รีเซต

ติดตั้ง โซลาร์เซลล์ (Solar Cell) คุ้มหรือไม่?

ติดตั้ง โซลาร์เซลล์ (Solar Cell) คุ้มหรือไม่?
NewsReporter
25 เมษายน 2565 ( 16:33 )
297
ติดตั้ง โซลาร์เซลล์ (Solar Cell) คุ้มหรือไม่?

ในอดีต ต้นทุนการติดตั้ง โซลาร์เซลล์ (Solar Cell) นั้นเรียกว่าสูงทีเดียว ต้องเป็นบ้านที่มีกำลังทรัพย์มากๆ ถึงจะสามารถรับค่าใช้จ่ายนี้ได้ หรือบางบ้านอาจมีกำลังทรัพย์แต่เมื่อคำนวณการคืนทุนแล้วก็ไม่คุ้มกับเงินที่เสียไป    แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีโซลาร์เซลล์ได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง  จึงทำให้การติดตั้งคุ้มค่ามากขึ้น  คืนทุนเร็วยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม แม้การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์จะสามารถช่วยลดค่าไฟได้จริง  แต่จะคุ้มทุนหรือจะสามารถคืนทุนได้เร็วหรือช้า ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง วันนี้เรามาศึกษากันว่า โซลาร์เซลล์ (Solar Cell) จะคุ้มกับเงินที่เราเสียไปหรือไม่

 

ทำความรู้จักโซลาร์เซลล์กันก่อน

หลังคาโซลาร์เซลล์ หรือ หลังคาพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นพลังงานสะอาดที่รับมาจากแสงอาทิตย์และเปลี่ยนให้เป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง ด้วยกระบวนการ Photovoltaic Effect จากนั้นส่งไปยังอินเวอร์เตอร์ เพื่อเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้ากระแสตรงเป็นกระแสสลับ นำมาใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ภายในบ้าน  ช่วยลดค่าไฟฟ้าในบ้านและการลงทุนในระยะยาว ซึ่งระบบแผงโซลาร์เซลล์แบ่งออกเป็น 3 ระบบ

 

ระบบออนกริด (On-Grid System)

ระบบที่ต่อเชื่อมสายส่งการไฟฟ้า มีแผงโซลาร์เซลล์ต่อเข้ากับกริดไทอินเวอร์เตอร์ จากนั้นเปลี่ยนไฟฟ้ากระแสตรงมาเป็นกระแสสลับให้ใช้งานในบ้านได้ ซึ่งระบบนี้จะเชื่อมต่อกับระบบจำหน่ายไฟของการไฟฟ้านครหลวง หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จึงเป็นระบบที่หลายบ้านนิยมติดตั้งกัน เพราะสามารถขายคืนให้การไฟฟ้าฯ ได้ แต่ก่อนติดตั้งต้องขออนุญาตก่อนเสมอ

 

ระบบไฮบริด (Hybrid)

ข้อแตกต่างระบบนี้อยู่ที่มีแบตเตอรี่มาสำรองพลังงาน สำหรับใช้งานในเวลาที่ไม่มีแสงอาทิตย์ และกรณีที่ผลิตกระแสไฟฟ้ามากพอเกินกว่าการใช้งานแล้ว ระบบจะนำกระแสไฟฟ้าชาร์ตเข้าแบตเตอรี่ เพื่อนำไปใช้งานต่อในเวลาอื่นๆ ซึ่งมีประโยชน์มากเมื่อบ้านไหนที่ไฟตกบ่อยก็สามารถดึงเอาไฟฟ้าในแบตเตอรี่มาใช้งานได้

 

ระบบออฟกริด (Off-Grid System)

ระบบนี้การทำงานจะเหมือนกับ ‘ออนกริด’ และ ‘ไฮบริด’ คือจะรับพลังงานมาเข้าอินเวอร์เตอร์ แล้วเปลี่ยนไฟฟ้ากระแสตรงเป็นไฟฟากระแสสลับมาใช้งานในบ้าน รวมถึงการผลิตกระแสไฟฟ้าเข้าชาร์ตในแบตเตอรี่ด้วย แต่ข้อแตกต่างอยู่ตรงไม่ได้เชื่อมต่อเข้ากับระบบจำหน่ายของการไฟฟ้านครหลวง หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การติดตั้งจะไม่จำเป็นต้องขออนุญาตก่อน ระบบนี้จึงเหมาะมากกับบ้านที่กระแสไฟฟ้ายังเข้าไม่ถึง

 

อุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการติดตั้ง

แผงโซลาร์เซลล์ (Photovoltaic/PV) ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานแสงแดดให้เป็นพลังงานไฟฟ้า โดยก่อนจะตัดสินใจเลือกขนาดของแผงต้องทราบก่อนว่าเราต้องการผลิตกระแสไฟฟ้ามากน้อยเพียงใด และต้องใช้ขนาดกำลังวัตต์ไหนจึงจะเหมาะสม ซึ่งมีจำหน่ายตั้งแต่ขนาด 10-285 วัตต์ แต่ควรเลือกแผงโวลาร์เซลล์ให้มีกำลังไฟมากกว่าการใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างน้อย 20 เปอร์เซนต์ รวมถึงอายุการใช้งานของแผงโซลาร์เซลล์จะอยู่ที่ 25 ปี แต่เมื่อเวลาผ่านไปนานถึง 10 ปี ประสิทธิภาพการผลิตไฟก็จะลดลงไปตาม ดังนั้นก่อนจะเลือกต้องคำนึงถึงปัจจัยนี้ตรงนี้ก่อน

แผงโซลาร์เซลล์มีอยู่ด้วยกัน 3 ชนิด

  1. โมโน โซลาร์เซลล์ (Mono Solar Cell) ทำมาจาก Silicon ที่มีความบริสุทธิสูง มีประสิทธิภาพในการผลิตกระแสไฟฟ้าสูงกว่าแผงชนิดอื่นๆ แม้อยู่ในภาวะแสงแดดน้อย มีอายุการใช้งานยาวนานที่สุดถึง 25 ปี
  2. โพลีโซลาร์เซลล์ (Poly Solar Cell) ทำมาจากผลึก Silicon เหมือนกัน แต่ขั้นตอนการผลิตแตกต่างกัน มีคุณสมบัติในการผลิตกระแสไฟฟ้าได้ดีน้อยกว่าแผงแบบโมโน มีอายุการใช้งานประมาณ 20-25 ปี
  3. อะมอร์ฟัสโซลาร์เซลล์ (Amorphous Solar Cell) เป็นการนำเอาสารที่มีคุณสมบัติในการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ไปเป็นพลังงานไฟฟ้ามาฉาบเป็นแผ่นฟิลม์บางๆ เป็นแผงที่มีราคาถูกที่สุด แต่การผลิตกระแสไฟฟ้าและอายุการใช้งานนะน้อยกว่าชนิดอื่นๆ

 

เครื่องแปลงไฟ (Inverter) อุปกรณ์ที่จะเปลี่ยนกระไฟฟ้า ควรเลือกกำลังวัตต์ให้มากกว่ากำลังวัตต์ของเครื่องใช้ไฟฟ้ารวมทั้งหมดในบ้านประมาณ 30-40 % ปัจจุบันมีอยู่ 2 แบบคือ Off grid inverter และ On grid inverter

 

แบตเตอรี่ (Battery) อุปกรณ์สำหรับเก็บไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์ ซึ่งแบตเตอรี่ที่เหมาะสมกับระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์มากที่สุดคือ แบตเตอรี่แบบจ่ายประจุสูง (Deep discharge battery) มีคุณสมบัติในการจ่ายพลังงานในปริมาณน้อยแต่ต่อเนื่อง โดยที่ไม่เกิดความเสียหายกับแบตเตอรี่

 

เครื่องควบคุมการชาร์จไฟ (Solar control charger) ทำหน้าที่คุมแรงดันและกระแสไฟฟ้าที่เข้าสู่แบตเตอรี่ในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งเครื่องควบคุมชาร์จที่ดีจะสามารถรีดพลังงานจากแสงแดดไปเก็บไว้ในแบตเตอรี่ได้มากที่สุด โดยราคามีตั้งแต่หลักร้อยจนถึงหลักหมื่น

 

อุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร (Over Current Protection & Accessaries)

 

หลักในคำนึงพื้นที่การติดตั้ง

ในข้อนี้เราต้องศึกษาพื้นที่ในบ้านให้ดีเสียก่อน ว่าควรติดตั้งทิศทางและตำแหน่งไหน ซึ่งมีหลักง่ายๆ ไม่กี่ข้อให้เข้าใจกันเสียก่อน

 

ทิศทางแสงแดด – ถ้าไม่มีแสงอาทิตย์โซลาร์เซลล์ที่มีอยู่ก็เหมือนไร้ค่าในทันที ซึ่งแน่นอนอยู่แล้วว่าทิศทางเหมาะสมที่สุดเป็นทิศตะวันตก หรือทิศตะวันตกเฉียงใต้ ที่เป็นทิศทางการโคจรของดวงอาทิตย์ที่ได้ปริมาณแสงแรงสุด แต่ทิศทางตรงนั้นก็ต้องไม่มีวัตถุใดๆ มาบดบังแสงด้วย รวมถึงองศาความลาดชันควรประมาณ 15-20 องศากับพื้นดิน เพื่อทำให้แสงอาทิตย์กระทบตั้งฉากกับแผงโซลาร์เซลล์ให้มากที่สุด

 

ตำแหน่งการติดตั้งแผง – ปกติแล้วหลายๆ บ้านก็นิยมติดอยู่บนหลังคา ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ดีสุดในการกระทบกับแสงอาทิตย์ แต่ทางที่ดีควรให้วิศวกรผู้เชี่ยวชาญมาตรวจสอบโครงหลังคาเสียก่อน ว่าสามารถรับน้ำหนักของแผงโซลาร์เซลล์ได้หรือไม่ นอกจากนี้หากต้องการไฟฟ้าให้ได้ประสิทธิภาพที่ดีควรเผื่อพื้นที่ว่างไว้ในพื้นที่ที่ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ประมาณ 20 % ของพื้นที่ที่จะติดตั้ง

 

บ้านแบบไหนที่ติดโซลาร์เซลล์แล้วคุ้ม

เป็นบ้านที่มีการใช้ไฟฟ้าตอนกลางวันคือผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์แล้วนำมาใช้งานเลย เช่น บ้านพักอาศัยที่มีพ่อแม่อยู่บ้าน คนวัยเกษียณ คนที่ทำงานที่บ้าน แบบ Work from home หรือ Home Office ทั้งหลาย กลุ่มคนเหล่านี้เหมาะสมเป็นอย่างมาก ระบบโซลาร์รูฟแบบ On grid ซึ่งคือระบบที่ต่อเชื่อมกับโครงข่ายการไฟฟ้านครหลวง หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค มีแผงโซลาร์เซลล์ต่อเข้ากับ อินเวอร์เตอร์ (Grid-tie Inverter) ที่จะแปลงไฟฟ้ากระแสตรงมาเป็นกระแสสลับให้ใช้งานในบ้านได้ทันที ไม่มีการเก็บไฟไว้ เป็นระบบที่หลายบ้านนิยมติดตั้งกันด้วยราคาที่เข้าถึงได้มากขึ้น และยังสามารถขายพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตเหลือระหว่างวันคืนให้การไฟฟ้าฯ ได้ด้วย โดยค่าไฟขั้นต่ำต่อเดือนที่แนะนำหรือเหมาะสมกับการติดโซลาร์เซลล์ จะอยู่ที่ประมาณ 3,000 บาท

 

หลังคาบ้านโซล่าเซลล์ (Solar Cell) ลดค่าไฟได้จริงไหม? 

ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่าการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ (Solar Cell) สามารถช่วยลดค่าไฟได้จริง!!  แต่จะคุ้มทุน-คืนทุนเร็วหรือช้า ขึ้นอยู่กับขนาดของระบบโซลาร์ (Solar) และพฤติกรรมการใช้ไฟของเจ้าของบ้านแต่ละหลัง เปรียบเทียบง่ายๆ หากเราลงทุนกับการติดตั้งโซล่าเซลล์ (Solar Cell)  ในมูลค่าที่เท่ากัน บ้านที่มีการติดตั้งระบบโซลาร์ขนาดใหญ่และใช้ไฟฟ้ามากย่อมคืนทุนเร็วกว่าบ้านที่มีการใช้ไฟฟ้าน้อย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องเป็นบ้านที่ใช้ไฟกลางวันเป็นหลัก ผลิตไฟฟ้าได้แล้วใช้เลยจึงจะคุ้มค่ามากที่สุด (ระบบ On grid) เพราะในปัจจุบันระบบ Energy Storage สำหรับใช้ในบ้านยังมีค่าใช้จ่ายสูงมาก ทำให้จุดคุ้มทุนยิ่งนานขึ้นตามกันไป​​​​​​​

 

ขั้นตอนขายคืนให้รัฐ

นอกจากติดตั้งเพื่อใช้งานในบ้านแล้ว เจ้าของมิเตอร์ยังสามารถขายคืนให้กับรัฐได้ด้วย ในโครงการโซลาร์ภาคประชาชน ลงทะเบียนยื่นความจำนงได้ที่ https://spv.mea.or.th/ โดยมีเงื่อนไขข้อกำหนดเบื้องต้นคือ

1 ผู้ยื่นสมัครจะต้องเป็นเจ้าของมิเตอร์ เป็นผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทที่อยู่อาศัย (ประเภทที่ 1)

2 จุดประสงค์ในการติดตั้งแผนโซลาร์คือเพื่อใช้เองภายในครัวเรือนเพื่อลดค่ากระแสไฟฟ้า ส่วนที่เหลือใช้ขายคืนให้กับ PEA มีกำลังผลิตไฟฟ้าไม่เกิน 10 กิโลวัตต์

3 PEA รับซื้อในอัตรา 1.68 บาท/หน่วย เป็นเวลา 10 ปี

4 มีค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อระบบโครงการ 8500 บาท (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)

5 ยื่นคำขอภายในปี 2562 จัดลำดับการรับซื้อจากผู้ที่ลงทะเบียนก่อนมีสิทธิ์ก่อน

 

ข้อมูล SCG , SCB

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.

คลิกเลย >>> TrueID Community <<<

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง