รีเซต

"ไซยาโนแบคทีเรีย" ต้นเหตุทำช้างป่าแอฟริกาตายหลายร้อยตัว

"ไซยาโนแบคทีเรีย" ต้นเหตุทำช้างป่าแอฟริกาตายหลายร้อยตัว
TNN ช่อง16
23 กันยายน 2563 ( 18:01 )
353
"ไซยาโนแบคทีเรีย" ต้นเหตุทำช้างป่าแอฟริกาตายหลายร้อยตัว

วันนี้( 23 ก.ย.63) บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโอคาวังโกของสาธารณรัฐ บอตสวานา ทวีปแอฟริกาใต้ ที่รับสมญาว่าเป็น "รัตนะแห่งคาลาฮารี" เป็นเสมือนโอเอซิสของทะเลทรายคาลาฮารีที่แห้งแล้งของแอฟริกาใต้ จึงอุดมไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิด และเป็นแหล่งประชากรช้างที่มากสุดในแอฟริกาใต้ ซึ่งมีประมาณ 130,000 ตัว  

แต่ในช่วงกลางปีที่ผ่านมา สำนักงานกู้ภัยอุทยานแห่งชาติบอตสวานา เปิดเผยว่า ได้พบซากช้างป่าตายเกลื่อนหลายร้อยตัว บริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโอคาวังโกและพื้นที่ทางตอนเหนือ    

นายไนออล แม็คแคน จากองค์กรการกุศลเนชันแนล พาร์คในอังกฤษ ระบุว่า ช่วง เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ได้เดินทางไปสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโอคาวังโกและนับซากช้างตายได้จำนวน 169 ตัวระหว่างที่สำรวจทางอากาศ และพบฝูงช้าง 25 ตัวเพิ่งตายในเขตรอยต่อกับประเทศซิมบับเว ส่งผลให้ยอดช้างป่าที่ล้มตายตั้งแต่เดือนพ.ค.- มิ.ย.ปีที่แล้ว รวมกว่า 330 ตัว เพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่า โดยซากช้างที่พบล้วนตายใกล้กับแหล่งน้ำ


นักวิทยาศาสตร์ในแอฟริกาใต้ แคนาดา ซิมบับเว และสหรัฐอเมริกา ต่างเร่ง หาคำตอบในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์อยู่นานหลายเดือน จบพบคำตอบตรงกันว่า มาจากเชื้อนิวโรท็อกซิน หรือ สารที่ยับยั้งการทำงานของเซลล์ประสาท ที่สร้างขึ้นโดยไซยาโนแบคทีเรียหรือสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินที่เป็นต้นเหตุการเสียชีวิตของช้าง 330 ตัว  

 ไซยาโนแบคทีเรีย หรือ สาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียว พบได้ทั่วโลกโดยเฉพาะแหล่งน้ำที่สงบและมีสารอาหารสูง บางสปีชีส์สร้างสารพิษที่มีผลต่อสัตว์และมนุษย์ คนหรือสัตว์เสี้ยงซึ่งมักจะได้รับไซยาโนแบคทีเรียจากการดื่มหรืออาบน้ำที่มีแบคทีเรียชนิดนี้ปนเปื้อน

สัตว์น้ำที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำนั้นๆ หรือแม้กระทั่งสุนัขที่ลงไปว่ายน้ำในแหล่งน้ำ มีโอกาสได้รับพิษไซยาโนแบคทีเรีย ซึ่งมีฤทธิ์สามารถทำลายตับได้ถ้าสุนัขได้รับพิษเข้าไปจะแสดงอาการ หนาวสั่น ท้องเสีย อ่อนเพลีย ตัวซีด จนถึงช็อคได้ถ้าได้รับสารพิษในปริมาณมาก ดังนั้นจึงไม่ควรให้สุนัข ไปว่ายน้ำเล่นในบึงน้ำธรรมชาติ


ทั้งนี้ การตายของช้างป่าหยุดลงในช่วงสิ้นเดือนมิถุนายน ซึ่งเป็นเวลาเดียวกันกับที่น้ำแห้งจนหมด ส่วนประเด็นสงสัยอื่นๆ พบว่า งาช้างไม่ได้ถูกตัดไป แสดงว่านายพรานไม่ได้เกี่ยวข้องกับช้างเหล่านี้  

นักวิทยาศาสตร์ ได้พบว่าไซยาโนแบคทีเรียมีพิษชนิดนี้อยู่ตามริมแอ่งน้ำที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและผลจากการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศ ทำให้แบคทีเรียเติบโตได้ดีกว่าปกติเพราะแบคทีเรียชอบน้ำอุ่น  แต่ช้างป่าบอตสวานา ปกติจากเล่นน้ำกลางแอ่งน้ำ แต่เหตุที่ตายปริศนาเพราะว่ามาดื่มน้ำในแอ่งริมบ่อช่วงที่น้ำใกล้แห้งขอดจึงอุดมไปด้วยสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน



  


เกาะติดข่าวที่นี่

website: www.TNNTHAILAND.com
facebook : TNNONLINE
facebook live : TNN Live
twitter : TNNONLINE
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNONLINE
Instagram : TNN_ONLINE
TIKTOK : @TNNONLINE

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม