รีเซต

'พืชทนน้ำท่วม' พลิกฟื้นระบบนิเวศ 'เกาะใหญ่' กลางแยงซี

'พืชทนน้ำท่วม' พลิกฟื้นระบบนิเวศ 'เกาะใหญ่' กลางแยงซี
Xinhua
5 ธันวาคม 2565 ( 12:35 )
84

ฉงชิ่ง, 5 ธ.ค. (ซินหัว) -- ชวนไขข้อสงสัยพืชพันธุ์ใดยังอยู่รอดแม้จมจ่อมอยู่ใต้น้ำนานกว่าครึ่งปี ด้วยคำตอบจากกลุ่มพืชทนน้ำท่วมแห่งเกาะกว่างหยางกลางแม่น้ำแยงซี ช่วงไหลผ่านเทศบาลนครฉงชิ่งทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ซึ่งช่วยปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางนิเวศวิทยาอันเปราะบางจนเป็นจุดชมวิวงดงาม ดึงดูดผู้คนและช่างภาพแวะเวียนมาเที่ยวชม

 

เกาะกว่างหยางตั้งอยู่ตอนบนของแม่น้ำแยงซี ครอบคลุมพื้นที่ราว 10 ตารางกิโลเมตร มีอัตราความครอบคลุมของพืชพันธุ์มากกว่าร้อยละ 90 โดยปัจจุบันมีพืช 594 สายพันธุ์ และสัตว์ 452 สายพันธุ์ ทว่าก่อนหน้านี้เคยเสื่อมโทรมอย่างหนักเพราะโครงการอสังหาริมทรัพย์อันยืดเยื้อจนกระทั่งรัฐบาลท้องถิ่นสั่งหยุดกิจกรรมเชิงพาณิชย์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมในปี 2017ทั้งนี้ เกาะกว่างหยางที่มีพื้นที่ระดับน้ำผันผวนเป็นแนวยาว 12 กิโลเมตร และครอบคลุมพื้นที่ 4 ตารางกิโลเมตร ถูกยกเป็นตัวอย่างทางอุทกวิทยาของการรับมือภาวะระดับน้ำผันผวนตามแนวแม่น้ำแยงซี ซึ่งกินพื้นที่รวมกว่า 400,000 หมู่ (ราว 166,667 ไร่) และเป็นผลจากการขึ้นลงของระดับน้ำในอ่างเก็บน้ำสามผาตามฤดูกาลเฮ่อหมิ่น ผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิค ซึ่งมีส่วนร่วมในโครงการฟื้นฟูเกาะกว่างหยาง เผยว่ามีการเสริมความแข็งแกร่งของคันดิน รักษาอัตราความครอบคลุมของพืชพันธุ์ให้เสถียร และเพิ่มพูนความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ระดับน้ำผันผวน โดยอิงจากระดับน้ำและคุณลักษณะของแม่น้ำแต่ละช่วงนอกจากนั้นมีการเพาะปลูกพืชทนน้ำหลายสายพันธุ์บนคันกั้นน้ำเพื่อสร้างระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำ ควบคู่กับการปรับใช้ระบบคันกั้นน้ำในวงกว้างสำหรับเป็นที่อยู่อาศัยของปลาและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ทำให้เกาะกว่างหยางถูกยกเป็นหนึ่งในตัวอย่างการฟื้นฟูระบบนิเวศ ณ การประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ สมัยที่ 15 (COP15) ในปี 2021หวังเย่ว์ จากบริษัท ฉงชิ่ง กว่างหยาง ไอแลนด์ กรีน ดีเวลลอปเมนต์ จำกัด (Chongqing Guangyang Island Green Development) ระบุว่าจำนวนพืชพันธุ์ในพื้นที่ระดับน้ำผันผวนของเกาะกว่างหยางเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดสองปีที่ผ่านมา ซึ่งช่วยสร้างสภาพแวดล้อมใหม่แก่เกาะกลางแม่น้ำแห่งนี้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง