ยาที่ควรกินพร้อมกับ พาราเซตามอล เพื่อแก้พิษของตัวยา
TrueID
23 มิถุนายน 2564 ( 10:24 )
871
Paracetamol Common Household Poisonous Medicine พาราเซตามอล ยาพิษสามัญประจำบ้าน ข้อความนี้เป็นมาอย่างไร ยาสามัญประจำบ้านที่เรารู้จักกัน ทำไมถึงมีพิษ ยาอะไรที่เราควรกินอีกชนิดเพื่อลดทอนความเป็นพิษของพาราเซตามอล วันนี้ trueID นำข้อมูลมาให้ทุกท่านได้รับทราบแล้ว
- คนไทยเกือบทุกคน รู้จักยาแก้ปวดลดไข้ ชื่อ พาราเซตามอล และเข้าใจว่า เป็นยาที่ใช้รักษาโรคได้ เพราะเวลามีไข้ กินแล้วไข้หาย พอมีไข้อีกก็กินอีก จนกลายเป็นความเชื่อว่า เวลามีไข้ต้องกินยาพาราเซตามอล
- ปัญหาที่คนไทยไม่รู้ก็คือ ยาพาราเซตามอล มีไว้แค่บรรเทาอาการ ไม่ได้ช่วยให้โรคหาย และยังเป็นยาที่มีอันตราย แม้กินเพียงไม่กี่เม็ด ก็อาจก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อตับ และไตได้อย่างรุนแรง
- ขนาดสูงสุดของ ยาพาราเซตามอล ที่เคยเป็นที่ยอมรับ คือไม่เกิน 2000- 3000 มิลลิกรัมต่อวัน หรือเท่ากับ พาราเซตามอลขนาด 500 มิลลิกรัม 4-6 เม็ด เนื่องจากเป็นยาที่มีฤทธิ์อ่อน คนส่วนใหญ่ จึงนิยมกินพาราเซตามอลครั้งละสองเม็ด และความที่เป็นยาออกฤทธิ์สั้น จำเป็นต้องกินกันบ่อย ๆ ทุก 4-6 ชั่วโมง ทำให้มีโอกาสที่คนไข้จะได้รับยาในขนาดที่เป็นพิษได้สูง
- ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มีรายงานต่อเนื่อง ถึงการรับประทานยาพาราเซตามอล ในขนาดที่เข้าใจว่าปลอดภัย แต่ลงเอยด้วยการที่ผู้ป่วยเสียชีวิต ส่งผลให้ องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา ได้สั่งยกเลิก พาราเซตามอล ในขนาด 500 มก และให้ขายเพียงขนาด 325 มก เท่านั้น
ยาอะไรที่ควรกินควบคู่กับพาราเซตามอล
- ยาที่แพทย์ใช้รักษาพิษของพาราเซตามอล มีชื่อว่า N-acetyl cysteine หรือ แนค (NAC) ในประเทศไทย แนค (NAC) ได้ถูกจดทะเบียนเป็นยาละลายเสมหะ ที่มีชื่อทางการค้าว่า Fluimucil, Naclong, หรือ Flemex AC OD ขนาดที่ใช้คือ 600 มิลลิกรัม ต่อวัน เนื่องจากเป็นยาที่แทบจะไม่มีผลข้างเคียง จึงสามารถกินต่อเนื่องได้ทุกวัน แม้ในคนที่ไม่มีเสมหะก็ตาม
- จึงขอแนะนำให้คนทุกคน เลี่ยงการใช้ยาพาราเซตามอล โดยไม่จำเป็น ถ้ามีไข้ควรเลือกวิธีเช็ดตัวลดไข้ แต่หากจำเป็นต้องใช้ยาพารา ก็ควรกินแนค (NAC) ร่วมด้วย
- เวลาที่คนไข้ที่มีไข้ และมาโรงพยาบาลด้วยปัญหาตับอักเสบ แพทย์ส่วนใหญ่ จะคิดถึงแต่โรคติดเชื้อที่ทำให้เกิดภาวะตับอักเสบ และไม่ได้คิดว่า ตับอักเสบนั้น อาจเป็นผลจากยาพาราเซตามอล
- ตัวอย่างเช่น คนที่เป็นโรคไข้เลือดออก คนไข้เหล่านี้จะมีไข้สูงตลอดวัน หลังจากการกินยาพาราเซตามอล ไข้ก็ลดลงไม่มาก สักพักไข้ก็กลับมาสูงอีก ทำให้คนไข้ต้องใช้ยาพาราเซตามอลอยู่เรื่อย ๆ โดยไม่ได้ตระหนักว่า ในคนที่เป็นโรคไข้เลือดออก และตับมีการทำงานที่บกพร่องอยู่แล้ว การใช้ยาพาราเซตามอล แม้เพียงเล็กน้อย อาจทำให้เกิดภาวะตับอักเสบรุนแรงมากขึ้นถึงขั้นเสียชีวิต
- แพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยอายุ 16 ปี รายหนึ่ง ที่มาโรงพยาบาลด้วยโรคไข้เลือดออก มีระดับเอนซัยม์ตับสูงมาก (SGPT > 4000) และอยู่ในสภาพไม่รู้สึกตัว ญาติได้รับแจ้งไปว่าเด็กคงไม่รอดชีวิต หลังจากที่ผู้เขียนไปดูในตอนดึก ก็ได้สั่งการรักษาด้วยการใช้ แนค (NAC) ขนาดสูงหยดทางหลอดเลือด วันรุ่งขึ้น ระดับเอนซัยม์ตับก็ลดลงเกือบ 10 เท่า เด็กเริ่มรู้สึกตัว และกลับบ้านได้ใน 3 วันต่อมา
- ไม่เพียงแต่ ยาพาราเซตามอล จะมีพิษต่อตับ แต่ยังมีพิษต่อไตอีกด้วย มีคนไข้ทีมาด้วยปัญหาไตวายโดยไม่ทราบสาเหตุ พอซักประวัติก็ทราบว่า คนไข้กินพาราเซตามอลวันละ 1-2 เม็ด เกือบทุกวัน บางรายก็บอกว่า ปวดศีรษะ พอตรวจดูก็พบว่าเป็นความดันโลหิตสูง เมื่อได้ยาลดความดัน อาการปวดศีรษะก็หาย มีอยู่รายหนึ่งที่กินพาราเซตามอลทุกวัน เพราะกินแล้วไม่ปวดไม่เมื่อย ทำงานได้ดี เลยเข้าใจผิดว่าเป็นยาชูกำลัง กินได้ทุกวัน ลงท้ายก็กลายเป็นโรคไตวายเรื้อรัง
- มีการรักษาคนไข้ตั้งครรภ์ 26 สัปดาห์ ที่มาโรงพยาบาลด้วยอาการ ไม่มีปัสสาวะมา 3 วัน ซักประวัติพบว่า ผู้ป่วยมีปัญหาปวดน่องอย่างรุนแรง จึงไปคลินิก ได้ยาฉีดแก้ปวด วันละเข็มติดต่อกันสามวัน หลังจากนั้น ปัสสาวะลดลงจนกระทั่งไม่มีปัสสาวะออก ผู้เขียนจึงได้ให้ NAC ขนาดสูงเข้าทางหลอดเลือด และตามด้วยการล้างไต ภายหลังการล้างไตได้ 3 ชั่วโมง ผู้ป่วยก็เริ่มมีปัสสาวะออกมาเรื่อย ๆ จำนวนมาก และการทำงานของไตก็กลับสู่สภาพปกติ และคลอดบุตรเป็นปกติในสองเดือนถัดมา
- ขอย้ำว่า พาราเซตามอล ไม่ใช่ยาวิเศษ แต่เป็นยาที่มีพิษ ไม่ควรคิดว่า จะกินเท่าไรก็มีอันตราย หรือคิดว่า ทุกครั้งที่เป็นไข้ จำเป็นต้องกินยาพาราเซตามอล แนะนำว่าการเช็ดตัวลดไข้ จะปลอดภัยกว่าการใช้ยา เพราะการกินยาพาราเซตามอลพร่ำเพื่อ เพราะเข้าใจว่าช่วยให้หายจากโรค อาจส่งผลให้เราหายไปจากโลกแทนได้ครับ
ขอบคุณข้อมูล : ดร.นพ. พัฒนา เต็งอำนวย
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรศาสตร์โรคไต
ภาพโดย PublicDomainPictures จาก Pixabay