รีเซต

เช็คเงินประกันรายได้ข้าวปี 65/66 เงินช่วยเหลือเกษตรกร ไร่ละ 1,000 บาท โอนเงินแล้ว

เช็คเงินประกันรายได้ข้าวปี 65/66 เงินช่วยเหลือเกษตรกร ไร่ละ 1,000 บาท โอนเงินแล้ว
Ingonn
29 พฤศจิกายน 2565 ( 07:18 )
27K
3

เช็คเงินประกันรายได้ข้าว 65/66 และเงินช่วยเหลือเกษตรกร ไร่ละ 1,000 บาท ธ.ก.ส.โอนเงินเกษตรกร เข้าบัญชีแล้ว เช็คเงินประกันราคาข้าว ปี 65/66 และจังหวัดไหนบ้างที่ได้เงิน ธ.ก.ส. โอนเข้าบัญชีเกษตรกร

 

เช็คเงินประกันรายได้ข้าว 2565/66 

โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66 หรือ ประกันรายได้ข้าว ปี 4 ธ.ก.ส. จะโอนเงินประกันราคาข้าว ปี 65/66 ล่าสุด เข้าบัญชีของเกษตรกร สำหรับเกษตรกรที่แจ้งวันเก็บเกี่ยวก่อนวันที่ 15 ตุลาคม 2565 ถึงวันที่ 18 พฤศจิกายน 2565 ครอบคลุมกลุ่มเกษตรกร 73% ของเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร โดยมีราคาเกณฑ์ กลางอ้างอิงและส่วนต่างการชดเชยสำหรับเกษตรกรที่แจ้งเก็บเกี่ยวในแต่ละงวด สำหรับในงวดที่ 7 - งวดที่ 33 ก็จะประกาศทุก 7 วัน ขอให้ติดตามการประกาศราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงได้ที่ เว็บไซต์กรมการค้าภายใน www.dit.go.th หรือเพจเฟซบุ๊ก กรมการค้าภายใน DIT วิทยุชุมชน หรือเสียงตามสาย

 

เช็คเงินประกันราคาข้าวปี 65/66 ล่าสุด

ธ.ก.ส. จะโอนเงินประกันราคาข้าว ปี 65/66 ล่าสุด  งวดที่ 1-6 สำหรับเกษตรกรที่แจ้งวันเก็บเกี่ยวก่อนวันที่ 15 ตุลาคม 2565 ถึงวันที่ 18 พฤศจิกายน 2565ืรายละเอียดดังนี้

  1. งวดที่ 1 เก็บเกี่ยวก่อน 15 ตุลาคม 2565

    • ข้าวเปลือกหอมมะลิ ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ข้าวเปลือกปทุมธานี ไม่ต้องจ่าย เพราะราคาสูงกว่าที่ประกันรายได้

    • ข้าวเปลือกเจ้า ราคา 9,583.20 บาทต่อตัน ชดเชยตันละ 416.80 บาท ได้รับเงินสูงสุด 12,504 บาท มีเกษตรกรได้รับเงิน 453,887 ครัวเรือน

    • ข้าวเปลือกเหนียว ราคา 11,140.10 บาทต่อตัน ชดเชยตันละ 859.90 บาท ได้รับเงินสูงสุด 13,758.40 บาท มีเกษตรกรได้รับเงิน 50,443 ครัวเรือน 




  2. งวดที่ 2 เก็บเกี่ยว 15 - 21 ตุลาคม 2565

    • ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคา 15,401.02 บาทต่อตัน

    • ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคา 14,514.52 บาทต่อตัน

    • ข้าวเปลือกปทุมธานี ราคา 11,357.06 บาทต่อตัน ไม่ต้องจ่าย เพราะราคาสูงกว่าที่ประกันรายได้

    • ข้าวเปลือกเจ้า ราคา 9,555.32 บาทต่อตัน ชดเชยตันละ 444.68 บาท ได้รับเงินสูงสุด 13,340.40 บาท มีเกษตรกรได้รับเงิน 49,175 ครัวเรือน

    • ข้าวเปลือกเหนียว ราคา 11,606.47 บาทต่อตัน ชดเชยตันละ 393.53 บาท ได้รับเงินสูงสุด 6,296.48 บาท มีเกษตรกรได้รับเงิน 57,620 ครัวเรือน




  3. งวดที่ 3 เก็บเกี่ยว 22 - 28 ตุลาคม 2565

    • ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคา 15,450.84 บาทต่อตัน

    • ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคา 14,518.91 บาทต่อตัน

    • ข้าวเปลือกปทุมธานี ราคา 11,304.50 บาทต่อตัน ไม่ต้องจ่าย เพราะราคาสูงกว่าที่ประกันรายได้

    • ข้าวเปลือกเจ้า ราคา 9,551.88 บาทต่อตัน ชดเชยตันละ 448.12 บาท ได้รับเงินสูงสุด 13,443.60 บาท มีเกษตรกรได้รับเงิน 30,138 ครัวเรือน

    • ข้าวเปลือกเหนียว ราคา 11,719.40 บาทต่อตัน ชดเชยตันละ 280.60 บาท ได้รับเงินสูงสุด 4,489.60 บาท มีเกษตรกรได้รับเงิน 36,047 ครัวเรือน




  4. งวดที่ 4 เก็บเกี่ยว 29 ตุลาคม – 4 พฤศจิกายน 2565

    • ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคา 15,385.04 บาทต่อตัน

    • ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคา 14,001.46 บาทต่อตัน

    • ข้าวเปลือกปทุมธานี ราคา 11,143.90 บาทต่อตัน ไม่ต้องจ่าย เพราะราคาสูงกว่าที่ประกันรายได้

    • ข้าวเปลือกเจ้า ราคา 9,532.63 บาทต่อตัน ชดเชยตันละ 467.37 บาท ได้รับเงินสูงสุด 14,021.10 บาท มีเกษตรกรได้รับเงิน 50,472 ครัวเรือน

    • ข้าวเปลือกเหนียว ราคา 11,982.94 บาทต่อตัน ชดเชยตันละ 17.06 บาท ได้รับเงินสูงสุด 272.96 บาท มีเกษตรกรได้รับเงิน 120,666 ครัวเรือน




  5. งวดที่ 5 เก็บเกี่ยว 5 - 11 พฤศจิกายน 2565
     

    • ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคา 15,009.64 บาทต่อตัน

    • ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคา 14,197.71 บาทต่อตัน

    • ข้าวเปลือกเหนียว ราคา 12,225.53 บาทต่อตัน ไม่ต้องจ่าย เพราะราคาสูงกว่าที่ประกันรายได้

    • ข้าวเปลือกปทุมธานี ราคา 10,874.04 บาทต่อตัน ชดเชยตันละ 125.96 บาท ได้รับเงินสูงสุด 3,149 บาท มีเกษตรกรได้รับเงิน 6,268 ครัวเรือน

    • ข้าวเปลือกเจ้า ราคา 9,467.85 บาทต่อตัน ชดเชยตันละ 532.15 บาท ได้รับเงินสูงสุด 15,964.50 บาท มีเกษตรกรได้รับเงิน 53,964 ครัวเรือน




  6. งวดที่ 6 เก็บเกี่ยว 12 - 18 พฤศจิกายน 2565  โอนพร้อมกันทั่วประเทศ วันที่ 24 พฤศจิกายน 2565

    • ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคา 14,140.32 บาทต่อตัน

    • ข้าวเหนียว ราคา 12,188.36 บาทต่อตัน ไม่ต้องจ่าย เพราะราคาสูงกว่าที่ประกันรายได้
    • ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคา 14,603.47 บาทต่อตัน ชดเชยตันละ 396.53 บาท ได้รับเงินสูงสุด 5,551.42 บาท มีเกษตรกรได้รับเงิน 856,336 ครัวเรือน
    • ข้าวเปลือกปทุมธานี ราคา 10,556.81 บาทต่อตัน ชดเชยตันละ 433.19 บาท ได้รับเงินสูงสุด 10,829.75 บาท มีเกษตรกรได้รับเงิน 5,149 ครัวเรือน

    • ข้าวเปลือกเจ้า ราคา 9,370.09 บาทต่อตัน ชดเชยตันละ 629.91 บาท ได้รับเงินสูงสุด 18,897.30 บาท มีเกษตรกรได้รับเงิน 47,176 ครัวเรือน



 

เงินช่วยเหลือเกษตรกร ไร่ละ 1,000 บาท

โครงการจ่ายเงินช่วยเหลือเกษตรกรค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าวการปีการผลิต 2565/66 (โครงการไร่ละ 1,000 บาท) เป็นเงินช่วยเหลือเกษตรกร ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 20 ไร่ หรือไม่เกิน 20,000 บาทต่อครัวเรือน 

 

เงินเกษตรกร ไร่ละ 1,000 บาท เข้าวันไหน

 

เช็คเงินประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2565/66

  1. เข้าเว็บไซต์ chongkho.inbaac.com
  2. กรอกเลขบัตรประจำตัวประชาชน พร้อมกดค้นหา
  3. สำหรับผู้ที่ได้รับเงินระบบจะขึ้นข้อมูลว่า "โอนเงินเรียบร้อยแล้ว" โดยจะแสดงชื่อโครงการ, เลขที่บัญชี, วันที่โอน, สาขา ธ.ก.ส. และสถานะ

 

ทั้งนี้ การเช็คเงินประกันรายได้ข้าว 2564 หากผู้ที่ไม่ใช่เกษตรกรตรวจสอบระบบจะขึ้นข้อมูลว่า "ไม่พบข้อมูลการลงทะเบียน (โปรดติดต่อหน่วยงานที่รับขึ้นทะเบียนเกษตรกรตามชนิดพืชที่ได้รับสิทธิตามโครงการ)"

 

กรณีที่ลูกค้าสมัครใช้บริการ BAAC Connect สามารถแจ้งเตือนเงินเข้าบัญชีผ่าน LINE Official BAAC Family หรือดาวน์โหลด แอปพลิเคชัน ธ.ก.ส. A-Mobile ตลอด 24 ชั่วโมง 

 

ทั้ง 2 โครงการพร้อมโอนงวดแรก วันที่ 24 พฤศจิกายน 2565 และเกษตรกรสามารถตรวจสอบผลการโอนเงินได้ทางแอปพลิเคชั่น ธ.ก.ส. A-Mobile และ A-Mobile Plusตลอด 24 ชั่วโมงและจะมีข้อความแจ้งเตือนเงินเข้าบัญชีผ่าน LINE Official BAAC Family กรณีที่ลูกค้าสมัครใช้บริการ BAAC Connect รวมถึงสามารถเบิกถอนเงินสดผ่านตู้ ATM ของ ธ.ก.ส. ทั่วประเทศ

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.

คลิกเลย >>> TrueID Community <<<

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง