รีเซต

สหรัฐฯ ปฏิเสธการอ้างสิทธิ์ของจีนในทะเลจีนใต้ ชี้ บ่อนทำลายหลักนิติธรรมในมหาสมุทร

สหรัฐฯ ปฏิเสธการอ้างสิทธิ์ของจีนในทะเลจีนใต้ ชี้ บ่อนทำลายหลักนิติธรรมในมหาสมุทร
TNN ช่อง16
16 มกราคม 2565 ( 15:07 )
71
สหรัฐฯ ปฏิเสธการอ้างสิทธิ์ของจีนในทะเลจีนใต้ ชี้ บ่อนทำลายหลักนิติธรรมในมหาสมุทร

สำนักข่าว SCMP รายงานสถานการณ์โต้แย้งกรรมสิทธิ์ในทะเลจีนใต้ ที่ไม่มีทีท่าว่าจะจบลงง่าย  ล่าสุด สหรัฐฯ ยังยืนกรานไม่ยอมรับการอ้างสิทธิ์ของจีนเหนือทะเลจีนใต้ ระบุ สิทธิทางประวัติศาสตร์ ที่จีนอ้างถึง “ไม่ปรากฏ” ในอนุสัญญาใด  


---ยืนหยัดคานอำนาจจีน---


รัฐบาลสหรัฐฯ ยกระดับวิพากษ์วิจารณ์การอ้างสิทธิ์ของจีนในทะเลจีนใต้ โดยเมื่อวันพุธ (12 มกราคมได้ออกรายงานที่ระบุว่า “สิทธิทางประวัติศาสตร์” เป็นคำที่ไร้ซึ่งความหมาย


กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ กล่าวในรายงานที่มีชื่อว่า Limits in the Seas ว่า จีน “บ่อนทำลายหลักนิติธรรมในมหาสมุทรอย่างร้ายแรง” โดยอ้างอิงถึงอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล (Unclos) ฉบับปี 1982 และคำตัดสินระหว่างประเทศ ที่ปฏิเสธการอ้างสิทธิส่วนใหญ่ของจีนในทะเลจีนใต้ 


รายงานดังกล่าว มีขึ้นท่ามกลางความตึงเครียดระหว่างจีนและผู้อ้างกรรมสิทธิ์ชาติอื่น  ในทะเลจีนใต้และตะวันออก หลังสื่อญี่ปุ่นรายงานเมื่อเร็ว  นี้ว่า เรือรบญี่ปุ่นได้ทำการลาดตระเวนเสรีภาพในการเดินเรือ ใกล้หมู่เกาะสแปรตลีย์ที่นานาประเทศกำลังมีประเด็นขัดแย้งกันอยู่


ขณะที่ จีนอ้างสิทธิทางประวัติศาสตร์ในภูมิภาคทะเลจีนใต้มากกว่า 80% รวมทั้งหมู่เกาะสแปรตลีย์ ผ่านแผนที่ “เส้นประ 9 เส้น” (nine-dash line) ซึ่งครอบคลุมพื้นที่กว่า 2,000 กิโลเมตร ตั้งแต่จีนแผ่นดินใหญ่ ยาวไปจนถึงน่านน้ำใกล้กับอินโดนีเซียและมาเลเซีย


---การอ้างสิทธิ์ที่ขาดการยอมรับ---


เมื่อเดือนกรกฎาคม 2016 คำตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ  กรุงเฮก เนเธอร์แลนด์ ระบุว่า จีนไม่มี “สิทธิทางประวัติศาสตร์” ในการอ้างสิทธิ์เหนือทะเลจีนใต้ 


รวมถึงตัดสินว่า การอ้างกรรมสิทธิ์เหนือหินโผล่ของหลาย  ประเทศ ไม่สามารถใช้เป็นบรรทัดฐานในการครอบครองทะเลจีนใต้ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย


จ้าว ลี่เจี้ยน โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีน กล่าวเมื่อปีที่แล้วว่า คำตัดสินดังกล่าว “ไม่ถูกต้อง” ท่ามกลางข้อพิพาทจีน-ฟิลิปปินส์ หลังจีนส่งฝูงเรือหลายร้อยลำเข้าใกล้หมู่เกาะสแปรตลีย์


รายงานของสหรัฐฯ ยังระบุว่า “ไม่มีบทบัญญัติของอนุสัญญาที่มีคำว่า ‘สิทธิทางประวัติศาสตร์’ และคำดังกล่าว ยังไร้ซึ่งความเข้าใจร่วมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกฎหมายระหว่างประเทศ


การอ้างสิทธิใด  จะต้องสอดคล้องกับบทบัญญัติของอนุสัญญา รวมถึงส่วนที่เกี่ยวกับเขตเศรษฐกิจพิเศษไหล่ทวีป และทะเลหลวง” แถลงการณ์ระบุ


รายงานดังกล่าว ยังโต้แย้งการอ้างสิทธิ์ของจีนที่มีต่อพื้นที่มากกว่า 100 แห่งในทะเลจีนใต้ ซึ่งจมอยู่ใต้น้ำในช่วงที่น้ำขึ้นสูงอีกด้วย 


---กองเรือรบอเมริกันที่ไม่เคยหยุดนิ่ง---


ล่าสุด สหรัฐฯ ได้ส่งกองเรือ Carrier Strike Group ไปยังทะเลจีนใต้ ซึ่งเรือบรรทุกเครื่องบินซานตงของจีน เพิ่งซ้อมรบไปเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน ทำให้เกิดความตึงเครียดครั้งใหม่ในพื้นที่ดังกล่าว


หน่วยงาน South China Sea Strategic Situation Probing Initiative ในกรุงปักกิ่ง ซึ่งตรวจสอบข้อมูลการติดตามเรือแบบโอเพนซอร์ส ระบุว่า พบเรือบรรทุกเครื่องบิน USS Carl Vinson และ USS Essex รวมถึงเรือคุ้มกัน เข้าสู่น่านน้ำทางใต้ของทะเลจีนใต้ เมื่อเย็นวันอังคาร (11 มกราคมที่ผ่านมา


ด้านกองทัพเรือสหรัฐฯ ยังไม่ได้ประกาศแผนใด  แต่คาดการณ์ว่า ทั้งสองกองเรือจะรวมกำลังและออกปฏิบัติการร่วมกัน


ทั้งนี้ การซ้อมรบของสหรัฐฯ แบบสองกองเรือ เกิดขึ้นในทะเลจีนใต้มาแล้ว 2 ครั้ง คือ เดือนกรกฎาคม 2020 และกุมภาพันธ์ 2021 ขณะที่เดือนตุลาคมปีที่แล้ว USS Carl Vinson CSG ได้ฝึกซ้อมร่วมกับเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ญี่ปุ่น JS Kaga ในภูมิภาคนี้ด้วย


--- สหรัฐฯ-จีนเลี่ยงการเผชิญหน้าในน่านน้ำ---


การซ้อมรบครั้งล่าสุด เกิดขึ้นเพียงไม่กี่สัปดาห์หลังกองทัพเรือ PLA ได้จัดเรือบรรทุกเครื่องบินสองลำซ้อมรบร่วมกัน โดยลำหนึ่งอยู่ในทะเลจีนใต้ นอกจากนี้ ยังเป็นเวลาเพียงสามสัปดาห์ก่อนโอลิมปิกฤดูหนาวในปักกิ่งและวันตรุษจีน ซึ่งจีนหวังหลีกเลี่ยงการสร้างความตึงเครียดทางทหารในพื้นที่ใกล้เคียง


จากข้อมูลของกองทัพเรือสหรัฐฯ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว กองเรือ USS Carl Vinson อยู่ในทะเลเซเลเบส ซึ่งอยู่ระหว่างฟิลิปปินส์ อินโดนีเซียและมาเลเซีย โดยมีฝูงบินจาก Carrier Air Wing 2 อยู่บนเรือ 9 ลำ รวมถึงเครื่องบินขับไล่ล่องหน F-35C และเครื่องบินลำอื่น  ในฝูงบิน


อีกทั้งยังมีเรือลาดตระเวนขีปนาวุธนำวิถีชั้น USS Lake Champlain และฝูงบินพิฆาต 1 ซึ่งประกอบด้วย เรือพิฆาตขีปนาวุธนำวิถี ชั้น Arleigh Burke จำนวน 5 ลำ


ทั้งนี้ เรือบรรทุกเครื่องบิน “ซานตง” อยู่ในทะเลจีนใต้เมื่อธันวาคมที่ผ่านมา ส่วน “เหลียวหนิง” อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก โดย  เวลานั้น ไม่มีเรือบรรทุกเครื่องบินสหรัฐฯ อยู่ในภูมิภาคแห่งนี้แม้แต่ลำเดียว


---สังเวียนสองชาติ “ไร้จุดจบ”---


ข้อพิพาททะเลจีนใต้ระหว่างจีนและสหรัฐฯ ทวีความรุนแรงขึ้นตั้งแต่จีนเริ่มทำการถมทะเลสร้างเกาะเทียมช่วงปี 2015 


ขณะที่ฝ่ายบริหารของไบเดนโต้แย้งว่า การกระทำของจีนในทะเลจีนใต้ คุกคามเส้นทางการค้าแห่งนี้ ซึ่งมีมูลค่ากว่า 3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี (ราว 99 ล้านล้านบาท


ในระหว่างการเยือนประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อเดือนที่แล้ว แอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ยังให้คำมั่นว่า สหรัฐฯ และพันธมิตร รวมถึงนานาประเทศที่อ้างสิทธิ์ในทะเลจีนใต้ จะ “ยังคงต่อต้านพฤติกรรมดังกล่าวต่อไป” ซึ่งหมายถึง การกระทำผิดกฎหมายระหว่างประเทศในพื้นที่พิพาท


ด้านจ้าว ลี่เจี้ยน ออกมาโต้แย้งหลังคำปราศรัยของบลิงเคน โดยระบุว่า “ไม่ใช่จีนที่สร้างปัญหาในทะเลจีนใต้ หรือวางตัวเป็นภัยคุกคามร้ายแรงและเสี่ยงต่อสันติภาพ-เสถียรภาพในภูมิภาค ภายใต้ข้ออ้างของ ‘เสรีภาพในการเดินเรือ’ ” 


ผมแน่ใจว่าเราทุกคนรู้ว่า ประเทศใดมีนิสัยเช่นนั้น หวังว่าเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ จะไม่บิดเบือนข้อเท็จจริงเหล่านี้” จ้าว เสริม

—————

แปล-เรียบเรียงพัชรี จันทร์แรม

ภาพ: Reuters

ข่าวที่เกี่ยวข้อง