รีเซต

เปิดคำวินิจฉัยศาลรธน.ให้ “เศรษฐา ทวีสิน” สิ้นสุดความเป็นนายกฯ ฉบับเต็ม

เปิดคำวินิจฉัยศาลรธน.ให้ “เศรษฐา ทวีสิน” สิ้นสุดความเป็นนายกฯ ฉบับเต็ม
TNN ช่อง16
14 สิงหาคม 2567 ( 18:04 )
48

ประธานวุฒิสภาส่งคําร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๗๐ วรรคสาม ประกอบมาตรา ๘๒ ว่า ความเป็นรัฐมนตรีของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และนายพิชิต ชื่นบาน รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๗๐ วรรคหนึ่ง (๔) ประกอบมาตรา ๑๖๐ (๔) และ (๕) หรือไม่ (เรื่องพิจารณาที่ ๑๗/๒๕๖๗) 


สมาชิกวุฒิสภา จํานวน ๔๐ คน ยื่นคําร้องต่อประธานวุฒิสภา (ผู้ร้อง) ว่านายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี (ผู้ถูกร้องที่ ๑) ได้นําความกราบบังคมทูลเพื่อโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งนายพิชิต ชื่นบาน รัฐมนตรี ประจําสํานักนายกรัฐมนตรี (ผู้ถูกร้องที่ ๒) เป็นรัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี ทั้ง ๆ ที่รู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่า ผู้ถูกร้องที่ ๒ ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ เนื่องจากผู้ถูกร้องที่ ๒ เคยถูกศาลฎีกาสั่ง จําคุกเป็นเวลา ๖ เดือน ในความผิดฐานละเมิดอํานาจศาล เป็นบุคคลที่กระทําการอันไม่ซื่อสัตย์สุจริต และมีพฤติกรรมอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๖๐ (๔) และ (๕) เป็นเหตุให้ความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องทั้งสองสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๗๐ วรรคหนึ่ง (๔) ประกอบมาตรา ๑๖๐ (๔) และ (๕) หรือไม่ ผู้ร้องจึงส่งคําร้องเพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๗๐ วรรคสาม ประกอบมาตรา ๘๒ ต่อมาผู้ถูกร้องที่ ๒ ลาออกจากตําแหน่งรัฐมนตรีแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญมีคําสั่งไม่รับคําร้องเฉพาะส่วนของผู้ถูกร้องที่ ๒ 


สําหรับกรณีของผู้ถูกร้องที่ ๑ มีคําสั่งรับไว้ พิจารณาวินิจฉัย ต่อมาศาลรัฐธรรมนูญมีคําสั่งรับคําชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา คําชี้แจงและเอกสารหลักฐานของบุคคล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งคําแถลงการณ์ปิดคดีของคู่กรณีรวมไว้ในสํานวน และเห็นว่าคดีมีพยานหลักฐาน เพียงพอที่จะพิจารณาได้ จึงยุติการไต่สวนตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของ ศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา ๕๘ วรรคหนึ่ง กําหนดประเด็นที่ต้องพิจารณาวินิจฉัยว่า ความเป็น รัฐมนตรีของผู้ถูกร้องที่ ๑ นายกรัฐมนตรี สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๗๐ วรรคหนึ่ง (๔) ประกอบมาตรา ๑๖๐ (๔) และ (๕) หรือไม่ 


ผลการพิจารณา 


พิจารณาเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญตามคําปรารภที่ว่า รัฐธรรมนูญนี้วางกลไกป้องกัน ตรวจสอบ และขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบที่เข้มงวด เด็ดขาด เพื่อมิให้ผู้บริหารที่ปราศจากคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลเข้ามามีอํานาจในการปกครองบ้านเมืองหรือใช้อํานาจตามอําเภอใจ จึงบัญญัติคุณสมบัติและ ลักษณะต้องห้ามของผู้ที่จะดํารงตําแหน่งรัฐมนตรีไว้ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๗๐ เป็นคุณสมบัติและลักษณะ ต้องห้ามเพิ่มเติมจากลักษณะต้องห้ามของบุคคลที่จะใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๙๘ 


ผู้ถูกร้องที่ ๑ กล่าวอ้างว่าตนมีภูมิหลังจากการประกอบธุรกิจ มีประสบการณ์ทางการเมืองที่จํากัด ไม่มีความรู้ทางด้านนิติศาสตร์หรือรัฐศาสตร์ จึงไม่อาจวินิจฉัยว่าผู้ถูกร้องที่ ๒ เป็นบุคคลที่ขาดคุณสมบัติหรือมี ลักษณะต้องห้ามเป็นรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญหรือไม่ เป็นข้ออ้างที่รับฟังไม่ได้ เพราะนายกรัฐมนตรีเป็น ผู้บังคับบัญชาสูงสุดในฝ่ายบริหารทุกการตัดสินใจมีผลกระทบต่อบ้านเมืองจึงต้องมีความรับผิดชอบในทุกการกระทํา ประกอบกับหลักเกณฑ์ในการพิจารณาเกี่ยวกับความซื่อสัตย์สุจริตและความน่าเชื่อถือหรือไว้วางใจต่อสาธารณชนนั้น เป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่ประจักษ์ชัดในลักษณะภาวะวิสัย 


ข้อเท็จจริงปรากฏในคําสั่งศาลฎีกาที่ ๔๕๙๙/๒๕๕๑ ที่วินิจฉัยว่า เสมียนทนายความที่ทํางาน ประสานงานให้ผู้ถูกร้องที่ ๒ นําถุงกระดาษใส่เงินสดมอบให้เจ้าหน้าที่ของศาลฎีกาโดยที่รู้หรือควรรู้ว่าภายใน ถุงกระดาษดังกล่าวมีเงินสดอยู่ และผู้ถูกร้องที่ ๒ มีพฤติการณ์ที่เชื่อได้ว่ามีส่วนรู้เห็นในการกระทําดังกล่าวด้วยใน ลักษณะเป็นตัวการร่วม โดยมีเจตนาจูงใจให้เจ้าหน้าที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง กระทําการอันมิชอบด้วยหน้าที่ที่อาจเชื่อมโยงไปเป็นประโยชน์แก่จําเลยในคดีหมายเลขดําที่ อม. ๑/๒๕๕๐ ซึ่งเป็น ลูกความของผู้ถูกร้องที่ ๒ การกระทําดังกล่าวเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล เป็นความผิดฐาน ละเมิดอํานาจศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๓๑ (๑) และมาตรา ๓๓ ประกอบประมวล กฎหมายอาญา มาตรา ๘๓ และน่าจะมีมูลความผิดฐานให้สินบนแก่เจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๔๔ หรือความผิดอื่นต่อเจ้าพนักงาน สั่งลงโทษผู้ถูกร้องที่ ๒ ฐานละเมิดอํานาจศาล ล้วนเป็นข้อเท็จจริง ที่สาธารณชนต่างรู้กันโดยทั่วไป และสภาทนายความ เห็นว่า การที่ผู้ถูกร้องที่ ๒ ถูกลงโทษในคดีละเมิดอํานาจ ศาลตามคําสั่งศาลฎีกาข้างต้น เป็นการกระทําที่ไม่เคารพยําเกรงอํานาจศาล ทําให้เสื่อมเสียอํานาจศาล หรือผู้พิพากษา และกระทบต่อความเชื่อมั่นของกระบวนการยุติธรรมไทย เป็นการกระทําผิดตามข้อบังคับ สภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ. ๒๕๒๙ ข้อ ๖ และข้อ ๑๘ ให้ลบชื่อผู้ถูกร้องที่ ๒ กับผู้ถูกกล่าวหาที่เกี่ยวข้องออกจากทะเบียนทนายความ 


ผู้ถูกร้องที่ ๑ รู้ถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวโดยตลอดแล้ว แต่ยังคงเสนอให้แต่งตั้งผู้ถูกร้องที่ ๒ เป็นรัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี ตามพระบรมราชโองการประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี ฉบับลงวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๖๗ ผู้ถูกร้องที่ ๑ จึงไม่มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ ขาดคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๖๐ (๔) 


การที่ผู้ถูกร้องที่ ๑ รู้หรือควรรู้ถึงข้อเท็จจริงต่าง ๆ เกี่ยวกับพฤติการณ์ต่าง ๆ ของผู้ถูกร้องที่ ๒ ดังกล่าวโดยตลอดแล้ว แต่ยังเสนอแต่งตั้งให้ผู้ถูกร้องที่ ๒ เป็นรัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี แสดงให้เห็นว่า ผู้ถูกร้องที่ ๑ ไม่มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ ขาดคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๖๐ (๔) ย่อมเป็น กระทําการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระ รวมทั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินและหัวหน้าหน่วยงานธุรการของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ พ.ศ. ๒๕๖๑ 

 

-๓- 


หมวด ๑ ข้อ ๘ ที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ซึ่งข้อ ๒๗ วรรคหนึ่ง กําหนดให้การฝ่าฝืนหรือไม่ ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมในหมวด ๑ ให้ถือว่ามีลักษณะร้ายแรง อันเป็นลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๖๐ (๕) ด้วย 


ศาลรัฐธรรมนูญมีมติโดยเสียงข้างมาก (๕ ต่อ ๔) วินิจฉัยว่า ความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องที่ ๑ นายกรัฐมนตรี สิ้นสุดลงลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๗๐ วรรคหนึ่ง (๔) เนื่องจากไม่มีความซื่อสัตย์ สุจริตเป็นที่ประจักษ์ ขาดคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๖๐ (๔) และมีพฤติกรรมอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง อันมีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๖๐ (๕) เมื่อความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงตามมาตรา ๑๗๐ วรรคหนึ่ง (๔) แล้ว รัฐมนตรีต้องพ้นตําแหน่ง ทั้งคณะตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๖๗ วรรคหนึ่ง (๑) โดยให้นํามาตรา ๑๖๘ วรรคหนึ่ง (๑) มาใช้บังคับกับการ ปฏิบัติหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตําแหน่งต่อไป 


ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างมาก จํานวน ๕ คน คือ นายปัญญา อุดชาชน นายอุดม สิทธิวิรัชธรรม นายวิรุฬห์ แสงเทียน นายจิรนิติ หะวานนท์ และนายบรรจงศักดิ์ วงศ์ปราชญ์ เห็นว่า ความเป็น รัฐมนตรีของผู้ถูกร้องที่ ๑ นายกรัฐมนตรี สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๗๐ วรรคหนึ่ง (๔) ประกอบ มาตรา ๑๖๐ (๔) และ (๕) 

ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างน้อย จํานวน ๔ คน คือ นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ นายนภดล เทพพิทักษ์ นายอุดม รัฐอมฤต และนายสุเมธ รอยกุลเจริญ เห็นว่า ความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องที่ ๑ นายกรัฐมนตรี ไม่สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๗๐ วรรคหนึ่ง (๔) ประกอบมาตรา ๑๖๐ (๔) และ (๕) 


หมายเหตุ บทบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาในคดีเรื่องพิจารณาที่ ๑๗/๒๕๖๗ เรื่อง ประธานวุฒิสภาส่งคําร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๗๐ วรรคสาม ประกอบมาตรา ๘๒ ว่า ความเป็นรัฐมนตรีของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และนายพิชิต ชื่นบาน รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๗๐ วรรคหนึ่ง (๔) ประกอบ มาตรา ๑๖๐ (๔) และ (๕) หรือไม่ 

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ 


มาตรา ๑๗๐ ความเป็นรัฐมนตรีส้ินสุดลงเฉพาะตัว เมื่อ ฯลฯ ฯลฯ

(๔) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๖๐ 

ฯลฯ ฯลฯ

มาตรา ๑๖๐ รัฐมนตรีต้อง
ฯลฯ ฯลฯ 

(๔) มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์
(๕) ไม่มีพฤติกรรมอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง 

ฯลฯ ฯลฯ 


-๔- 


มาตรา ๘๒ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา จํานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของ จํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภา มีสิทธิเข้าชื่อร้องต่อประธานแห่งสภาที่ตนเป็นสมาชิกว่าสมาชิก ภาพของสมาชิกคนใดคนหนึ่งแห่งสภานั้นสิ้นสุดลงตามมาตรา ๑๐๑ (๓) (๕) (๖) (๗) (๘) (๙) (๑๐) หรือ (๑๒) หรือมาตรา ๑๑๑ (๓) (๔) (๕) หรือ (๗) แล้วแต่กรณี และให้ประธานแห่งสภาที่ได้รับคําร้อง ส่งคําร้องนั้นไปยัง ศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าสมาชิกภาพของสมาชิกผู้นั้นสิ้นสุดลงหรือไม่ 


เมื่อได้รับเรื่องไว้พิจารณา หากปรากฏเหตุอันควรสงสัยว่าสมาชิกผู้ถูกร้องมีกรณีตามที่ถูกร้องให้ ศาลรัฐธรรมนูญมีคําสั่งให้สมาชิกผู้ถูกร้องหยุดปฏิบัติหน้าที่จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคําวินิจฉัย และเมื่อ ศาลรัฐธรรมนูญมีคําวินิจฉัยแล้ว ให้ศาลรัฐธรรมนูญแจ้งคําวินิจฉัยนั้นไปยังประธานแห่งสภาที่ได้รับคําร้องตาม วรรคหนึ่ง ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าสมาชิกภาพของสมาชิกผู้ถูกร้องสิ้นสุดลง ให้ผู้นั้นพ้นจากตําแหน่งนับแต่ วันที่หยุดปฏิบัติหน้าที่ แต่ไม่กระทบต่อกิจการที่ผู้นั้นได้กระทําไปก่อนพ้นจากตําแหน่ง

มิให้นับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาซึ่งหยุดปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคสองเป็นจํานวน สมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภา 


ในกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งเห็นว่าสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิก วุฒิสภาคนใดคนหนึ่งมีเหตุสิ้นสุดลงตามวรรคหนึ่ง ให้ส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยตามวรรคหนึ่งได้ด้วย


มาตรา ๑๖๘ ให้คณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตําแหน่งอยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปภายใต้เงื่อนไข ดังต่อไปนี้ 


(๑) ในกรณีพ้นจากตําแหน่งตามมาตรา ๑๖๗ (๑) (๒) หรือ (๓) ให้อยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่า คณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่ เว้นแต่ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีพ้นจากตําแหน่งตามมาตรา ๑๖๗ (๑) เพราะเหตุขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๙๘ หรือมาตรา ๑๖๐ (๔) หรือ (๕) นายกรัฐมนตรี จะอยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปมิได้ 

(๒) ในกรณีพ้นจากตําแหน่งตามมาตรา ๑๖๗ (๔) คณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตําแหน่งจะอยู่ปฏิบัติหน้าที่ ต่อไปมิได้ 


ข้อมูลจาก: ศาลรัฐธรรมนูญ

ภาพจากศาลรัฐธรรมนูญ

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง