รีเซต

นอร์เวย์จ่อทดสอบกังหันลมหมุนตามแนวตั้งสุดพิลึก ย้ำลดพื้นที่แต่มีไฟให้มากกว่าแบบเดิม 2 เท่า

นอร์เวย์จ่อทดสอบกังหันลมหมุนตามแนวตั้งสุดพิลึก ย้ำลดพื้นที่แต่มีไฟให้มากกว่าแบบเดิม 2 เท่า
TNN ช่อง16
24 พฤศจิกายน 2566 ( 01:43 )
199
นอร์เวย์จ่อทดสอบกังหันลมหมุนตามแนวตั้งสุดพิลึก ย้ำลดพื้นที่แต่มีไฟให้มากกว่าแบบเดิม 2 เท่า

บริษัท เวิลด์ไวด์วินด์ (World Wide Wind) จากนอร์เวย์ เดินหน้าทดสอบกังหันลมที่ใบพัดหมุนในแนวแกนตั้ง หรือเรียกว่ากังหันลมแกนตั้งหมุนสลับหรือ CRVT (Contra-Rotating Vertical Turbine) ที่เป็นกังหันลมแบบลอยได้ (Floating Turbine) หลังเปิดตัวในเดือนกันยายนปี 2022 ที่ผ่านมา


ข้อมูลต้นแบบกังหันลมแนวแกนตั้งจากนอร์เวย์

กังหันลมแบบ CRVT เป็นกังหันลมที่มีแกนในแนวตั้ง หรือ VAWT (Vertical-Axis Wind Turbine) ต่างจากกังหันลมปกติที่คุ้นตานั้นจัดว่าเป็นกังหันลมแกนแนวราบ หรือ HAWT (Horizontal-Axis Wind Turbine)  โดยตัวทดสอบมีความสูง 19 เมตร กำลังการผลิตไฟฟ้าอยู่ที่ 30 กิโลวัตต์ (kW)


หลักการทำงานของกังหันลมแบบ CRVT คือ การติดตั้งใบพัดแกนตั้งแบบคู่ โดยใบพัดหมุนวนในทิศตรงกันข้ามตามแนวแกนของใบพัด และให้ใบพัดด้านล่างที่ติดกับทุ่นลอยน้ำมีขนาดใหญ่กว่าเพื่อให้อากาศสามารถไหลผ่าน และสร้างกระแสลมหมุนใบพัดได้อย่างต่อเนื่อง ทำให้ผลิตกระแสไฟฟ้าได้สม่ำเสมอเพื่อป้อนเข้าสู่ระบบ


การทดสอบต้นแบบกังหันลมแนวแกนตั้งจากนอร์เวย์

กังหันลมแบบ CRVT จะนำไปติดตั้งทดสอบบริเวณฟอร์ด (Fjord) หรืออ่าวที่เป็นแนวแคบยาวเว้าเข้าจากแนวชายฝั่งจากการกัดเซาะของธารน้ำแข็ง ที่หมู่บ้าน Vats ทางตอนเหนือสุดของเขต รูกาลัน Rogaland เขตทางตะวันตกของกรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์ 


การทดสอบมีเป้าหมายในการพิสูจน์ว่าตัวกังหันสามารถทำงานได้ตามที่ออกแบบหรือไม่ ก่อนพัฒนาเป็นตัวนำร่องขนาด 1.5 เมกะวัตต์ (MW) เพื่อทดสอบภายในต้นปี 2025 และตั้งเป้าว่าจะสามารถสร้างกังหันลมตัวใช้งานจริงที่มีขนาดกำลังการผลิต 24 เมกะวัตต์ ได้ภายในปี 2030 ต่อไป


จุดเด่นกังหันลมแนวแกนตั้งจากนอร์เวย์

ทั้งนี้ กังหันลมของเวิลด์ ไวนด์ วินด์ เคลมว่าสามารถประหยัดต้นทุนได้ 2 เท่า เทียบจากกังหันลมแบบเดิม เพราะใช้พื้นที่ระหว่างกังหันลมแต่ละตัวน้อยกว่า ซึ่งลดต้นทุนการเดินสายไฟ อีกทั้งยังสามารถติดตั้งได้ทุกพื้นที่ และมีผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมน้อย เนื่องจากตัวฐานเป็นทุ่นลอยทะเล 


โดยในรายงานก่อนหน้านี้ระบุว่า ต้นทุนต่อหน่วยการผลิตไฟฟ้าตลอดอายุการใช้งานสุทธิหรือ LCoE (Levelized Cost of Energy) นั้นน้อยกว่า 50 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1,800 บาทต่อเมกะวัตต์ ซึ่งน้อยกว่าค่ากลางที่รัฐบาลสหรัฐฯ ตั้งเอาไว้สำหรับการผลิตพลังงานไฟฟ้าด้วยลมในสหรัฐฯ อีกด้วย


ที่มาข้อมูล Innovation Origins, New Atlas

ที่มารูปภาพ World Wide Wind


ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง