รีเซต

คนฮ่องกงยอมตาย! ไม่ฉีดวัคซีนโควิด เพราะไม่เชื่อใจรัฐบาล ปกปิดข้อมูล

คนฮ่องกงยอมตาย! ไม่ฉีดวัคซีนโควิด เพราะไม่เชื่อใจรัฐบาล ปกปิดข้อมูล
TNN World
17 พฤษภาคม 2564 ( 10:38 )
333

Editor’s Pick: คนฮ่องกงล้วนไม่ศรัทธาในวัคซีน ท่ามกลางข่าวลือมากมายจากความล้มเหลวในการสื่อสารของภาครัฐ 
ฝั่งผู้เชี่ยวชาญเสนอ รัฐบาลควรให้ข้อมูลที่แท้จริง เพราะตอนนี้ประชาชนเข้ารับการฉีดวัคซีนน้อยลงเรื่อย ๆ

 


คุมระบาดดี แต่ฉีดวัคซีนได้น้อยมาก
เป้าหมายการฉีดวัคซีนให้ทั่วถึงของฮ่องกงยังคงห่างไกล ความไม่ไว้วางใจของประชาชนที่มีต่อรัฐบาล และความหวาดกลัวเกี่ยวกับความปลอดภัยของวัคซีน ทำให้ชาวฮ่องกงยังอยู่กับที่ 


ตั้งแต่แคมเปญการฉีดวัคซีน เมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา มีเพียง 1.1 ล้านคน จากประชากรในเมือง 7.5 ล้านคนที่ได้รับวัคซีนโดสแรก รวมกับอีกเกือบ 720,000 คนที่ได้รับแล้วสองโดส 


ทั้งนี้ ประชากรน้อยกว่า 15% ที่ได้รับอย่างน้อย 1 โดส ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์และสื่อ ต่างบอกว่า ฮ่องกงต้องปรับปรุงกลยุทธ์การสื่อสาร เพื่อที่จะแก้ไขความเข้าใจผิด และความกลัวของประชาชนที่มีต่อวัคซีน 

 

 


การสื่อสารมีผลอย่างมากต่อการฉีดวัคซีน
พวกเขากล่าวว่า การรับส่งข้อมูลจากคนใหญ่คนโต ไปถึงคนรากหญ้า ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาเชิงลึก ภายใต้การปกครองที่อ่อนแอ ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้


คิมมี่ เชง อาจารย์สาขาวิชาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแบพติสต์ บอกว่า รัฐบาลล่าช้าไปมากเกี่ยวกับการให้ข้อมูลด้านบวกของวัคซีน และเสนอตัวเลือกวัคซีนอื่น ๆ ให้กับชาวฮ่องกง

 

“ในแง่ของการสื่อสาร นี่เป็นหายนะ เพราะรัฐปล่อยให้ข่าวลือ และข่าวปลอมเกาะติดห้วงความคิดของประชาชนไปแล้ว มันยากมากที่จะลบข้อมูลผิด ๆ พวกนี้ออก และสร้างชุดข้อมูลใหม่มาแทน” เธอกล่าว

 

 

 

ประชาชนเข้าฉีดวัคซีนน้อยลงเรื่อย ๆ 


สำหรับการฉีดวัคซีนให้ประชาชน ฮ่องกงอนุมัติวัคซีนของ Sinovac และ Pfizer เท่านั้น โดยต้องฉีดทั้งสิ้น 2 โดส
การฉีดวัคซีนเริ่มเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ครอบคลุมประชาชน 6.5 ล้านคน อายุตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไป ทั้งชาวฮ่องกงและชาวต่างชาติ รวมถึงคนงานต่างชาติเกือบ 400,000 คน โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ตอนแรกมีเพียงแค่ Sinovac เท่านั้น และมีความกังวลเกี่ยวกับวัคซีนนี้ตั้งแต่เริ่ม เกี่ยวกับประสิทธิภาพการทำงาน การฉีดวัคซีนเริ่มคึกคักเมื่อวัคซีนของ Pfizer ปล่อยออกในวันที่ 10 มีนาคมที่ผ่านมา ทำให้มีตัวเลือกวัคซีนมากขึ้น


ความกังวลเกี่ยวกับวัคซีนที่ผลิตในจีนแผ่นดินใหญ่ เพิ่มขึ้นเมื่อมีเหตุฉุกเฉินทางการแพทย์จากคนที่เข้ารับวัคซีนดังกล่าว หลังจากนั้น การปล่อยวัคซีน Pfizer จึงเลื่อนออกไป 12 วัน จากเดิมวันที่ 24 มีนาคม หลังพบว่ามีขวดที่ไม่สมบูรณ์มากกว่า 50 ชิ้น
อัตราการฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เมื่อประชาชนที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไป มีสิทธิ์เข้ารับวัคซีนตั้งแต่วันที่ 23 เมษายนที่ผ่านมา แต่หลังจากนั้นกลับมีการผันผวน แม้จะมีแรงจูงใจจากรัฐ สำหรับผู้ที่ได้รับวัคซีนครบถ้วนแล้วก็ตาม

 

 

 

มาตราการกระตุ้นการฉีดวัคซีน


เมื่อเดือนที่แล้ว ผอ.แคร์รี แลม ได้เผยกลยุทธ์ “vaccine bubble” ควบคุมการแพร่ระบาดสำหรับร้านอาหารและบาร์ และกิจการอื่น ๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับสถานการณ์ฉีดวัคซีนของเจ้าของ และพนักงานในสถานที่นั้น ๆ 


ปกติแล้ว คนที่ได้รับวัคซีนจะสามารถทานอาหารข้างนอกได้ ไม่เกิน 6-8 คน และธุรกิจที่พนักงานได้รับวัคซีนแล้ว ได้รับอนุญาตให้แยกเป็นโซนต่าง ๆ เพื่อรองรับลูกค้าได้มากขึ้น และสามารถให้บริการได้ถึงเที่ยงคืน แต่ไม่เกินตีสอง


เนื่องจากกฎระเบียบมีหลายขั้นตอน รวมถึงมีการตรวจสอบสถานะการฉีดวัคซีนของลูกค้า ผลคือเจ้าของร้านพบความยุ่งยาก เกินกว่าจะจัดการได้ ชาวเน็ตฮ่องกงปล่อยมุกขำ ๆ ว่า ครอบครัวจะกินข้าวด้วยกันได้ยังไง ถ้ามีบางคนฉีดวัคซีน แล้วบางคนยังไม่ได้ฉีด
ฮ่องกงอาจเปิดให้เดินทางอีกครั้ง ด้วย Travel Bubble ที่ไม่ต้องกักตัว ระหว่างฮ่องกงและสิงคโปร์ คาดว่าจะเริ่มในวันที่ 26 พฤษภาคมที่จะถึงนี้ คนที่ได้รับการฉีดวัคซีนครบแล้ว อาจมีช่วงกักตัวสั้นลง หากพวกเขากลับจากต่างประเทศ หรืออยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยโควิด-19

 

 

 

ความเข้าใจผิด และข้อมูลไม่ครบถ้วน


ศาสตราจารย์เคจิ ฟุคุดะ หัวหน้าคณะวิชาสาธารณสุข มหาวิทยาลัยฮ่องกง และที่ปรึกษาการระบาดของโรคของรัฐบาล อธิบายว่า แรงจูงใจของรัฐบาลมีความสมเหตุสมผล เนื่องจากผู้ที่ได้รับวัคซีนมีโอกาสค่อนข้างน้อยที่จะติดเชื้อ และแพร่กระจายโรค ดังนั้น จึงสมควรได้รับ “ผลประโยชน์จากการฉีดวัคซีน"


"คนส่วนใหญ่ไม่เข้ารับการฉีดวัคซีนเพราะความกลัว และข้อมูลผิด ๆ ที่ได้รับ" ฟุคุดะกล่าวว่า "ประชาชนกลัวผลข้างเคียง อย่างปัญหาร้ายแรง เช่น โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง"


จากการสำรวจครั้งล่าสุดของสมาคมสิทธิผู้ป่วย พบว่า เกือบ 9 ใน 10 จากประชาชน 718 คนที่ทำการสำรวจ ต่างบอกว่าโครงการ vaccine bubble ไม่ได้จูงใจให้พวกเขาเข้ารับวัคซีนเลยด้วยซ้ำ 


กว่า 240 คนบอกว่า พวกเขาตัดสินใจไม่ฉีดวัคซีน โดยอ้างถึงการทดสอบวัคซีนที่ยังไม่สามารถตอบโจทย์เรื่องความปลอดภัยได้มากพอ หรือจะเป็นรายงานผลกระทบจากคนที่ได้รับวัคซีน ที่มีอาการปวดหัว หรือแม้กระทั่งอาจติดเชื้อหลังจากฉีดวัคซีน

 

 

 

รัฐบาลควรให้ข้อมูลที่สร้างความมั่นใจแก่ประชาชน


รายงานเกี่ยวกับคนที่เกิดอาการชาบริเวณใบหน้า หลังฉีดวัคซีน อาจทำให้คนอื่นไม่อยากเข้ารับการฉีดวัคซีน แต่เราจำเป็นต้องรู้ว่า ไม่ใช่ทุกคนที่จะเกิดอาการเช่นนั้น


ศาสตราจารย์มาร์ติน วอง ชิ-แซง จากมหาวิทยาลัยจีน (CUHK) กล่าวว่า "รัฐบาลควรให้ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนคนที่ปกติและแข็งแรงดี หลังจากได้รับการวัคซีน" เขาเสริมว่า โอกาสที่จะป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมอง หรืออาการอัมพาตบนใบหน้าของผู้ที่ได้รับวัคซีนนั้น ต่ำกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน

 


—————
เรื่อง: พัชรี จันทร์แรม

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง