รีเซต

ฉก.จงอางศึก เข้มสกัดแรงงานผิดกม.ชายแดนไทยเมียนมา รับนโยบายรบ.-กองทัพบก กันโอไมครอน

ฉก.จงอางศึก เข้มสกัดแรงงานผิดกม.ชายแดนไทยเมียนมา รับนโยบายรบ.-กองทัพบก กันโอไมครอน
มติชน
2 ธันวาคม 2564 ( 10:29 )
61
ฉก.จงอางศึก เข้มสกัดแรงงานผิดกม.ชายแดนไทยเมียนมา รับนโยบายรบ.-กองทัพบก กันโอไมครอน

ฉก.จงอางศึก เข้มสกัดแรงงานผิดกม.ชายแดนไทยเมียนมา ด้านจ.ประจวบคีรีขันธ์ รับนโยบายรบ.-กองทัพบก กันโอไมครอน

 

กองบัญชาการกองทัพไทย (บก.ทท.) โดย กรมกิจการพลเรือนทหาร ได้จัดโครงการประชาสัมพันธ์สนับสนุนการจัดระเบียบชายแดนในพื้นที่จ.ประจวบคีรีขันธ์ เยี่ยมชมการปฏิบัติหน้าที่ในการป้องกันประเทศตามแนวชายแดน อันเป็นภารกิจหลักของกองทัพไทยในการรักษาความมั่นคงของชาติ ก่อให้เกิดความเชื่อมั่น ศรัทธาต่อกองทัพ นำไปสู่ความร่วมมืออันดีระหว่างทหารกับประชาชน

 

โดยได้เข้าเยี่ยมชมการปฏิบัติงานของหน่วยทหาร ที่หน่วยเฉพาะกิจจงอางศึก กองกำลังสุรสีห์ จ. ประจวบคีรีขันธ์ พ.อ.อัษฎาวุธ ปันยารชุน ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจจงอางศึก ได้กล่าวบรรยายถึงการสกัดแรงงานผิดกฎหมายชายแดนไทย-เมียนมา ด้านจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ว่า ในพื้นที่ความรับผิดชอบ 283 กิโลเมตร โดยในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ระหว่างเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน 2564 สามารถจับกุมได้ 36 ครั้ง ยอด 933 คน ซึ่งส่วนใหญ่ลักลอบเข้ามาบริเวณตอนกลางของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จากชายแดนประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาถึงพื้นที่ชั้นใน ทั้งนี้ หน่วยเฉพาะกิจจงอางศึก ได้ร่วมกับหน่วยงานต่างๆในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทั้ง ตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) ทหารพราน ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) กรมศุลกากร และฝ่ายปกครอง ทำให้สามารถจับกุมสกัดกั้นได้เป็นจำนวนมาก

 

 

ทั้งนี้ แนวทางที่ผู้บังคับบัญชา ได้เน้นย้ำคือจะตัองแก้ปัญหาแรงงานผิดกฎหมายทุกขั้นตอนให้ครอบคลุม ตั้งแต่ต้นทางไปจนถึงปลายทาง โดยจะมีการซักถามผู้ที่ลักลอบเข้าเมืองอย่างละเอียดเพื่อเป็นข้อมูลขยายผลจับกุม

 

นอกจากนี้ยังต้องมีประสานความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านผ่านช่องทางต่างๆ ซึ่งถือเป็นพันธกิจหนึ่งของศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก จึงมั่นใจว่าจะได้รับความร่วมมือ กับประเทศเพื่อนบ้านในการแก้ปัญหาแรงงานผิดกฎหมาย ซึ่งทางการเมียนมาก็มีมาตรการเข้มงวดในเรื่องนี้เช่นกัน

 

ทั้งนี้เชื่อว่า การจัดทำบันทึกข้อตกลง หรือ MOU เปิดทางให้แรงงานจากเมียนมา กัมพูชาและลาว เข้ามาในประเทศไทย เพราะเชื่อว่าจะทำให้สถานการณ์ลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายเบาลง แต่ทางนี้ก็ต้องรอการประเมินอีกครั้งตั้งแต่ 1 ธันวาคม เป็นต้นไป

 

สำหรับการสกัดกั้นการกระทำผิดกฎหมาย ตามที่ทาง สภาความมั่นคงแห่งชาติ ได้กำหนดการ สกัดกั้น 3 แนวทาง กล่าวคือ แนวที่ 1 บริเวณแนวชายแดน (พื้นที่ต้นน้ำ), แนวที่ 2 พื้นที่หมู่บ้านชายแดน (พื้นที่กลางน้ำ) และ แนวที่ 3 พื้นที่ตอนใน (พื้นที่ปลายน้ำ) แนวที่ 1 บริเวณแนวชายแดน หรือ พื้นที่ต้นน้ำ ฉก.จงอางศึก และ ตชด. เป็นหน่วยรับผิดชอบหลัก

 

โดยมีการดำเนินการ คือ 1.จัดตั้งจุดตรวจ แบบประจาที่ ตลอด 24 ชั่วโมง จำนวน 15 จุด และ จุดเฝ้าตรวจแบบไม่ประจำ และ 2.วางเครื่องกีดขวางปิดกั้น เช่น รั้วลวดหนาม, ประตูเหล็ก, ไม้ไผ่ (ขวาก) ทั้งในช่องทางหลัก จานวน 34 ช่องทาง และช่องทางธรรมชาติ จำนวน 8 ช่องทาง ที่ได้ร่วมบูรณาการจัดสร้างขึ้น ตั้งแต่เมื่อปี 2563

การเสริมระบบส่องสว่าง (ไฟโซล่าเซลล์) เพื่อการเฝ้าตรวจ จำนวน 5 จุดสำคัญ รวมถึง ติดตั้งกล้องวงจรปิด (แบบโซล่าเซลล์) แบบประจำ จำนวน 8 จุด (แบบซิมการ์ด 4 / แบบไม่มีซิมการ์ด ) และ กล้องวงจรปิด (แบบแบตเตอรี่) แบบเคลื่อนที่ จำนวน 2 จุด (แบบซิมการ์ด)

 

โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติ ต่อผู้ลักลอบหลบหนีเข้าเมือง ตามที่ กองกำลังสุรสีห์ ได้กำหนดขึ้น การจับกุม ผู้ลักลอบหลบหนีเข้าเมือง ในบริเวณ แนวที่ 1

 

กรณีไม่พบผู้นำพา จะทำการตรวจวัดอุณหภูมิ/ซักถาม/จัดทำประวัติ พร้อมชี้แจง (ปจว./ปชส.) ทำความเข้าใจถึงสาเหตุของการดำเนินการ และสภาพสถานการณ์ในปัจจุบัน ก่อนการประสาน เจ้าหน้าที่เมียนมา เพื่อส่งกลับมาตุภูมิ ตามช่องทางธรรมชาติที่ใกล้ที่สุด

ข่าวที่เกี่ยวข้อง