รีเซต

ญี่ปุ่นเตรียมใช้จรวดไปอวกาศด้วยเชื้อเพลิงจากขี้วัว !

ญี่ปุ่นเตรียมใช้จรวดไปอวกาศด้วยเชื้อเพลิงจากขี้วัว !
TNN ช่อง16
14 สิงหาคม 2566 ( 20:03 )
150

วงการพลังงานทางเลือกกำลังอยู่ในช่วงขาขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่เว้นแม้แต่อุตสาหกรรมอวกาศที่ใช้พลังงานและเชื้อเพลิงมหาศาลก็หันมาใช้เชื้อเพลิงจากพลังงานทางเลือกเช่นกัน โดยล่าสุด อินเตอร์สเตลลาร์ เทคโนโลยี (Interstellar Technologies) บริษัทอวกาศน้องใหม่จากญี่ปุ่นได้ยกระดับแผนไปอวกาศของตนสู่การทำจรวดขนส่งไปอวกาศที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้วยเชื้อเพลิงที่จำมาจากมูลวัว เพื่อขึ้นวงโคจรในปี 2025 ภายใต้ชื่อว่าเซโร่ (Zero) ที่สื่อถึงการปล่อยมลพิษเป็นศูนย์


เซโร่ (Zero) จรวดเชื้อเพลิงขี้วัว

จรวดดังกล่าวต่อยอดมาจาก โมโมะ (Momo) จรวดที่ทางบริษัทเคยใช้ส่งไปยังระดับซับออร์บิทัล (Suborbital) หรือระดับที่จะไม่ลอยค้างที่ระดับวงโคจรแต่จะตกกลับมายังโลกที่ความสูงเหนือพื้นโลกมากกว่า 100 กิโลเมตร เซโร่เป็นจรวดขับเคลื่อน 2 ระยะ ที่มีการติดเครื่องยนต์อีกครั้งเมื่ออยู่กลางอากาศ เช่นเดียวกับฟอลคอน 9  (Falcon) ของสเปซเอกซ์ (SapceX) มีความยาวทั้งหมด 25 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.7 เมตร


จุดเด่นสำคัญของเซ่โร่คือเชื้อเพลิงที่ใช้นั้นเป็นมีเทนเหลว (Liquid Methene) ที่ได้จากการหมักมูลวัว หรือเรียกว่าไบโอมีเทน (Biomethene) ทั้งหมด พร้อมทั้งปรับแต่งให้ตัวจรวดมีน้ำหนักเบา ด้วยการทำโครงสร้างจากอะลูมิเนียมและพลาสติกที่เสริมโครงสร้างด้วยคาร์บอนไฟเบอร์ (Carbon fiber) ทำให้มีน้ำหนักทั้งหมดอยู่ที่ 33 ตัน และรองรับสัมภาระ (Payload) ทั้งหมด 150 กิโลกรัม ตามที่ระบุไว้ในเว็บไซต์ของบริษัท


แผนปล่อยเซโร่ (Zero) จรวดเชื้อเพลิงขี้วัว

นอกจากเชื้อเพลิงและโครงสร้างแล้ว เซโร่ยังได้รับการออกแบบให้สามารถขึ้นสู่ระดับวงโคจรได้จากหลากหลายจุดยิงโดยใช้ระบบการควบคุมทิศทางแรงขับดันคล้ายกับกิมบอล (Gimball) หรือระบบการหมุนอิสระ และติดตั้งคอมพิวเตอร์ เซนเซอร์ อุปกรณ์สื่อสารกับภาคพื้นดิน


ซึ่งทางบริษัทเชื่อว่าจะช่วยให้การส่งจรวดขึ้นไปแต่ละครั้งมีต้นทุนต่ำเพียงพอในตลาดการส่งจรวดสู่ระดับวงโคจรต่ำ (LEO: Low-Earth Orbit) โดยมีกลุ่มลูกค้าเป็นบริษัทหรือองค์กรที่ต้องการส่งวัตถุหรืออุปกรณ์บรรจุขึ้นไปอวกาศ (Payload) ที่มีน้ำหนักเบาทั้งในเอเชียและโอเชเนีย โดยคาดว่าเซโร่จะสามารถขึ้นบินเป็นครั้งแรกได้ภายในปี 2025 ที่จะถึงนี้ พร้อมเปิดตัวจรวดรุ่นอื่น ๆ ที่ใช้พลังงานชีวภาพหลังปี 2030 เป็นต้นไปอีกด้วย


ที่มาข้อมูล Interesting Engineering, Space News

ที่มารูปภาพ Interstella Technology

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง