เราเจออะไรกันบ้าง? ในสถานการณ์โควิด-19 ตลอดเดือนมิถุนายน 2564
สิ้นเดือนมิถุนายน 2564 แล้ว ตลอดเดือนที่ผ่านมาสถานการณ์โควิด-19 ถือว่าหนักหน่วงตั้งแต่ต้นเดือนที่ยอดผู้ติดเชื้อไล่ตั้งแต่สองพันราย ขยับขึ้นจนบางวันแตะครึ่งหมื่น และจำนวนผู้เสียชีวิตที่ทะยานขึ้นสูงไม่แพ้กันกระทั่งมากที่สุดในบางวันมีถึง 50 ราย เลยทีเดียว เป็นเดือนที่พบเหตุการณ์มากมายที่ชวนให้นึกถึงระบบสาธารณสุขที่เข้าขั้นวิกฤต มาตรการรัฐที่ประกาศวันนี้ พรุ่งนี้บอกเลิก ชวนให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ เพราะกลับไปกลับมาจนคนฟังสับสนอลหม่านกันไปหมด เพราะไม่รู้ต้องปรับตัว ปรับใจอย่างไร วันนี้จะพาไปดูกันว่า เราเจออะไรกันบ้าง? ในสถานการณ์ COVID-19 ตลอดเดือนมิถุนายน
1. เดือนมิถุนายน 2564 ยอดผู้ติดเชื้อใหม่มากถึง 99,509 ราย โดยเฉลี่ยอยู่ที่วันล่ะ 3,000 รายนิด ๆ เมื่อเทียบผู้ติดเชื้อในเดือนพฤษภาคม และในเดือนนี้ยอดผู้ติดเชื้อมีจำนวนมากกว่ายอดผู้รักษาหาย ตั้งแต่วันที่ 20 มิถุนายนเป็นต้นมา จนส่อแววเริ่มมีปัญหาเตียงเต็ม
2. ขณะที่ การลงทะเบียนจองคิวฉีดวัคซีนตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถือว่าประชาชนให้ความสนใจในเรื่องการเข้ารับวัคซีนกับทางภาครัฐที่เปิดให้ลงทะเบียนผ่านช่องทางต่าง ๆ มีการกระตุ้นการประชาสัมพันธ์และรณรงค์ให้ร่วมกันลงทะเบียน โดยเฉพาะกลุ่มแรก คือ กลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป และ 7 กลุ่มโรคที่ควรฉีดวัคซีนโควิด-19
ได้แก่ โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง, โรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคไตวายเรื้อรัง, โรคหลอดเลือดสมอง, โรคอ้วน
, โรคมะเร็ง, โรคเบาหวาน
3. เป็นเดือนที่ทั่วประเทศลุ้นว่า วัคซีนหลักของไทยอย่าง AstraZeneca จะผลิตและส่งมอบล็อตแรกทันก่อนวันดีเดย์วันฉีดวัคซีนหรือไม่ สุดท้ายฉิวเฉียดจนได้วัคซีนมาฉีดในวันคิกออฟ ฉีดวัคซีนแห่งชาติ 7 มิถุนายน 2564 ทั่วประเทศ ซึ่งข้อมูล ณ วันที่ 15 มิถุนายน 2564 ในเดือนมิถุนายนนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 -14 มิถุนายน 2564 เราสามารถฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้เพิ่ม 2,900,111 โดส เมื่อดูตัวเลขในแต่ละวันพบมีจำนวนเพิ่มขึ้น
- 1 มิถุนายน ฉีดวัคซีนได้ 88,859
- 2 มิถุนายน ฉีดวัคซีนได้ 205,638
- 3 มิถุนายน ฉีดวัคซีนได้ 56,019
- 4 มิถุนายน ฉีดวัคซีนได้ 101,355
- 5 มิถุนายน ฉีดวัคซีนได้ 47,559
- 6 มิถุนายน ฉีดวัคซีนได้ 27,591
- 7 มิถุนายน ฉีดวัคซีนได้ 416,847
- 8 มิถุนายน ฉีดวัคซีนได้ 472,128
- 9 มิถุนายน ฉีดวัคซีนได้ 336,674
- 10 มิถุนายน ฉีดวัคซีนได้ 223,315
- 11 มิถุนายน ฉีดวัคซีนได้ 305,980
- 12 มิถุนายน ฉีดวัคซีนได้ 108,204
- 13 มิถุนายน ฉีดวัคซีนได้ 106,882
- 14 มิถุนายน ฉีดวัคซีนได้ 323,060
5. และในช่วงเดียวกันโรงพยาบาลเอกชนหลายแห่งต่างเริ่มประกาศการเลื่อนฉีดวัคซีน เพราะยังไม่ได้รับการจัดสรรวัคซีนอย่างเพียงพอ ซึ่งไม่ได้มีเพียงโรงพยาบาลเอกชนที่เลื่อนการฉีดวัคซีนออกไปเท่านั้น ระบบการลงทะเบียนทั้งหมอพร้อม ไทยร่วมใจ ที่ดูแลโดยกรุงเทพมหานคร กระทรวงสาธารณสุขต่างทยอยประกาศเลื่อนวันฉีดวัคซีน และกระแสข่าวคราวการเลื่อนส่งวัคซีน AstraZeneca เกิดความล่าช้าก็ตามมาอีก
6. ประเด็นดังกล่าวทำให้เห็นถึงความขัดแย้งระหว่างกระทรวงสาธารณสุขและกทม. เกี่ยวกับการจัดสรรวัคซีนแต่ละจังหวัด และสิ่งที่ทำให้ประชาชนวิพากษ์วิจารณ์มากยิ่งขึ้นนั่นคือ การสื่อสารกันระหว่างองค์กร จนทำให้สื่อสังคม Social เหน็บถึงการทำงานว่า ไม่อ่านข้อความกลุ่มกันแน่ ๆ สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาภายใน กระทั่งภายหลัง กทม. สธ. และ ศบค. ออกโรงมาแถลงแผนฉีดวัคซีนร่วมกัน ก่อนบอกว่า ไม่ได้ทะเลาะกัน
7. เมื่อสถานการณ์การจัดสรรวัควีนเริ่มไม่เป็นไปตามเป้าที่วางแผนไว้ ผสมกับสถานการณ์โรคระบาดที่หนักหน่วง ไม่สู้ดีกับการแก้ปัญหา ประชาชนเริ่มขาดความเชื่อมั่นที่มีต่อรัฐบาลจน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม ต้องออกมานั่งแถลงผ่านโทรทัสน์รวมการเฉพาะกิจเรียกความเชื่อมั่นอย่างยาวเหยียด สรุปสั้น ๆ ได้ใจความว่า ที่ผ่านมา มีการทำงานกันอย่างดี และแผนสำคัญที่จะประกาศวันนี้ คือจะเตรียมเปิดประเทศภายใน 120 วัน นับจากวันนี้ (16 มิถุนายน 64)
8. เมื่อถ้อยคำแถลงจากนายกฯ ส่อทำให้เกิดความสับสนอีกว่า 120 วันนั้นเริ่มนับจากวันไหน เพราะมีรัฐมนตรีออกมาบอกว่าเริ่ม 1 กรกฎาคม ขณะที่โฆษกนายกฯ กลับบอกว่า เป็นเพียงแค่ให้ทุกจังหวัดเตรียมตัว ไม่ใช่เคาท์ดาวน์ ยิ่งสร้างความสับสนและเกิดคำถามบนสังคมออนไลน์ว่า ไม่คุยกันอีกแล้ว
9. ปัญหาวัคซีนยังไม่พอ เริ่มมีปัญหาเตียงไม่พอตามมา และดูเหมือนว่าปัญหาเรื่องเตียงไม่เพียงพอส่อให้เห็นถึงการบริหารจัดการของภาครัฐ โดยยิ่งทำให้สังคมเกิดการตั้งคำถามต่าง ๆ นานา ถึงระบบสาธารณสุขที่กำลังจะล่มสลาย หลังนายอนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขบอกว่าไม่มีเรื่องเตียงเต็ม กลับกันบนโลกโซเชียล เพจเฟซบุ๊กหลายโรงพยาบาลต่างโพสตืประกาศปิดรับผู้ป่วย และมีข่าวผู้เสียชีวิตระหว่างรอเตียงเพิ่มให้เห็นมากขึ้นเรื่อย ๆ แถมเพจเฟซบุ๊กคนดังออกมาช่วยเหลือผู้ป่วยที่ต้องการเตียง
10. และเมื่อมีข่าวจะล็อกดาวน์ขึ้น ในวันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน 64 นายกรัฐมนตรีได้แถลงว่า จะยังไม่มีการล็อกดาวน์ แต่ปิดพื้นที่บางจุด เช่น ปิดแคมป์คนงานก่อสร้าง และกักตัวแรงงาน มีผลบังคับใช้ในวันจันทร์ทื่ 28 มิถุนายน 64 แต่การประกาศของรัฐบาลดังกล่าวกลับทำให้คนงานของหลายแคมป์เดินทางกลับต่างจังหวัดหลังมีคำสั่งปิด