิด และป้องกันไม่ให้ฆ่าตัวตาย ควรชมและส่งเสริมให้กำลังใจในข้อดีนี้ เพื่อให้เป็นปัจจัยป้องกันในครั้งต่อไป
บางคนเชื่อว่า การถามเรื่องฆ่าตัวตายจะไปกระตุ้นคนที่ยังไม่คิดให้คิด หรือกระตุ้นให้คนที่คิดอยู่บ้างทำจริง ๆ ความเชื่อนี้ไม่ถูกต้องเพราะในความเป็นจริงการถามเรื่องนี้ไม่ได้ชักจูงหรือกระตุ้นให้คิดหรือทำ แต่สำหรับคนที่คิดจะทำอยู่แล้ว เมื่อมีคนถามจะรู้สึกว่ามีคนเข้าใจความรู้สึกดีขึ้นจนไม่คิดอยากทำ
ข้อมูล กระทรวงสาธารณสุข , คลินิกสุขภาพจิตนายแพทย์เจษฎา , มหาวิทยาลัยมหิดล , โรงพยาบาลศิริราช
--------------------
เกาะติดสถานการณ์โควิด-19 ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก
ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.
คลิกเลย >>> TrueID Community <<<