รีเซต

ญี่ปุ่นอ่วม! ป่วยโควิด-19ทะลัก อาจทำระบบแพทย์ของประเทศพัง

ญี่ปุ่นอ่วม! ป่วยโควิด-19ทะลัก อาจทำระบบแพทย์ของประเทศพัง
TNN ช่อง16
19 เมษายน 2563 ( 07:43 )
155
ญี่ปุ่นอ่วม! ป่วยโควิด-19ทะลัก อาจทำระบบแพทย์ของประเทศพัง

วันนี้ ( 19 เม.. 63 )คณะแพทย์ในญี่ปุ่นเตือนเมื่อวานนี้ว่า ระบบการแพทย์ของประเทศ อาจพังครืนท่ามกลางคลื่นการระบาดของไวรัสโควิด-19 ห้องผู้ป่วยฉุกเฉิน หรือห้องไอซียูในโรงพยาบาลไม่สามารถรักษาผู้ป่วยบางคนที่อาการรุนแรงได้ เนื่องจากต้องแบกภาระหนักเป็นพิเศษกับผู้ป่วยจำนวนมากที่ล้นโรงพยาบาลจนไม่มีห้องฉุกเฉินให้รักษาแล้ว

 

ก่อนหน้านี้ มีรายงานข่าวระบุด้วยว่า รถพยาบาลฉุกเฉินนำผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 คนหนึ่ง ถูกโรงพยาบาลถึง 80 แห่ง ปฏิเสธรับผู้ป่วยรายนี้รักษา ซึ่งนานหลายชั่วโมงกว่าที่รถพยาบาลฉุกเฉินคันนี้จะหาโรงพยาบาลในกรุงโตเกียวได้  

 

ญี่ปุ่น ซึ่งดูเหมือนว่าตอนแรกจะสามารถควบคุมการระบาดของไวรัสได้แล้ว มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นทะลุ 10,000 คนเมื่อวันเสาร์ และมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 200 คนแล้วขณะนี้ และกรุงโตเกียว เมืองหลวงยังคงเป็นพื้นที่ที่มีการระบาดเลวร้ายที่สุด

 

เจ้าหน้าที่กล่าวว่า สมาคมแพทย์ฉุกเฉินญี่ปุ่น ในกรุงโตเกียว กำลังเข้าไปให้ความช่วยเหลือโรงพยาบาลต่าง ด้วยการตรวจร่างกายผู้ป่วยที่มีความเป็นไปได้ว่าจะติดเชื้อไวรัส เพื่อผ่อนคลายความกดดันต่อระบบสาธารณสุขของประเทศ โดยโคโนชิน ตามุระ รองหัวหน้าสมาคมแพทย์ฉุกเฉิน กล่าวกับรอยเตอร์ว่า นี้เป็นการป้องกันไม่ให้ระบบแพทย์พัง ทุกคนต้องเอื้อมมือเข้าไปช่วยเหลือ มิเช่นนั้นแล้ว โรงพยาบาลล่มแน่นอน

 

รัฐบาลญี่ปุ่นกำลังเพิ่มอัตราการตรวจหาเชื้อไวรัสมากขึ้นด้วยวิธีการให้ประชาชนขับรถผ่านจุดตรวจ ซึ่งในช่วงหลายสัปดาห์มานี้ ญี่ปุ่นดำเนินการตรวจน้อยกว่าประเทศอื่น มาก และบรรดาผู้เชี่ยวชาญบอกว่า มันยิ่งทำให้เป็นเรื่องยากมากขึ้นในการติดตามการระบาดของไวรัสมรณะ

 

จากข้อมูลของมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด ระบุว่า เมื่อเดือนที่แล้ว ญี่ปุ่นตรวจหาเชื้อด้วยวิธีการพีซีอาร์ หรือปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรส  เพียง 16 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น เมื่อเทียบกับที่เกาหลีใต้ดำเนินการ และด้วยการปฏิบัติที่แตกต่างจากเกาหลีใต้ ซึ่งสามารถควบคุมการระบาดของโรคได้เป็นส่วนใหญ่แล้วผ่านโครงการดังกล่าว รัฐบาลญี่ปุ่น แถลงว่า การดำเนินการในลักษณะการตรวจหาเชื้อในวงกว้างและแพร่หลายนั้น เป็นการสูญเสียทรัพยากรจำนวนมาก

 

นอกจากนี้ การตรวจหาเชื้อไวรัสก็ยังดำเนินการโดยศูนย์สาธารณสุขท้องถิ่นด้วย ไม่ใช่ระดับรัฐบาลกลาง และศูนย์สาธารณสุขท้องถิ่นบางแห่ง ก็ขาดแคลนอุปกรณ์ในการตรวจ จึงไม่ครอบคลุมในขอบเขตที่กว้างขวาง แต่เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ ของญี่ปุ่น ระบุว่า รัฐบาลกำลังจะเปลี่ยนนโยบายในการตรวจหาเชื้อ โดยจะไล่ตรวจในวงกว้างมากขึ้น 

 

ช่วงแรกญี่ปุ่นสามารถควบคุมการระบาดไม่ให้กระจายไปในวงกว้างได้แล้ว แต่เมื่อแกะรอยเส้นทางระบาดไม่ได้ จึงเริ่มเผยให้เห็นจุดอ่อนในระบบสาธารณสุขของญี่ปุ่น ทั้งที่เคยมีชื่อเสียงว่า มีระบบประกันสุขภาพที่มีคุณภาพ และค่ารักษาอยู่ในราคาเหมาะสม แต่ขณะนี้ผู้เชี่ยวชาญต่างรุมตำหนิรัฐบาลที่ไม่ได้เตรียมการให้พร้อม กลับปล่อยให้อุปกรณ์การแพทย์ขาดแคลน ทั้งนี้ ญี่ปุ่นขาดแคลนตั้งเตียงผู้ป่วย บุคลากร และอุปกรณ์ ขณะที่ต้องรับผู้ป่วยโควิด-19 ทั้งหมด แม้แต่ผู้ป่วยที่อาการไม่หนักมาก ทำให้โรงพยาบาลเต็มไปด้วยผู้ป่วย โดยไม่มีเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลช่วยดูแลอย่างเพียงพอ

 

แม้แต่บุคลากรทางการแพทย์ยังต้องใช้หน้ากากอนามัย N95 แบบนำกลับมาใช้ใหม่ หรือรียูส ส่วนโรงพยาบาลในโอซากา ก็เลวร้ายเช่นกัน ต้องขอรับบริจาคเสื้อกันฝนพลาสติก มาใช้ใส่ป้องกันเชื้อในโรงพยาบาล และที่สำคัญ ญี่ปุ่นมีห้องไอซียูในอัตราส่วนเพียง 5 ห้องต่อประชากร 1 แสนคนเท่านั้น เมื่อเทียบกับเยอรมนีที่มี 30 ห้อง สหรัฐ มี 35 ห้อง และอิตาลีมี 12 ห้อง

 

เกาะติดข่าวที่นี่ 

website: www.TNNThailand.com  

facebook : TNNThailand 

twitter : @TNNThailand 

Line : @TNNThailand 

Youtube Official : TNNThailand

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง