ตัว “ลามา” มีแอนตีบอดี พิเศษยับยั้งไวรัสโควิด-19

วันนี้ ( 8 พ.ค. 63 )สัตว์เลี้ยงน่ารัก จากภูมิภาคอเมริกาใต้ อย่างตัวลามา หรือ ยามา (LLama) นอกจากจะถูกนำขนสัตว์มาทอเป็นผืนผ้า นักวิจัย ยังพบว่า ในเลือดของมันยังมีสารภูมิต้านทานหรือแอนติบอดีชนิดพิเศษ ที่มนุษย์สามารถใช้เป็นต้นแบบเพื่อสังเคราะห์วัคซีนและยายับยั้งฤทธิ์ไวรัสได้หลายชนิด
ล่าสุดวารสาร Cell ได้ตีพิมพ์ผลการค้นพบ โดยทีมวิจัยจากเบลเยียม ได้นำ แอนติบอดีของลามามาต่อยอด งานวิจัยที่เริ่มขึ้นเมื่อ 4 ปีก่อน ซึ่ง นำ ลูกลามาวัยสี่เดือนในขณะนั้น สามารถสร้างภูมิคุ้มกันไวรัสโรคซาร์สและโรคเมอร์สให้กับเซลล์ของมนุษย์ที่เพาะเลี้ยงในหลอดทดลองได้เป็นเวลานานถึง 6 สัปดาห์
นักวิจัย จึงนำแอนติบอดีของลามาตัวเดิมก็พบว่าสามารถยับยั้งไวรัสโรคโควิด-19 ในห้องปฏิบัติการได้เช่นกัน แต่วัคซีนนี้จะมีฤทธิ์ป้องกันไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่เพียงชั่วคราวราว 1-2 เดือนหลังได้รับวัคซีนเท่านั้น และจำเป็นจะต้องมีการฉีดซ้ำ
ทั้งนี้ จากการศึกษาพบว่า การที่แอนติบอดีของลามามีขนาดเล็กกว่าของมนุษย์มาก จึงสามารถเข้าจับกับตัวรับบนหนามของไวรัสโคโรนาได้อย่างละเอียดทั่วถึง ส่งผลให้มีประสิทธิภาพในการป้องกันไวรัสเข้าสู่เซลล์ได้สูงกว่าและวัคซีนที่สังเคราะห์โดยใช้แอนติบอดีของลามาที่เป็นต้นแบบ สามารถทำให้เกิดภูมิคุ้มกันขึ้นในร่างกายได้ทันที ซึ่งต่างกับวัคซีนทั่วไปที่ต้องรอราว 1-2 เดือน
นอกจากนี้ ยังอาจให้แอนติบอดีดังกล่าวกับผู้ป่วยโรคโควิด-19 เพื่อลดความรุนแรงของอาการลงได้ด้วย
ดร. ซาเวียร์ แซเลนส์ นักไวรัสวิทยาโมเลกุลจากมหาวิทยาลัยเกนต์ของเบลเยียมบอกว่า "ยังคงต้องใช้เวลาอีกหลายเดือน กว่าจะทำการทดสอบแอนติบอดีของลามาไปจนถึงขั้นทดลองในมนุษย์ได้ แต่หากมันได้ผล เจ้าวินเทอร์ก็สมควรจะมีอนุสาวรีย์เชิดชูเกียรติกับเขาได้แล้ว
อย่างไรก็ตาม เหล่านักวิจัย ห่วงไวรัสโควิด-19 จะกลายพันธุ์ในช่วงฤดูร้อน เพราะจะกระทบการพัฒนาวัคซีน
นักวิจัยห้องปฏิบัติการแห่งชาติ ลอส อลาโมส (Los Alamos )หนึ่งในห้องปฏิบัติการที่ใหญ่ที่สุดในโลก ภายใต้กระทรวงพลังงาน สหรัฐอเมริกา เปิดเผยรายงานว่า ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ที่พบในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน เมื่อกว่า 4 เดือนที่แล้วนั้นได้กลายพันธุ์ และดูเหมือนว่า สายพันธุ์ใหม่ที่แพร่กระจายไปทั่วสหรัฐนั้น เป็นสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดการติดต่อและการแพร่กระจายมากขึ้น
รายงานดังกล่าวเตือนว่า หากโควิด-19 ไม่อ่อนแรงลงในช่วงฤดูร้อนเหมือนกับไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ไวรัสตัวนี้อาจจะกลายพันธุ์อีก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของวัคซีนที่นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกกำลังพัฒนาอยู่ในขณะนี้ จะทำให้การพัฒนาวัคซีนล่าช้าขึ้น
ห้องปฏิบัติการแห่งชาติในลอส อลามอสได้รายงานผลการศึกษาพบว่า ไวรัสโควิด-19 มีการกลายพันธุ์อย่างน้อย 14 ครั้ง นับตั้งแต่ที่เริ่มมีการระบาดในปลายปีที่แล้ว ขณะที่สายพันธุ์หลักของไวรัส มีความสามารถในการแพร่ระบาดมากขึ้นซึ่งตอนนี้อยู่ในสหรัฐและแคนนาดา
เกาะติดข่าวที่นี่
website: www.TNNThailand.com
facebook : TNNThailand
twitter : @TNNThailand
Line : @TNNThailand
Youtube Official : TNNThailand
ยอดนิยมในตอนนี้
