รีเซต

สธ.ยืนยัน ดื่มสุรา เพิ่มเสี่ยงโควิด-19 สูงกว่าคนปกติ 7 เท่า!

สธ.ยืนยัน ดื่มสุรา เพิ่มเสี่ยงโควิด-19 สูงกว่าคนปกติ 7 เท่า!
มติชน
18 พฤษภาคม 2563 ( 16:49 )
270
สธ.ยืนยัน ดื่มสุรา เพิ่มเสี่ยงโควิด-19 สูงกว่าคนปกติ 7 เท่า!

สธ.ยืนยัน ดื่มสุรา เพิ่มเสี่ยงโควิด-19 สูงกว่าคนปกติ 7 เท่า!

เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม ที่ กระทรวงสาธารณสุข พญ.พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์ ผู้ทรงคุณวุฒิกรมสุขภาพจิต กล่าวถึงสถานการณ์และผลกระทบพฤติกรรมการดื่มสุราในช่วงวิกฤตโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19

พญ.พันธุ์นภา กล่าวว่า ลักษณะพฤติกรรมการดื่มสุราของประชาชนคนไทย ร้อยละ 60 ไม่ดื่ม สุรา และกลุ่มที่ดื่มสุราก็จะมีหลายรูปแบบ แต่มีความน่าเป็นห่วงในกลุ่มผู้ที่ดื่มเป็นครั้งคราวแต่มีความเสี่ยงในพฤติกรรม เช่น ดื่มสุราแล้วไปขับรถ กลุ่มที่ดื่มแล้วส่งผลต่อสุขภาพ เช่น ปัญหาในการทำงาน ปัญหาต่อตนเองและสังคม ซึ่งคนกลุ่มนี้ยังไม่ได้รับการดูแลช่วยเหลือ

พญ.พันธุ์นภา กล่าวว่า ความสำคัญของปัญหาคือ 1. พฤติกรรมดื่มสุราก่อให้เกิดการสูญเสียปีสุขภาวะจากภาวะบกพร่องทางสุขภาพ(YLD) เป็นอันดับ 1 ในเพศชาย โดยเฉพาะในช่วงวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ตอนต้น 2.คนไทยอายุ 18 ปีขึ้นไป มีปัญหาพฤติกรรมดื่มสุรา (alcohol use disorders) 2.7 ล้านคน ที่จะต้องเข้าพบแพทย์ ดื่มแบบอันตรายต่อสุขภาพ/ผู้อื่น(alcohol abuse) 1.8 ล้านคน ดื่มแบบติด(alcohol dependence) 9 แสนคน 3.ฐานข้อมูลของ สธ. มีผู้มีปัญหาการดื่มสุราเข้ารับการรักษาเพียง 265,540 คน คือ มีผู้ได้รับบริการจริงเพียงร้อยละ 9.83 แสดงว่า มีผู้ที่มีปัญหาการดื่มสุราอีกจำนวนมากที่ยังไม่ได้รับการดูแลรักษา

“ความเสี่ยงของการติดเชื้อโควิด-19 ของผู้ดื่มสุรา ในผู้ที่ดื่มสุราจะทำให้ภูมิคุ้มกันลดลง การทำงานของเม็ดเลือดขาวเสียไป ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ 3-7 เท่า และในผู้ที่เป็นโรคปอดบวมจะมีโอกาสเข้าห้องไอซียูมากกว่าผู้ปกติ 60% กลุ่มผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป การดื่มสุราเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อและเป็นหวัด 30% กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่ดื่มสุราเพิ่มความเสี่ยงการติดเชื้อในปอดของทารกถึง 2.9 เท่า ขอยืนยันว่ายังไม่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ใดระบุว่า การดื่มแอลกอฮอล์ช่วยป้องกันหรือฆ่าเชื้อไวรัสได้ ในทางกลับกันการดื่มสุรายิ่งทำให้ตับถูกทำลาย ลดภูมิต้านทานต่อเชื้อโรค เพิ่มความเสี่ยงและความรุนแรงของการติดเชื้อลดการตอบสนองต่อยารักษาภาวะติดเชื้อ โควิด-19” พญ.พันธุ์นภา กล่าว

นอกจากนี้ พญ.พันธุ์นภา กล่าวว่า ในช่วงที่ต้องกักตัวอยู่คนเดียว ไม่ควรดื่มสุราปริมาณมากหรือดื่มติดต่อกันเป็นเวลานาน เนื่องจากการดื่มมากเกินขนาด ทำให้มึนเมา หกล้ม บาดเจ็บ หรือ แอลกอฮอล์กดการหายใจจนหมดสติ และอาจถึงเสียชีวิตได้ เพราะไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง