รีเซต

นักวิทย์อเมริกันพบ ผึ้งส่งเสียงเตือนเฉพาะตัว รับมือแตนยักษ์บุกทำลายรัง

นักวิทย์อเมริกันพบ ผึ้งส่งเสียงเตือนเฉพาะตัว รับมือแตนยักษ์บุกทำลายรัง
ข่าวสด
10 พฤศจิกายน 2564 ( 18:45 )
134

 

นักวิทย์อเมริกันพบ - วันที่ 9 พ.ย. ซีเอ็นเอ็น รายงานว่า นักวิทยาศาสตร์บันทึกวิธีเอาตัวรอดต่างๆ ของผึ้งในสหรัฐอเมริกา จากการโจมตีของฝูงแตนยักษ์ ซึ่งเป็นสัตว์ต่างถิ่นที่จากเอเชียที่เข้ามาในสหรัฐเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2562

 

 

ปกติแล้ว ผึ้งไม่สามารถป้องกันตัวจากแตกยักษ์เอเชียที่ได้รับการขนานนามว่า "แตนสังหาร" murder hornets ซึ่งโจมตีรังผึ้งอย่างรุนแรงและรวดเร็วในเวลาไม่กี่ชั่วโมง โดยสังหารผึ้งตัวเต็มวัยที่ปกป้องรัง จากนั้น ยึดรังผึ้งและเอาลูกผึ้งมาเป็นอาหารเลี้ยงลูกของแตนยักษ์เอง.

 

อย่างไรก็ตาม ผึ้งมีกลยุทธ์เอาตัวรอดเป็นของตัวเอง รวมถึงการส่งสัญญาณเตือนที่ไม่เหมือนใครและรุนแรง ซึ่งกระตุ้นให้ผึ้งออกมาเคลื่อนไหวป้องกันตัวเอง.

 

ฮีตเธอร์ แมตทิลา รองศาสตราจารย์ ที่ภาควิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ของวิทยาลัยเวลส์ลีย์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทีมนักวิทยาศาสตร์ที่แยกแยะเสียงเตือนของผึ้ง ระบุว่า รู้สึกมีปฏิกิริยาอวัยวะภายในเมื่อได้ยินเสียงเหล่านี้ เนื่องจากเห็นได้ชัดเจนว่าผึ้งมีอาการตื่นเต้น.

 

ศ.แมตทิลาอธิบายว่า สัญญาณเตือนดังกล่าว ซึ่งรู้จักกันในชื่อ “ท่อป้องกันตัว” (antipredator pipe) มีความรุนแรงและมีเสียงดัง ด้วยความต่อเนื่องและระดับเสียงต่างกันคล้ายกับเสียงแผด เสียงกรีดร้อง และเสียงตื่นตระหนก ที่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น บิชอพ และเมียร์แคต ใช้เมื่อมีอาการตื่นกลัว.

 

 

“ท่อแต่ละเส้นมีความต่อเนื่องต่างกัน แต่ผึ้งงานจะร้อยท่อหลายท่อเข้าด้วยกันเป็นสัญญาณที่ยาวขึ้น จากนั้น เปลี่ยนระดับเสียงมากขึ้นด้วย” ศ.แมตทิลากล่าวและว่า เสียงเตือนแบบนี้ ผึ้งเอเชีย (Apis cerana) น่าจะใช้เฉพาะเมื่อแตนยักษ์โจมตีรังผึ้งในเวียดนามซึ่งทีมนักวิจัยดำเนินการศึกษา. งานวิจัยดังกล่าวถูกตีพิมพ์ในวารสาร Royal Society Open Science เมื่อวันอังคารที่ 9 พ.ย.

 

"การศึกษาของเราเผยว่า ผึ้งไม่ได้สร้างเสียงดังกล่าวขึ้นมาหากไม่มีแตนมารุกราน โดยผึ้งสร้างจะเสียงดังกล่าวขึ้นไม่บ่อยนักเพื่อตอบโต้แตนตัวเล็กกว่า แต่จะสร้างบ่อยขึ้นหากผึ้งแค่ได้กลิ่นแตกยักษ์ แม้จะไม่เห็นตัวมัน และจะสร้างเสียงขึ้นมาได้มากที่สุดเมื่อแตนยักษ์อยู่นอกรังผึ้งโดยตรง" ศ.แมตทิลาระบุทางอีเมลที่ส่งถึงซีเอ็นเอ็น.

 

"เราไม่ได้ทดสอบทุกสถานการณ์ล่าที่แตนยักษ์เอเชียอาจเผชิญ แต่นี้เป็นหลักฐานที่ดีว่า ต้องมีการโจมตีจากแตนยักษ์จริงๆ ผึ้งจะตอบโต้" ศ.แมตทิลาระบุ.

 

สัญญาณเตือนดังกล่าวใช้เพื่อกระตุ้นกลไกการป้องกันบางอย่างที่ผึ้งมีเพื่อเคลื่อนตัวปะทะกับแตนสังหาร รวมถึงกลยุทธ์ต่างๆ เช่น dung spotting หรือการนำมูลสัตว์มาปิดรูทางเข้ารังผึ้งเพื่อขับไล่และทำให้แตนเกิดความสับสน และ bee balling (การตีผึ้ง) หรือการก่อตัวเป็นกลุ่มขนาดใหญ่เพื่อปราบศัตรู.

 

ศ.แมตทิลาอธิบายว่า การตีผึ้งเป็นการที่ผึ้งหลายร้อยตัวรุมล้อมแตนตัวเดียวในไม่กี่วินาที เป็นการบีบคั้นแตนและทำให้ความสามารถในการหายใจของมันลดลง ขณะที่ผึ้งเพิ่มอุณหภูมิลำตัวของมันถึงระดับที่ทำให้แตนมรณะถึงตายได้ เหมือนงูเหลือมที่รวมตัวกันรัดเหยื่อ.

 

ทั้งนี้ มีการพบเห็นแตนยักษ์เอเชียในสหรัฐครั้งแรกในรัฐวอชิงตันในปี 2562. ส่วนจะมาจากเอเชียซึ่งเป็นถิ่นกำเนิดได้อย่างไรไม่มีความชัดเจน แต่เป็นไปได้ที่จะมาถึงด้วยเรือขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ มากับสินค้าที่จัดส่งไปสหรัฐ หรือนักเดินทางที่มาเยือนหรือกลับมาสหรัฐ. ล่าสุด ในปี 2564 มีการพบเห็นพบรังแตนยักษ์ 3 รัง ในรัฐวอชิงตัน.

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง