รีเซต

พิษโควิด! กรุงไทยหั่นจีดีพีเหลือ 0.5% บนเงื่อนไขรัฐต้องใส่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเต็มสูบ

พิษโควิด! กรุงไทยหั่นจีดีพีเหลือ 0.5% บนเงื่อนไขรัฐต้องใส่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเต็มสูบ
ข่าวสด
14 กรกฎาคม 2564 ( 14:59 )
31
พิษโควิด! กรุงไทยหั่นจีดีพีเหลือ 0.5% บนเงื่อนไขรัฐต้องใส่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเต็มสูบ

 

ศูนย์วิจัยกรุงไทยหั่นจีดีพีเหลือ 0.5% - มอง ไตรมาส 4 รัฐเข็นสารพัดมาตรการกระตุ้นจับจ่าย-ชี้ระดับหนี้สาธารณะยังไม่น่ากังวล

 

 

พิษโควิดกรุงไทยหั่นจีดีพี - นายพชรพจน์ นันทรามาศ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ศูนย์วิจัย กรุงไทย คอมพาส ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ล่าสุดได้ปรับคาดการณ์เศรษฐกิจไทย (จีดีพี) ปี 2564 จะเติบโตลดลงเหลือ 0.5-1.3% จากเมื่อเดือนพ.ค. ที่คาดการณ์ว่าจะอยู่ที่ระดับ 0.8-1.6% เป็นผลจากตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 สูงกว่าที่ธนาคารประมาณการไว้มากพอสมควร มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจค่อนข้างรุนแรงกว่าที่คาดการณ์ และคาดว่าการระบาดระลอกนี้ น่าจะมีผลกระทบอย่างมากต่อเศรษฐกิจไปถึงเดือนก.ย. เป็นอย่างต่ำ จากเดิมที่คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะเริ่มกลับมาฟื้นตัวได้ดีในเดือนส.ค. และคาดหวังว่าในเดือนต.ค.ปีนี้ เศรษฐกิจไทยน่าจะกลับมาฟื้นตัวได้

 

 

 

ทั้งนี้ การคาดการณ์จีดีพีดังกล่าว อยู่บนสมมติฐานว่าภาครัฐจะต้องใส่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมเข้าในช่วงหลังจากนี้ เนื่องจากมาตรการที่มีอยู่ในปัจจุบันยังไม่เพียงพอ เพราะผลกระทบต่อเศรษฐกิจสูงกว่าที่คาดไว้ค่อนข้างมาก เพียงแต่อาจต้องรอให้สถานการณ์โควิด-19 ดีขึ้น หรือช่วงไตรมาส 4 ที่คาดหวังว่าภาครัฐจะมีมาตรการสนับสนุนให้ประชาชนออกมาจับจ่ายใช้สอย ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มเงินมาตรการคนละครึ่งจาก 3,000 บาท เป็น 6,000 บาท หรือมาตรการเราชนะ ที่จะช่วยให้เกิดบรรยากาศของการจับจ่ายใช้สอย รวมถึงมาตรการเราเที่ยวด้วยกัน ที่ได้รับความนิยมมากในปีที่แล้ว ซึ่งถ้าเป็นไปตามที่ธนาคารคาดการณ์ โดยประมาณเดือนก.ย.นี้ สามารถควบคุมการระบาดของโควิด-19 ได้ และในเดือนต.ค. เริ่มเปิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้ ก็คาดว่าหลายๆ มาตรการของภาครัฐจะต้องเริ่มนำมาใช้ เพื่อให้เศรษฐกิจขับเคลื่อนต่อไปได้ในไตรมาส 4

 

 

ขณะที่ประเมินภาคการส่งออกไทยในปีนี้กลับมาฟื้นตัวได้ดีอย่างแข็งแกร่ง ทำให้ธนาคารอยู่ระหว่างพิจารณาปรับประการณ์ภาคการส่งออกของไทยในปีนี้อาจจะเติบโตได้มากกว่า 10% เนื่องจากเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวแล้ว ส่วนในปี 2565 ประเมินการส่งออกไทยยังเติบโตต่อเนื่องที่ 7-8%

 

 

นายพชรพจน์ ยังกล่าวถึงเพดานหนี้สาธารณะของไทย ที่ระดับใกล้ 60% ในปัจจุบัน มองว่ายังไม่น่ากังวล เพราะยังต่ำกว่าหลายประเทศที่อยู่ในระดับเดียวกัน และต่ำกว่ามากเมื่อเทียบกับประเทศพัฒนาแล้ว และด้วยสถานการณ์ปัจจุบันประเทศไทยมีความจำเป็นที่จะต้องใช้มาตรการทางการคลังโดยให้ภาครัฐเข้ามาพยุงเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้น แต่อย่างไรก็ดีภาครัฐเองก็ต้องมีแผนบริหารจัดการหนี้สาธารณะในระยะยาว เพื่อสร้างความเขื่อมั่นให้กับให้กับนักลงทุนต่างประเทศ ในการลงทุนพันธบัตรรัฐบาลของไทยในอนาคต

 

 

ศูนย์วิจัยธนาคารกรุงไทย ยังมีมุมมองต่อธุรกิจเกษตรและอาหารของไทยในระยะถัดไป ด้วยว่าโจทย์ใหญ่ คือ การรับมือกับมาตรฐานและกฎระเบียบทางการค้าใหม่ๆ โดยเฉพาะข้อกำหนดในการตรวจสอบย้อนกลับอาหาร หรือ Food Traceability ที่เข้มข้นขึ้น แนะผู้ประกอบการ 4 กลุ่มหลัก ซึ่งมีมูลค่าส่งออกรวมกันกว่า 159,000 ล้านบาทต่อปี ได้แก่ สินค้าปศุสัตว์ ประมง อาหารสัตว์ และสินค้าผักและผลไม้ โดยสินค้าเหล่านี้มักถูกจับตาในเรื่องมาตรฐานความปลอดภัยในสินค้า และยังเป็นกลุ่มสินค้าที่พึ่งพาตลาดสหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นตลาดที่ให้ความสำคัญกับระบบการตรวจสอบย้อนกลับอาหารค่อนข้างมาก ดังนั้นผู้ประกอบการควรเริ่มจากการจัดเก็บข้อมูลที่จำเป็นตลอดห่วงโซ่การผลิตในรูปแบบดิจิทัลเพื่อช่วยให้การตรวจสอบย้อนกลับอาหารทำได้ง่ายขึ้น อาทิ ข้อมูลแหล่งผลิตฟาร์มและเพาะเลี้ยง ชนิดพันธุ์พืชหรือพันธุ์สัตว์ ปริมาณการใช้สารเคมีและยาฆ่าแมลง ข้อมูลการแปรรูป

ข่าวที่เกี่ยวข้อง