รีเซต

ค่าไฟขึ้น 2565 เตรียมรับ "ค่าไฟแพงขึ้น" 5 บาทต่อหน่วย ปรับเพิ่มค่า FT งวดก.ย.-ธ.ค. 65

ค่าไฟขึ้น 2565 เตรียมรับ "ค่าไฟแพงขึ้น" 5 บาทต่อหน่วย ปรับเพิ่มค่า FT งวดก.ย.-ธ.ค. 65
Ingonn
11 กรกฎาคม 2565 ( 09:01 )
8.4K
1

"ค่าไฟแพงขึ้น 2565"  เตรียมจ่ายค่าไฟ 5 บาทต่อหน่วย หลัง กกพ. เตรียมพิจารณาปรับค่าเอฟที (FT) งวดเดือนกันยายน - ธันวาคม 2565 โดยสาเหตุค่าไฟแพงเพราะ ต้นทุนก๊าซ LNG นำเข้าแพงพุ่งแตะ 30 ดอลลาร์และความไม่แน่นอนจากปริมาณผลผลิตก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยจึงทำให้ค่าไฟแพงขึ้น 

 

แหล่งข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน อยู่ระหว่างพิจารณาทบทวน และปรับเพิ่มค่าไฟฟ้าผันแปร (ค่าเอฟที) ในงวดใหม่เดือน ก.ย.-ธ.ค. 65 มีแนวโน้มพุ่งสูงถึง 90-100 สตางค์ต่อหน่วย และอาจทำให้ค่าไฟฟ้าอาจต้องปรับเพิ่มสูงถึงเกือบ 5 บาทต่อหน่วย ในช่วง 4 เดือนที่เหลือของปีนี้ (เดือนกันยายน - ธันวาคม 2565) โดยจะประกาศค่าเอฟทีอย่างเป็นทางการประมาณปลายเดือนนี้ ถึงต้นเดือนหน้า เนื่องจากต้นทุนค่าเชื้อเพลิงจากก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) นำเข้าเพื่อทดแทนก๊าซธรรมชาติต้นทุนต่ำในอ่าวไทย และยังมีแนวโน้มราคาแพงต่อเนื่องตั้งแต่เดือน พฤษภาคม 65 จนถึงปัจจุบัน

 

โดยปลายสัปดาห์นี้ กกพ.จะต้องประชุมทบทวนอีกครั้งหนึ่ง เพื่อประกาศค่าเอฟที โดยราคา LNG นำเข้าตอนนี้พุ่งสูงขึ้นต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน พุ่งสูงแตะระดับกว่า 30 เหรียญสหรัฐต่อล้านบีทียูแล้ว จากเดิมอยู่ที่กว่า 20 เหรียญสหรัฐต่อล้านบีทียู เป็นปัจจัยที่นอกเหนือการควบคุม ซึ่ง กกพ.ค่อนข้างหนักใจ ปริมาณก๊าซในอ่าวไทยยังขาดความชัดเจน ต้นทุนค่าเชื้อเพลิงที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) แบกรับแทนประชาชนอีกกว่า 80,000 ล้านบาทในงวดก่อนหน้าที่ กกพ.อาจจะต้องเข้าไปดูแลช่วยลดภาระต้นทุนผ่านการทยอยปรับเพิ่มผ่านค่าเอฟทีด้วย

 

สิ่งที่ กกพ.ต้องเลือกที่จะดูแลความมั่นคงทางพลังงานเป็นอันดับแรก ก่อนที่จะดูแลผลกระทบต่อค่าครองชีพประชาชน เพื่อให้มั่นใจว่าไฟฟ้าต้องไม่ขาด ประชาชนและภาคธุรกิจต้องมีไฟฟ้าใช้ ดังนั้นหากให้ กฟผ.แบกรับภาระทางการเงินแทนผู้ใช้ไฟฟ้าเกินกำลังต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน จะส่งผลด้านลบต่อความสามารถในการผลิตไฟฟ้าเพื่อป้อนให้กับระบบ และการดูแลความมั่นคงทางด้านไฟฟ้าในการประกาศค่าเอฟทีตั้งแต่ต้นปี 65 กกพ.ได้ทยอยปรับเพิ่มค่าเอฟทีโดยขอให้ กฟผ.ได้แบกรับภาระต้นทุนค่าเชื้อเพลิงแทนประชาชนเป็นมูลค่าประมาณ 80,000 ล้านบาท และ ครม.ได้มีมติให้ กฟผ.กู้เงินมาเพื่อเสริมสภาพคล่องจำนวน 25,000 ล้านบาท ในช่วงที่มีการแบกรับภาระต้นทุนเชื้อเพลิง

 

อีกประเด็นที่ กกพ. หนักใจคือปัจจัยของความไม่แน่นอนจากปริมาณผลผลิตก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย ที่ขาดช่วงไประหว่างการเปลี่ยนผู้รับสัมปทานแหล่งก๊าซเอราวัณ ซึ่งเป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติต้นทุนต่ำ และแหล่งเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้า จากเดิมมีปริมาณก๊าซจากแหล่งเอราวัณป้อนเข้าสู่ระบบได้ถึง 1,000 ล้านลูกบาศก์ลิตรต่อวัน 

 

แต่จนถึงขณะนี้ผู้รับสัมปทานก็ยังไม่สามารถแจ้งปริมาณที่จะขยายกำลังการผลิตเพื่อชดเชยก๊าซที่ขาดหายไปได้อย่างชัดเจน ทำให้การบริหารจัดการและการวางแผนทำได้ยากมากขึ้น โดยได้รับแจ้งเพียงว่าระยะเวลาที่จะทำให้ปริมาณก๊าซธรรมชาติกลับมามีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการในระดับเดิม ก่อนเปลี่ยนสัมปทานอาจจะต้องใช้ระยะเวลาสำรวจ ขุดเจาะ ผลิตอีกประมาณ 2 ปี 

 

ซึ่งหมายความว่าค่าไฟฟ้าจะได้รับผลกระทบจากต้นทุนเชื้อเพลิงราคาแพงจากการนำเข้า LNG ทดแทนก๊าซธรรมชาติในอ่าวอีกอย่างน้อย 2 ปีเช่นกัน และคาดการณ์ได้ว่าไทยจะเผชิญกับภาวะค่าไฟแพงต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปีนี้ และต่อเนื่องในปี 66 ตลอดทั้งปีด้วย

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.

คลิกเลย >>> TrueID Community <<<

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง