รีเซต

เทียบ "เงินเฟ้อ" แต่ละประเทศพุ่งสูงขึ้นเกิดจากอะไร ประเทศไหนน่าเป็นห่วงที่สุด?

เทียบ "เงินเฟ้อ" แต่ละประเทศพุ่งสูงขึ้นเกิดจากอะไร ประเทศไหนน่าเป็นห่วงที่สุด?
TNN ช่อง16
19 กรกฎาคม 2565 ( 17:48 )
368
เทียบ "เงินเฟ้อ" แต่ละประเทศพุ่งสูงขึ้นเกิดจากอะไร ประเทศไหนน่าเป็นห่วงที่สุด?

เงินเฟ้อ เป็นหนึ่งในหัวข้อมีคนสนใจอย่างมากในตอนนี้ โดยเฉพาะหลังจากการที่สหรัฐเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อเดือนล่าสุด พุ่งขึ้นไปสู่ระดับสูงสุดในรอบ 40 ปี   แน่นอนว่าได้สร้างความกังวลต่อทิศทางการเติบโตของเศรษฐกิจโลกและแนวทางการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางในระยะข้างหน้า  


สาเหตุที่เงินเฟ้อโลกพุ่งสูงขึ้น เกิดจากอะไรบ้าง? 

เว็บไซต์ ธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่าอัตราเงินเฟ้อโลกที่สูงขึ้นเป็นผลจากอุปสงค์และอุปทานเกิดความไม่สมดุลกัน ซึ่งยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยสาเหตุของอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยปัจจุบัน ปรับตัวเร่งขึ้นนั้นก็มาจากอัตราเงินเฟ้อหมวดพลังงาน ตามการปรับขึ้นค่าไฟฟ้าและราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเพิ่มขึ้นจากราคาในหมวดอาหาร และผลของฐานค่าน้ำประปาที่ต่ำในปีก่อนจากมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของภาครัฐ


สถานการณ์ เงินเฟ้อ ในปัจจุบันหลักๆมีสาเหตุมาจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง หลังจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว และปัญหารัสเซีย-ยูเครน โดยข้อมูลจาก “ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล” ประธานสภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) ออกเปิดเผยว่า เงินเฟ้อในประเทศต่าง ๆ เพิ่มสูงขึ้น ทำสถิติสูงสุดในรอบ 40 กว่าปี โดยอังกฤษเงินเฟ้ออยู่ที่ 9.1% สหรัฐ 8.6% และเยอรมัน 7.9%

 

ขณะเดียวกันจากสถิติของประเทศที่เผชิญปัญหาเงินเฟ้อสูงสุดขณะนี้ คือมีเงินเฟ้อตั้งแต่ประมาณ 30% ขึ้นไป เช่น เลบานอนที่มีอัตราสูงถึง 211% และเวเนซูเอล่า 167%




เงินเฟ้อพุ่งใครได้รับผลกระทบที่สุด

ใครหลายคนต่างก็บ่นว่าข้าวของแพงจากพิษ เงินเฟ้อ ซึ่งเป็นภาระที่ประชาชนต้องมารับไว้ ในขณะที่ข้าวของแพง น้ำมันแพง แก๊สแพง แต่รายได้เท่าเดิม จึงส่งผลให้อำนาจการซื้อของประชาชน "เงินเท่าเดิมอาจซื้อของได้ในจำนวนน้อยลง ซื้อของได้ลดลง"  


คาดการณ์เงินเฟ้อไตรมาส 3 

สำนักวิจัยธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย ประเมินว่า อัตราเงินเฟ้อไตรมาส 3 น่าจะอยู่ในระดับสูงสุดของปี และมีโอกาสแตะระดับ 10% ได้ จากราคาน้ำมันที่ยังสูง ราคาอาหารสด และที่สำคัญ น่าจะเริ่มเห็นเงินเฟ้อจากฝั่งอุปสงค์ หลังกำลังซื้อฟื้นตัวจากไตรมาส 2 รับการเปิดเมืองและจากฐานที่ต่ำในปีก่อน

 


จากข้อมูลทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ต้องยอมรับว่า เงินเฟ้อ รับเป็นความเสี่ยงสำคัญในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในปีนี้ ซึ่งบางสำนักก็คาดว่า เงินเฟ้อในครึ่งปีหลังอาจจะพุ่งทะลุ 10% กดดันการบริโภคในประเทศได้ อีกทั้งยังต้องจับตาค่าเงินบาทที่จะอ่อนค่าหลุด 36.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐหรือไม่ ถ้าเฟดเร่งขึ้นดอกเบี้ยรุนแรงกว่าปัจจุบัน  รวมทั้งปัญหาความขัดแย้ง สงครามในต่างประเทศที่จะยิ่งผลักดันให้ ราคาน้ำมัน พุ่งสูง ตลอดจนการที่สหรัฐเสี่ยงเข้าสู่ภาวะถดถอยเร็ว แต่เงินเฟ้อยังสูง เฟดจำต้องขึ้นดอกเบี้ย หรือแม้แต่สถานการณ์โควิดที่กำลังจะกลับมาอีกครั้ง จนถึงขั้นล็อกดาวน์และกระทบต่อการดำเนินธุรกิจอีกครั้ง ยังเป็นหลายประเด็นที่ต้องติดตาม .


พี่กำลังจะ

ข้อมูลจาก :สำนักวิจัยธนาคารซีไอเอ็มบี ไทยธนาคารแห่งประเทศไทย,ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล

ภาพจาก : TNN ONLINE ,AFP 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง