รีเซต

Into the past : พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงเริ่มพระราชนิพนธ์เรื่อง รามเกียรติ์ , ไดโอคลีเชียน กลายมาเป็นจักรพรรดิโรมัน ผู้ดำริการปฏิรูป (20พ.ย.)

Into the past : พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงเริ่มพระราชนิพนธ์เรื่อง รามเกียรติ์ , ไดโอคลีเชียน กลายมาเป็นจักรพรรดิโรมัน ผู้ดำริการปฏิรูป (20พ.ย.)
TrueID
20 พฤศจิกายน 2563 ( 01:00 )
1.5K
1
Into the past : พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงเริ่มพระราชนิพนธ์เรื่อง รามเกียรติ์ , ไดโอคลีเชียน กลายมาเป็นจักรพรรดิโรมัน ผู้ดำริการปฏิรูป (20พ.ย.)

Into the past : วันนี้ trueID News จะพาย้อนไปในอดีตของวันนี้ กับเหตุการณ์ที่สำคัญ เรื่องราวสาระน่ารู้ ทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ จะเป็นอย่างไรไปติดตามกัน

 

 

Into the past : ประเทศไทย

 

พ.ศ. 2340 (ค.ศ. 1797) - พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงเริ่มพระราชนิพนธ์เรื่อง รามเกียรติ์ ร่วมกับกวีในราชสำนักเพื่อใช้เป็นบทละครใน

 

CC BY-SA 4.0

 

รามเกียรติ์ ของไทยนั้น มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ในสมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ทรงพระราชนิพนธ์สำหรับให้ละครหลวงเล่น ปัจจุบันมีอยู่ไม่ครบ ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ 1 ได้ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเพื่อรวบรวมเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งมีมาแต่เดิมให้ครบถ้วนสมบูรณ์ตั้งแต่ต้นจนจบ

 

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ เพื่อให้ละครหลวงเล่น โดยได้ทรงเลือกมาเป็นตอนๆ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ โดยใช้ฉบับของอินเดีย (รามายณะ) มาพระราชนิพนธ์ ใช้ชื่อว่า "บ่อเกิดรามเกียรติ์.

 

 

=====

 

 

Into the past : รอบโลก

 

พ.ศ. 827 (ค.ศ. 284) – ไดโอคลีเชียน กลายมาเป็นจักรพรรดิโรมัน ผู้ดำริการปฏิรูปซึ่งนำไปสู่จุดสิ้นสุดของวิกฤติการณ์ของคริสต์ศตวรรษที่ 3

 

Attribution

 

เมื่อแรกเกิดชื่อ “ไดโอคลีส” และรู้จักกันว่า “ดิออเกลติอานุส”เป็นจักรพรรดิที่เป็นผู้ยุติเหตุการณ์ที่นักประวัติศาสตร์เรียกว่า วิกฤติการณ์ของคริสต์ศตวรรษที่ 3 ที่เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 235 ถึงปี ค.ศ. 284 และก่อตั้งรัฐบาลแบบเผด็จการ นอกจากนั้น ดิออเกลติอานุสยังวางรากฐานของสมัยที่สองของจักรวรรดิโรมันซึ่งเรียกกันว่า “สมัยครอบงำ” (Dominate) (ซึ่งตรงข้ามกับสมัย “สมัยผู้นำ” (Principate) ก่อตั้งโดย ออกัสตัส ซีซาร์ ), หรือ “จตุรธิปไตย” หรือเรียกง่ายๆ ว่า “สมัยโรมันหลัง” การปฏิรูปของดิออเกลติอานุสทำให้มีการเปลี่ยนโครงสร้างของรัฐบาลที่ทำให้จักรวรรดิมีความมั่นคงขึ้นทั้งทางเศรษฐกิจและทางทหาร และทำให้จักรวรรดิโรมันอยู่รอดมาโดยไม่มีปัญหาร่วมร้อยปีหลังจากนั้น.

 

==========

 

 

Into the past : เรื่องราวในวันวาน 19 พฤศจิกายน

 

รวมสิทธิส่งเสริมคุณภาพชีวิต เกาะติดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ทันเรื่องราวกระแสสังคม

สัมผัสประสบการณ์ข่าวได้ที่ แอปพลิเคชัน ทรูไอดี (ดาวน์โหลดเลยที่นี่!!)

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

 

ข้อมูล : wikipedia , history , on this day

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง