รีเซต

รฟม. คลอดทีโออาร์รถไฟฟ้าสีส้ม ยันใช้เกณฑ์เดิมที่ถูกบีทีเอสฟ้อง เปิดรับฟังความเห็นถึง 19 มี.ค.

รฟม. คลอดทีโออาร์รถไฟฟ้าสีส้ม ยันใช้เกณฑ์เดิมที่ถูกบีทีเอสฟ้อง เปิดรับฟังความเห็นถึง 19 มี.ค.
ข่าวสด
3 มีนาคม 2564 ( 15:03 )
56

รฟม. คลอดเกณฑ์ประมูล รถไฟฟ้าสีส้ม รอบ 2 ยืนกรานใช้เกณฑ์เดิมที่ถูกบีทีเอสฟ้องร้อง เดินหน้าเปิดรับฟังความเห็นถึง 19 มี.ค. นี้

 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 2 มี.ค. ที่ผ่านมา นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย( รฟม.)ได้ออกประกาศเปิดรับฟังความคิดเห็นของภาคเอกชนประกอบการพิจารณาจัดทำร่างประกาศเชิญชวน ร่างเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชนและร่างสัญญาร่วมลงทุนตาม พ.ร.บ.การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) วงเงิน 1.4 แสนล้านบาท เพื่อเตรียมเปิดประมูลรอบที่ 2 หลังจากการประกาศยกเลิกประกวดราคารอบแรกไป

 

โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นบริษัทที่ดำเนินกิจการบริหารการเดินรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน สถาบันการเงิน ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายระบบรถไฟฟ้า บริษัทก่อสร้าง นักลงทุนภาคเอกชน และภาคเอกชนทั่วไปที่สนใจในโครงการทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยจะเปิดรับฟังความเห็นผ่านเวปไซต์ของ รฟม. mujhttps://www.mrta.co.th ตั้งแต่วันที่ 2 – 16 มี.ค. 64 และสามารถส่งทางอีเมล์ รฟม. (orlhearing@mrta.co.th) ตั้งแต่วันที่ 17 -19 มี.ค.64

 

สำหรับร่างเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชนร่วมทุน กำหนดให้เอกชนยื่นข้อเสนอจำนวน 4 ซอง ได้แก่ ซองที่ 1 ข้อเสนอด้านคุณสมบัติ, ซองที่ 2 ข้อเสนอด้านเทคนิค, ซองที่ 3 ข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทน และซองที่ 4 ข้อเสนออื่น ๆ

โดย จะเปิดข้อเสนอซองที่ 1 พิจารณาคุณสมบัติผู้ยื่นหากผ่านเกณฑ์ด้านคุณสมบัติ จะได้รับการพิจารณาข้อเสนอซองที่ 2 และ 3 ต่อเนื่อง

 

การพิจารณาซองที่ 2 ข้อเสนอด้านเทคนิค จะพิจารณาความสามารถของบุคลากรในการบริหารงาน ,ความสอดคล้องของเอกสารด้านเทคนิคโยธาและเทคนิคบริการการเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุงรักษา ส่วนซองที่ 3 ข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทนจะแบ่งการพิจารณาออกเป็น 2 หมวด คือ 1.ความน่าเชื่อถือและความครบถ้วนถูกต้อง และ 2.ผลตอบแทนทางการเงิน

 

“เกณฑ์ประมูลใหม่ครั้งนี้ จะมีการแบ่งเกณฑ์คะแนนประเมินข้อเสนอซองเทคนิค 30 คะแนน และซองข้อเสนอการลงทุนและผลตอบแทน 70 คะแนน ใครได้คะแนนรวม 2 ซองมากที่สุดจะเป็นผู้ชนะ ซึ่งเกณฑ์ที่ออกมาใหม่ครั้งนี้ก็เป็นเกณฑ์เดียวกันกับเกณฑ์ก่อนหน้าที่ รฟม.ถูก กลุ่มบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC ฟ้องร้องว่าเป็นเกณฑ์ที่ไม่เป็นธรรม จนนำไปสู่การล้มประมูลส่วน:v’ข้อเสนอซองที่ 4 จะพิจารณาหรือไม่ก็ได้ ในกรณีที่ รฟม. พิจารณา จะพิจารณาข้อเสนอจากผู้ชนะการคัดเลือกเท่านั้น”

ข่าวที่เกี่ยวข้อง