รีเซต

กับดักฟีโรโมน ลดปริมาณด้วงแรดในแปลงปาล์มน้ำมัน

กับดักฟีโรโมน ลดปริมาณด้วงแรดในแปลงปาล์มน้ำมัน
มติชน
2 มิถุนายน 2565 ( 11:43 )
50

วันที่ 2 มิถุนายน 2565 นางแพรวพรรณ ทองพิทักษ์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ ลงพื้นที่แปลงปาล์มน้ำมัน ของนายระบิล คล้ายนอง หมู่ที่ 5 ตำบลทุ่งค่าย อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง ซึ่งเกษตรกรปลูกปาล์มน้ำมัน อายุ 7 ปี จำนวน 6 ไร่ ซึ่งพบการเข้าทำลายของด้วงแรดกระจายทั่วทั้งแปลงลักษณะการทำลายของด้วงแรด ช่วงตัวเต็มวัยของด้วงแรดเท่านั้น ที่เข้าทำลายต้นปาล์มน้ำมัน โดยบินขึ้นไปกัดเจาะโคนทางใบปาล์ม ทำให้ทางใบหักง่าย และกัดเจาะทำลายยอดอ่อน ทำให้ทางใบที่เกิดใหม่ไม่สมบูรณ์มีรอยขาดแหว่งเป็นริ้วๆ คล้ายรูปสามเหลี่ยม ถ้าโดนทำลายมากๆ ทำให้ใบที่เกิดใหม่แคระแกรน รอยแผลที่ถูกด้วงแรดกัดเป็นเนื้อเยื่ออ่อน ทำให้ด้วงแรดเข้ามาวางไข่หรือทำให้ทางใบปาล์มน้ำมันเกิดโรคยอดเน่า จนทำให้ต้นปาล์มน้ำมันตายในที่สุด

 

 

เบื้องต้นควบคุมโดยใช้กับดักฟีโรโมน ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยกลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดตรัง เพื่อล่อจับตัวเต็มวัยของด้วงแรด โดยนำแผ่นฟีโรโมนแขวนไว้ในกับดัก วางกับดักให้สูงจากพื้น 3 เมตรขึ้นไป ด้วงแรดเมื่อได้กลิ่นฟีโรโมน ก็จะบินเข้าหาต้นกำเนิดกลิ่น เมื่อด้วงแรด ถึงกับดักก็จะบินชนแผ่นฟิวเจอร์บอร์ดเหนือถัง แล้วตกลงในถัง (เนื่องจากด้วงแรดไม่สามารถบินขึ้นในแนวดิ่งทันทีได้ จึงยังคงอยู่ภายในกับถังดัก) จากนั้นจึง สามารถเก็บไปทำลายได้ทันที โดย 1 กับดักสามารถใช้ได้กับพื้นที่ประมาณ 10-12 ไร่.

 

 

ทางด้านนายระบิล คล้ายนอง มีความพึงพอใจกับการแก้ปัญหาด้วงแรดกัดเจาะทำลายยอดอ่อนต้นปาล์มสร้างความเสียหายต่อต้นปาล์มและผลผลิตของปาล์มลดลง และขอขอบคุณ นางแพรวพรรณ ทองพิทักษ์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ ที่ให้ความสำคัญในการช่วยเหลือและแก้ปัญหาให้กับเกษตรกร โดยนำฟีราโมน มาให้ใช้ในสวนปาล์มน้ำมันพร้อมอธิบายวิธีขั้นตอนการใช้เป็นอย่างดี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง