รีเซต

อาบัติปาราชิก-สังฆาทิเสส คืออะไร? รู้จักอาบัติร้ายแรงของพระภิกษุ

อาบัติปาราชิก-สังฆาทิเสส คืออะไร? รู้จักอาบัติร้ายแรงของพระภิกษุ
TNN ช่อง16
16 กรกฎาคม 2568 ( 10:15 )
12

อาบัติปาราชิก-สังฆาทิเสส คืออะไร? เจาะลึกอาบัติร้ายแรงตามพระวินัยสงฆ์

พระวินัยเป็นข้อบัญญัติพื้นฐานที่พระภิกษุจำต้องยึดถืออย่างเคร่งครัด โดยมีการแบ่งระดับความผิดออกเป็นหลายลำดับ ซึ่ง “อาบัติปาราชิก” และ “อาบัติสังฆาทิเสส” ถือเป็นอาบัติร้ายแรงที่สุด เรียกรวมว่า ครุกาบัติ หากละเมิดแล้วส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสถานะความเป็นพระ

อาบัติปาราชิก ความผิดที่ทำให้ต้องสึกโดยไม่มีทางกลับ

ปาราชิก คือ อาบัติขั้นรุนแรงที่สุด หากพระภิกษุละเมิด จะ ขาดจากความเป็นพระทันทีโดยไม่ต้องสึก และไม่มีสิทธิกลับมาบวชได้ตลอดชีวิต แม้จะไม่ได้กล่าวลาสิกขา ถือว่าสึกโดยอัตโนมัติ

อาบัติปาราชิกมี 4 ข้อหลัก ได้แก่

  1. เสพเมถุน – การมีเพศสัมพันธ์กับมนุษย์หรืออมนุษย์ในทุกกรณี
  2. ลักทรัพย์ – ขโมยของที่เจ้าของหวงแหน
  3. ฆ่ามนุษย์ – เจตนาฆ่าคน รวมถึงการทำแท้ง
  4. อวดอุตริมนุสธรรม – กล่าวอวดว่าตนบรรลุธรรมชั้นสูงโดยไม่จริง

อาบัติสังฆาทิเสส ยังมีทางกลับ แต่ต้องเข้าสู่กระบวนการสงฆ์

สังฆาทิเสส เป็นอาบัติรองจากปาราชิก แม้จะร้ายแรงแต่พระยังสามารถกลับคืนสู่ความบริสุทธิ์ได้ โดยต้องยอมรับความผิด และดำเนินการตาม กระบวนการวินัยสงฆ์ เรียกว่า “อยู่กรรม”

อาบัติสังฆาทิเสสมีทั้งหมด 13 ข้อ ตัวอย่างเช่น

  • จงใจทำให้น้ำอสุจิเคลื่อน (ยกเว้นฝันเปียก)
  • สัมผัสสตรีด้วยเจตนากำหนัด
  • ใช้วาจาเกี้ยวพาราสี
  • ทำตัวเป็นพ่อสื่อให้ชายหญิง
  • ใส่ร้ายภิกษุว่าอาบัติปาราชิก
  • ทำให้สงฆ์แตกแยก

การแก้อาบัติ มีหรือไม่มีขึ้นอยู่กับประเภท

  • อาบัติปาราชิก ไม่มีทางแก้ไขใด ๆ หากกระทำผิดถือว่าสึกโดยสมบูรณ์
  • อาบัติสังฆาทิเสส ต้องเปิดเผยอาบัติต่อสงฆ์ ดำเนินการ “อยู่ปริวาสกรรม” และรอสงฆ์ 20 รูปทำสังฆกรรมให้จึงจะหลุดพ้นอาบัติ