กกต.จับตาเลือกสว."อิทธิพร" ลั่นคาดโทษฮั้วโหวต
นายอิทธิพร บุญประคอง ประธานกรรมการการเลือกตั้ง หรือ ประธาน กกต.กล่าวถึงขั้นตอนการเลือก สว.ระดับประเทศ โดยย้ำว่า ผู้สมัครไม่สามารถโพยจดหมายเลขการลงคะแนนให้กับผู้สมัครอื่นเข้าไปในการลงคะแนนได้ แต่ทาง กกต.จะมีเอกสารแนะนำตัวสมัคร หรือ สว.3 เป็นคู่มือให้กับผู้สมัคร สามารถนำไปเป็นข้อมูลประกอบการลงคะแนนได้ ทั้งในแบบการเลือกกันเอวในกลถ่มอาชีพ และการเลือกไขว้ข้ามกลุ่ม รวมถึงในระหว้างการจับฉลากแบ่งสายเลือกไขว้ข้ามกลุ่ม ก็จะมีช่วงเวลาพักให้ผู้สมัคร สามารถทำความรู้จักกันได้ และสามารถนำเอกสารดังกล่าวเข้าไปในคูหาได้
ส่วนกรณีที่นายสมชาย แสวงการ สมาชิกวุฒิสภา ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา ส่งหนังสือด่วนที่สุดถึงประธาน กกต.ให้ตรวจสอบคุณสมบัติผู้สมัครที่ไม่ตรงกับความเป็นจริงนั้น ประธาน กกต.ชี้แจงว่า การรับรองคุณสมบัตินั้น ผู้สมัครจะต้องรับรองความรู้ และความเชี่ยวชาญของตนเองไม่น้อยกว่า 10 ปี และต้องมีผู้รับรองอีกชั้นหนึ่งด้วย โดยนำเอกสารการรับรองดังกล่าว มาให้ผู้อำนวยการเลือกในระดับอำเภอตรวจสอบ หากไม่มีข้องสงสัย ก็สามารถรับสมัครได้ แต่หากพบภายหลังว่า คุณสมบัติไม่เป็นความจริง ผู้สมัคร และผู้รับรองก็จะมีความผิด และหากเองว่า การใช้ข้อมูลพยานหลักฐานเป็นเท็จก็ต้องดำเนินคดีด้วย
ส่วนกรณีกระแสข่าวผู้สมัครจับกลุ่มฮั้วกันโดยพักที่โรงแรมที่เดียวกันนั้น ประธาน กกต.ยอมรับว่า สามารถมองได้ 2 ทาง เนื่องจากเป็นเรื่องปกติ ที่การจัดให้มีการเลือกระดับประเทศที่เดียวกันที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี ผู้สมัครอาจจะพักที่เดียวกัน เพื่อความสะดวก แต่การรวมกลุ่มก็ถือเป็นสิ่งต้องสงสัย กกต.ก็มีการติดตาม ความเคลื่อนไหว และระมัดระวัง หากพบพยานหลักฐานชัดเจน จนนำไปสู่การจับกุมได้ กกต.ก็จะดำเนินการ และขอให้ประชาชน ที่มีหลักฐาน ได้ส่งหลักฐานมายัง กกต.เพื่อช่วยกัน และ กกต.ไม่อยากละเลยการทำหน้าที และในอีกมุมหนึ่ง กฎหมายเปิดช่องให้ผู้สมัคร แนะนำตัวกันได้อย่าวกว้าวขวาง ตามคำวินิจฉัยศาลปกครอง จึงถือเป็นธรรมชาติของผู้สมัคร ที่หาโอกาสพบกัน แต่ยืนยันว่า กกต.ก็มีสายข่าว และมีการป้องปรามการกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมายการล็อบบี้ต่าง ๆ
ประธาน กกต.ยังยืนยันว่า กระบวนการเลือก สว.ครั้งนี้ เป็นไปตามกฎหมาย และทีมสนับสนุน ก็ทำงานด้วยความตั้งใจปฏิบัติตามกฎหมาย ส่วนประเด็นที่ยังไม่มีความชัดเจน กกต. ก็ได้ขอให้สำนักงานจังหวัด ให้คำแนะนำแก่ผู้สมัครตั้งแต่ระดับเภอ หรือรวมถึงในกรณีที่ผู้สมัครเห็นว่า การนับคะแนนไม่ถูกต้อง ก็สามารถทักท้วงระหว่างการนับคะแนนได้ หากกรรมการตรวจนับคะแนน ชี้แจงแล้วยังไม่เป็นที่พอใจ ผู้สมัคร ก็สามารถเขียนคำร้องมายัง กกต.เพื่อวินิจฉัยอีกครั้งจากหลักฐาน และกล้องวงจรปิด หากพบว่า การโต้แย้งของผู้สมัครถูกต้อง ก็จะให้มีการลงคะแนนใหม่ หรือนับคะแนนใหม่ และการนับคะนน และการขานคะแนน ตนเอง ก็ได้กำชับเจ้าหน้าที ให้ดำเนินการช้า ๆ ชัด ๆ ขานคะแนนให้ชัดเจน เพื่อความโปร่งใส ยึดระเบียบ ไม่ใช้ดุลยพินิจตามอำเภอใจ
ที่มาข่าว:TNN
ที่มาภาพ:TNN