รีเซต

นักวิทย์จีนพัฒนา 'วัคซีนโมเสก' ป้องกันโควิด-19 ชนิดกลายพันธุ์

นักวิทย์จีนพัฒนา 'วัคซีนโมเสก' ป้องกันโควิด-19 ชนิดกลายพันธุ์
Xinhua
17 พฤษภาคม 2565 ( 10:34 )
108

ปักกิ่ง, 16 พ.ค. (ซินหัว) -- คณะนักวิทยาศาสตร์จีนพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ชนิดอนุภาคนาโนโมเสก ซึ่งสามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัสฯ ชนิดกลายพันธุ์ สายพันธุ์ต่างๆ

 

คณะนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยซุนยัตเซ็น โรงพยาบาลลำดับที่ 1 ในเครือมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์กว่างโจว และศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคมณฑลกว่างตง (กวางตุ้ง) ทางตอนใต้ของจีน ออกแบบวัคซีนตัวดังกล่าว ซึ่งประกอบด้วยโปรตีนหนามจากเชื้อไวรัสฯ สายพันธุ์ดั้งเดิม และชนิดกลายพันธุ์ 3 สายพันธุ์สำคัญ ได้แก่ อัลฟา เบตา และแกมมาอนึ่ง โปรตีนหนามของไวรัสมีบทบาทสำคัญในการยึดติดของไวรัส และการรวมกับเซลล์เจ้าบ้าน (host cell) ซึ่งส่งผลให้แอนติบอดีลบล้างฤทธิ์ไวรัสส่วนใหญ่มุ่งโจมตีโปรตีนหนามอย่างไรก็ดี การกลายพันธุ์บนโปรตีนหนามของเชื้อไวรัสฯ สายพันธุ์ต่างๆ นำไปสู่การต้านแอนติบอดีในวงกว้าง และการหลบหนีภูมิต้านทางจากเซรุ่มวัคซีน ทำให้ประสิทธิภาพของวัคซีนที่มีในปัจจุบันเกิดความไม่แน่นอนเพิ่มขึ้นผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสารเนเจอร์ คอมมูนิเคชันส์ (Nature Communications) เมื่อไม่นานนี้ ระบุว่าอนุภาคนาโนมีแอนติบอดีลบล้างฤทธิ์เชื้อไวรัสฯ หลายสายพันธุ์ ในหนูและไพรเมตที่ไม่ใช่มนุษย์ในระดับเท่ากันหรือเหนือกว่า โดยมีค่าไตเตอร์ (Titer) ของแอนติบอดีชนิดลบล้างฤทธิ์เชื้อไวรัสฯ สายพันธุ์ดั้งเดิม ลดลงเพียงเล็กน้อยนอกจากนั้นคณะนักวิทยาศาสตร์ยังทดสอบวัคซีนตัวดังกล่าวกับเชื้อไวรัสฯ สายพันธุ์โอไมครอน และสายพันธุ์แลมบ์ดา โดยทั้งสองสายพันธุ์ลดความสามารถลบล้างฤทธิ์ของเซรุ่มที่เกิดจากวัคซีนเพียงเล็กน้อย ซึ่งบ่งชี้ว่าเซรุ่มดังกล่าวสามารถกระตุ้นการตอบสนองของแอนติบอดีป้องกันเชื้อไวรัสฯ สายพันธุ์ต่างๆ ที่กำลังระบาดเป็นวงกว้างในปัจจุบันทั้งนี้ คณะนักวิจัยกล่าวว่าผลการศึกษามอบหลักฐานสำหรับหลักการพัฒนาวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสฯ ชนิดกลายพันธุ์ สายพันธุ์ต่างๆ เพื่อต่อสู้กับโรคระบาดใหญ่ และเชื้อไวรัสฯ ชนิดกลายพันธุ์ ที่อาจอุบัติขึ้นก่อนหน้านี้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง