รีเซต

จีนเล่นบท "การทูตวัคซีน" สร้างอำนาจให้ตัวเอง

จีนเล่นบท "การทูตวัคซีน" สร้างอำนาจให้ตัวเอง
TNN ช่อง16
4 สิงหาคม 2563 ( 16:30 )
194
จีนเล่นบท "การทูตวัคซีน" สร้างอำนาจให้ตัวเอง

วันนี้ (4 ส.ค.63) ไม่กี่ปีที่ผ่านมา ประเทศจีนได้พัฒนาแนวทางการทูตที่เรียกว่า “นักรบหมาป่า” หรือ wolf warrior ซึ่งถูกพูดถึงมาตลอด ว่าจีนนั้นได้ดำเนินแนวนโยบายในการตอบโต้ผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์ปักกิ่งกลับอย่างดุเดือด ดุดันก้าวร้าว ซึ่งกำลังถูกใช้อย่างมากโดยเจ้าหน้าที่ระดับสูงของจีน อย่าง หวัง อี้ รัฐมนตรีต่างประเทศจีน ที่บอกว่า “จีนไม่เคยหาเรื่องหรือรังแกใคร แต่จีนมีหลักการและมีความกล้าหาญที่จะตอบโต้การดูหมิ่นสบประมาทจีน”


ทั้งนี้ สำหรับ “การทูตนักรบหมาป่า” ที่จีนได้นำมาใช้ในยามเกิดการระบาดของโรคโควิด-19 ด้วยเช่นกัน หลังจากที่หลายประเทศต่างวิจารณ์และกล่าวโทษจีนว่าเป็น “ต้นตอ” ของการระบาดที่รุนแรงของไวรัส แต่แม้จะถูกวิจารณ์และกล่าวโทษ จีนกลับถือโอกาสนี้ในการ “ผลักดันให้ตัวเองก้าวขึ้นมาอยู่จุดนำของโลก” อีกครั้ง ด้วยความพยายามในการ “พัฒนาวัคซีนป้องกันโควิด-19” ซึ่งพบว่าตอนนี้หลายบริษัทของจีนได้เข้าสู่การทดลองระดับคลินิก (ทดลองกับมนุษย์) ในเฟสสุดท้ายแล้ว และมีแนวโน้มว่าจะสามารถนำมาใช้ได้ภายในปลายปีนี้..

และจีนได้ให้คำมั่นกับประเทศที่ยากจนกว่าหลาย ๆ ประเทศ ว่าจะให้เงินกู้ รวมถึงให้สิทธิ์ในการเข้าถึงวัคซีนได้ ไม่ต่างจาก “ประเทศที่ร่ำรวย” อื่น ๆ นี่เอง.. คือ “วัคซีนการทูต” ของจีน


"สี" ให้คำมั่น "วัคซีนต้องเป็นของสาธารณะของโลก"

ประธานาธิบดีสี จิ้น ผิง ได้ให้คำมั่นกับองค์การอนามัยโลก เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาว่า  เมื่อใดก็ตามที่วัคซีนของจีนประสบความสำเร็จดี วัคซีนนี้จะเป็น “ผลิตภัณฑ์สาธารณะของโลก” (global public good) ซึ่งตอนนี้จะได้เห็นว่ามีหลายประเทศร่ำรวย เช่น สหรัฐฯ อังกฤษ และญี่ปุ่น ที่ได้พยายามเจรจาบริษัทพัฒนาวัคซีนหลายเจ้าเพื่อให้ได้ส่วนแบ่งสำหรับประชากรของพวกเขาให้เร้วที่สุด 


ด้าน โฆษกกระทรวงต่างประเทศจีน หัว ชุน อิ๋ง บอกว่า “จีนจะไม่ทำตัวเหมือนประเทศเหล่านั้น ไม่ทำตัวเป็นผู้ผูกขาด หรือการไปหากว้านซื้อวัคซีนเอาไว้” .. นี่เอง การทูตแบบนักรบหมาป่า กัด ๆ แทะ ๆ ประเทศคู่กรณีเบา ๆ จริง ๆ แล้วจีนไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของ Covax  คือองค์กรที่รวมตัวกันโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้แน่ใจว่า “การแจกจ่ายวัคซียนจะเป็นไปอย่างทั่วถึง” ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากองค์การอนามัยโลก โดยที่จีนเองก็ระบุว่ามีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาเพื่อประเทศเหล่านั้น เช่น “เนปาล-อัฟกานิสถาน-ปากีสถาน-ฟิลิปปินส์ ที่จีนระบุว่า จะได้รับวัคซีนของจีนหากพัฒนาได้สำเร็จ” 


เดือนทีแล้ว นายหวัง อี้ รัฐมนตรีต่างประเทศจีน ได้เสนอเงินกู้ 1 พัน ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือกว่า 3 หมื่นล้านบาท กับประเทศลาตินอเมริกา และแถบแคริเบียน ในการสามารถเข้าถึงการซื้อวัคซีน.. และแน่นอนว่าการที่จีนมีจุดยืนในการช่วยให้ประเทศรายได้ต่ำและปานกลาง สามารถเข้าถึงวัคซีนได้นั้น จะยิ่งสร้างเสริม “บทบาทของจีนบนเวทีโลก” มากขึ้น 

นักวิเคราะห์มองว่า การที่จีนเล่นบท “วัคซีนการทูต” แบบนี้ จะยิ่งเป็นการสร้างซอฟท์ พาวเวอร์ (soft power) และช่วยให้จีนสามารถพัฒนาเส้นทาง Belt and Road หรือ 1 แถบ 1 เส้นทาง ได้ตามเป้าหมายอีกด้วย 


2 บริษัทจีนเข้าสู่ขั้นสุดท้ายทดลองวัคซีนโควิด-19

ปัจจุบัน มีบริษัทจีนอย่างน้อย 13 บริษัทที่พัฒนาวัคซียน โดยที่มี 2 บริษัท คือ ซิโนวัค และซินโนฟาร์ม ที่เข้าสู่ขั้นสุดท้ายของการทดลองวัคซียนแล้ว โดยไปทำการทดลองในคนหมู่มากที่บราซิล ยูเออี แต่แน่นอนว่า แม้ว่าหลายบริษัทตอนนี้ได้เข้าสู่ระยะสุดท้ายของการทดลองในกลุ่มคนหมู่มากแล้ว ก็ยังคงมีข้อจำกัดบางอย่างที่อาจทำให้วัคซีนต้องล่าช้าออกไปอีกระยะหนึ่ง เช่น เรื่อง ปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบบางอย่างที่ใช้ในการผลิตวัคซีน

ดังนั้น จึงยังคงต้องติดตามกันต่อว่า จีนที่ต้องพัฒนาวัคซีนให้ประชากรตัวเองเกือบ 1,400 ล้านคน แล้วจะเหลือให้ประชาคมโลกอย่างที่ได้ลั่นเอาไว้ มากน้อยขนาดไหน?!  หรืออีกหนึ่งทางเลือกที่สามารถทำได้ อาจรวมถึง “การถ่ายโอนเทคโนโลยี” เพื่อที่จะให้ประเทศอื่น ๆ สามารถนำไป “ผลิตวัคซีน” ที่จีนพัฒนาขึ้นมาได้ด้วย


เกาะติดข่าวที่นี่

website: www.TNNTHAILAND.com
facebook : TNNONLINE
facebook live : TNN Live
twitter : TNNONLINE
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNONLINE
Instagram : TNN_ONLINE
TIKTOK : @TNNONLINE

ข่าวที่เกี่ยวข้อง