รีเซต

บ่อเกิดพฤติกรรมเลียนแบบ? เตือน สหรัฐฯ เสี่ยงเกิดเหตุรุนแรงซ้ำอีก

บ่อเกิดพฤติกรรมเลียนแบบ? เตือน สหรัฐฯ เสี่ยงเกิดเหตุรุนแรงซ้ำอีก
TNN ช่อง16
18 พฤษภาคม 2565 ( 16:48 )
42

สำนักข่าว SCMP รายงานว่า พฤติกรรมเลียนแบบมือปืนกราดยิงในสหรัฐฯ อาจรุนแรงมากขึ้น หลังเกิดเหตุกราดยิงในเมืองบัฟฟาโร รัฐนิวยอร์ก 


---เหตุกราดยิงในสหรัฐฯ---


ผู้เชี่ยวชาญเตือนว่า ชายผิวขาวอายุ 18 ปี ที่ต้องสงสัยว่ายิงประชาชนเสียชีวิต 10 คน ในย่านคนดำ เมืองบัฟฟาโล รัฐนิวยอร์ก ดูเหมือนจะเป็นมือปืน “ลอกเลียนแบบ” รายล่าสุด ที่ก่อเหตุกราดยิง โดยได้แรงบันดาลใจจากผู้ก่อเหตุคนก่อน 


เพย์ตัน เกนดรอน ซึ่งยอมจำนนต่อตำรวจ หลังก่อเหตุกราดยิง เมื่อวันเสาร์ (14 พฤษภาคมเห็นได้ชัดว่า เขาได้ประกาศเจตนารมณ์เหยียดผิว ผ่านทางอินเทอร์เน็ต และถ่ายทอดการก่อเหตุแบบเรียลไทม์ บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียอย่าง Twitch 


เจ้าหน้าที่เรียกการกราดยิงหมู่นี้ ว่า เป็น “ลัทธิหัวรุนแรงที่มีแรงจูงใจทางเชื้อชาติ


ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า แนวโน้มของชายผิวขาวส่วนใหญ่ที่ได้รับแรงบันดาลใจ จากการกราดยิงหมู่ซึ่งเหยียดเชื้อชาติครั้งก่อน  นั้น กำลังเพิ่มขึ้น 


โดยอ้างถึงเหตุกราดยิงที่ผ่าน  มา รวมถึงการกราดยิงในปี 2015 ที่โบสถ์สีดำในชาร์ลสตัน รัฐเซาท์แคโรไลนาเหตุที่โบสถ์ยิวในพิตต์สเบิร์กเมื่อปี 2018 และปี 2019 ซึ่งเกิดการโจมตีที่ Walmart ในย่านฮิสแปนิก เมืองเอลปาโซ รัฐเทกซัส


---ส่งต่อความเกลียดชัง สู่อาชญากรรม---


อดัม แลงก์ฟอร์ด ศาสตราจารย์ด้านอาชญาวิทยา มหาวิทยาลัยแอละแบมา ได้ศึกษาแนวโน้มของการกราดยิงในช่วงเวลาหนึ่ง โดยการศึกษาในปี 2020 ที่วิเคราะห์ข้อมูลเหยื่อ พบว่า การกราดยิงที่ “ร้ายแรงที่สุด” ซึ่งมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 8 ราย เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าตั้งแต่ปี 2010 เมื่อเทียบกับ 40 ปีที่ผ่านมา


เห็นได้ชัดว่าไม่ใช่แค่เรื่องบังเอิญ พวกเขาไม่ได้คิดเรื่องนี้ด้วยตัวเอง แต่กำลังเรียนรู้จากกันและกัน” แลงก์ฟอร์ด กล่าว


เขากล่าวเสริมว่า “พวกเขาอยากเป็นเหมือนผู้ก่อเหตุคนก่อน  ”


การศึกษาของแลงก์ฟอร์ด พบว่า การยิงที่ “ร้ายแรงที่สุด” กว่า 25% คือ กราดยิงสาธารณะในปี 1966-2009 แต่จากปี 2010-2019 เพิ่มขึ้นเป็น 50% ซึ่งมี “หลักฐานโดยตรงว่า ผู้กระทำผิดได้รับอิทธิพลจากผู้ก่อเหตุหนึ่งคนหรือมากกว่านั้น


แลงก์ฟอร์ด กล่าวว่า การเพิ่มขึ้นของพฤติกรรมเลียนแบบการสังหารหมู่เหล่านี้ มีแนวโน้มที่เฉพาะเจาะจง โดยผู้ก่อเหตุได้แรงบันดาลใจจากชีวิตส่วนตัวของมือปืนคนก่อน 


ไม่ใช่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นซ้ำ  ที่สร้างแรงบันดาลใจ แต่เป็นรายละเอียดเล็ก  ในชีวิตของผู้ก่อเหตุต่างหาก” เขา กล่าว


---การนำเสนอของสื่อมีผลต่อสังคม---


แลงก์ฟอร์ดกล่าวว่า วิธีที่จะต่อสู้กับการเพิ่มขึ้นของอาชญากรรมที่เกิดจากความเกลียดชัง คือ การให้สื่อหลีกเลี่ยงการเผยแพร่รายละเอียดเกี่ยวกับชีวิตส่วนตัวของผู้ก่อเหตุ


จากการวิเคราะห์โดย The Violence Project ซึ่งติดตามเหตุกราดยิงในสหรัฐฯ ระบุว่า เหตุกราดยิงที่มีแรงจูงใจสร้างความเกลียดชังและผู้กระทำผิดที่แสวงหาชื่อเสียง เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว นับตั้งแต่ปี 2015


ศูนย์กฎหมายความยากจนในทางใต้ของสหรัฐฯ หรือ SPLC ซึ่งติดตามกลุ่มความเกลียดชังและกลุ่มหัวรุนแรง กล่าวกับ Reuters เมื่อวันอาทิตย์ (15 พฤษภาคมว่า มือปืนบัฟฟาโล “มีประวัติบนโลกออนไลน์มากมาย ในชุมชนออนไลน์ที่สังคมไม่ค่อยจะดีนัก” 


ซูซาน คอร์ก ผู้อำนวยการโปรเจ็กต์ข่าวกรองของ SPLC กล่าวว่า “จากสิ่งที่เขาเขียนบนโลกออนไลน์ เขากลายเป็นคนก้าวร้าว ผ่านการมีส่วนร่วมในฟอรัมเหล่านี้


SPLC กล่าวว่า แม้จะไม่มีหลักฐานใด  ว่า มือปืนเกี่ยวข้องกับกลุ่มขวาจัดหรือกลุ่มแบ่งแยกเชื้อชาติ แต่ก็มีสัญญาณอันตรายบางอย่างอยู่


---สังคม(ออนไลน์)หล่อหลอมนิสัย---


เขาหารือเรื่องการสร้างคลังอาวุธ และถามคำถามอย่างละเอียดเกี่ยวกับชุดเกราะกันกระสุน บนช่อง Discord เกี่ยวกับวัฒนธรรมปืน และยังเผยแพร่ข้อความที่เขาถูกกล่าวหาว่า ฆ่าแมวและหั่นแยกส่วนด้วย” คอร์ก กล่าว


เมื่อสองสัปดาห์ก่อน ดูเหมือนว่าเขาจะโพสต์แผนการก่อเหตุอย่างละเอียด และหลังจากนั้นก็ยังโพสต์บ่อย  เกี่ยวกับแผนของตัวเอง” 


SPLC กล่าวว่า ได้รับบันทึกการสนทนา Discord ของผู้ต้องสงสัยแล้ว และเสริมว่า เมื่อถามถึงความถูกต้อง พวกเขามี “ความมั่นใจสูง” อย่างไรก็ตาม สำนักข่าว Reuters ไม่สามารถตรวจสอบการโพสต์เหล่านี้ได้อย่างอิสระ


โซเชียลมีเดียและแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งอย่าง Twitch ได้ต่อสู้กับการควบคุมเนื้อหาที่มีความรุนแรงและสุดโต่งมานานหลายปี โดยกล่าวว่า ทีมงานได้ลบสตรีมการก่อเหตุในวันเสาร์ (14 พฤษภาคมหลังจากผ่านไปไม่ถึงสองนาที 


---ดาบสองคมของความ “รวดเร็ว”---


ลักษณะของการสตรีมหรือถ่ายทอดสดนั้น ยากต่อการกลั่นกรองเป็นพิเศษ เนื่องจากแพลตฟอร์มการสตรีมไม่มีการหน่วงเวลาเหมือนการออกอากาศทางโทรทัศน์ 


ด้าน Facebook พยายามที่จะแก้ไขปัญหาความรุนแรงของการไลฟ์ในปี 2019 หลังปล่อยให้มีการถ่ายทอดสดเหตุกราดยิงในเมืองไครสต์เชิร์ช ประเทศนิวซีแลนด์ ถึงเวลา 17 นาที ก่อนที่จะยุติการถ่ายทอด 


ปัจจุบัน Facebook มีนโยบาย “one-strike” ซึ่งจำกัดไม่ให้ผู้ใช้ที่ทำผิดกฎ ทำการสตรีมหรือการถ่ายทอดสดไม่ได้ชั่วคราว


เคธี โฮชูล ผู้ว่าการรัฐนิวยอร์ก กล่าวเมื่อวันอาทิตย์ (15 พฤษภาคมว่า การถ่ายทอดสดบนโลกออนไลน์ควรถูกลบให้เร็วขึ้น และเธอจะดำเนินการเรื่องนี้กับแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย


ด้านแนนซี เปโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรแห่งสหรัฐฯ ยังเรียกร้องให้บริษัทโซเชียลมีเดีย จัดการและติดตามแนวคิดสุดโต่งบนแพลตฟอร์มของตนด้วย

————

แปล-เรียบเรียงพัชรี จันทร์แรม

ภาพ: MARK FELIX / AFP

ข่าวที่เกี่ยวข้อง