นานาชาติมีอัตราป่วยตาย สูงกว่าไทยถึง 4 เท่า
วันนี้( 17 เม.ย.63) ที่ศูนย์แถลงข่าวสถานการณ์ไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุข ได้สรุปสถานการณ์โควิด-19 ในไทยภาพรวมวันนี้ มีผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 เพิ่ม 28 ราย รวมมีผู้ป่วยสะสม 2,700 ราย ขณะที่มีผู้ป่วยกลับบ้านเพิ่ม96 ราย กลับบ้านสะสม 1,689 ราย ยังรักษาในโรงพยาบาล 964 ราย เสียชีวิตเพิ่ม1ราย รวมเสียชีวิตสะสม 47 ราย
นพ. โสภณ เอี่ยมศิริถาวร ผอ.กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค ระบุว่า สถานการณ์โควิด-19 ในไทย อยู่ในระดับที่ดี ลดลงเล็กน้อย ส่วนผู้เสียชีวิต1รายนั้น อยู่ในกลุ่มเสี่ยงคือ กลุ่มผู้สูงอายุ สำหรับ อัตราการป่วยตายจากโรคโควิด-19 ในไทย สะสม 47 ราย สัดส่วนการป่วยเสียชีวิต เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง ถึง 4 เท่า
โดยอัตราการป่วยตาย ของประเทศไทย อยู่ที่ร้อยละ 1.7 ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยนานาชาติ ขณะที่อัตราการป่วยตายของนานาชาติ อยู่ที่ร้อยละ 6 ซึ่งสูงกว่าไทยถึง 4 เท่า
หากแยกกลุ่มอายุ พบผู้ป่วย กลุ่ม อายุ70 ขึ้นไป มีอัตราการป่วยตาย ร้อยละ12.1 ถือเป็นกลุ่มที่ควรได้รับการดูแล ปกป้อง หากเกิดการติดเชื้อจะมีอาการรุนแรง ,ร้อยละ4 ในกลุ่มอายุ50-59ปี ,ร้อยละ3.7 กลุ่มอายุ 60-69ปี , ร้อยละ1 กลุ่มอายุ40-49ปี , ร้อยละ0.6 กลุ่มอายุ30-39ปี ,ร้อยละ0.2 กลุ่มอายุ20-29 ปี
สำหรับผู้ป่วยที่รักษาหาย เบื้องต้นแพทย์จะทำการรักษาอาการก่อน 7 วัน หากอาการดีขึ้นแต่ยังมีเชื้อ จะย้ายไปยังรพ.สนาม เพื่อเฝ้าสังเกตอาการต่อ จนครบ14 วัน หรือจนกว่า จะไม่พบเชื้อหากหายดีสามารถใช้ชีวิตประจำวันตามปกติได้ แต่เมื่ออกไปยังภายนอกขอให้สวมใส่หน้ากากอนามัยฯปฏิบัติตามมาตราการต่างๆ จนครบ1เดือน
ส่วนกรณีการติดเชื้อโควิด-19 จากถุงพลาสติกหิ้วของนั้น นพ. โสภณ ระบุว่า มีความเป็นไปได้ แต่สิ่งสำคัญคือเมื่อสัมผัสแล้วต้องล้างมือด้วยน้ำและสบู่ทันที เช่นเดียวกับการสัมผัสพื้นผิวอื่นๆ
ขณะที่การติดเชื้อจากบุคลกรทางการแพทย์ ตอนนี้มีอยู่ประมาณ 99 ราย มีสาเหตุจาการติดเชื้อในการดูแลผู้ป่วย 28 ราย หรือร้อยละ 73.68 , จากากรสัมผัสเพื่อนร่วมงานในโรงพยาบาล 6 ราย หรือร้อยละ15.79 , จากการซักประวัติคัดกรองผู้ป่วย 1 คน หรือร้อยละ 2.63 และไม่สามารถระบุสาเหตุได้ 3 ราย หรือรายละ7.89
ทั้งนี้ บุคลากรทางการแพทย์มีปัจจัยเสี่ยงติดเชื้อ 2 ทางซึ่งมากกว่าประชาชนทั่วไป คือ มาจาการปฏิบัติดูแลผู้ป่วยที่ไม่ระบุว่า มีความเสี่ยงหรือมีประวัติการติดเชื้อโควิด-19 ทำให้ บุคลากรทางการแพทย์ ไม่ได้ใส่อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่เหมาะสม และเกิดจากการใช้ชีวิตประจำวัน ที่ต้องคำนึงถึงเหมือนประชาชนทั่วไป เช่น การเว้นระยะห่างทางสังคม การล้างมือ และงดการทานอาหารร่วมกัน
ขณะนี้ มีผู้ที่ถูกให้อยู่ในสถานที่กักกันที่รัฐจัดไว้ให้ ขณะนึ้มีอยู่ 598 ราย แบ่งเป็น กทม. 462 ราย ต่างจังหวัด 136 ราย
ด้าน นพ. อนุพงศ์ สุจริยากุล ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค ระบุถึงการดำเนินการช่วงเวลาที่ผ่านมาของการแพร่ระบาดโควิด-19 ย้อนไปปลายปีที่แล้วไทยได้มีการจับตาการระบาดโควิด-19 ที่เมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน จากนั้นวันที่ 3 มกราคม เริ่มมีการกระตุ้นระบบสาธารณสุขภายในประเทศ หลังการแพร่ระบาดโควิด-19 ที่อู่ฮั่น เริ่มจากการคัดกรองที่สนามบิน ที่มีผู้โดยสารเข้าประเทศ ตามมาด้วยระบบการเฝ้าระวังคัดกรองที่โรงพยาบาล จนไปถึงการเฝ้าระวังในระดับบชุมชน ผ่าน อสม.
การคัดกรองที่สนามบินช่วงที่ผ่านมา หากพบมีไข้ตั้งแต่37.5 จะถูกแยกออกมาทันที มีการเก็บตัวอย่างเสมหะ สารคัดหลั่งจากลำคอ หากติดเชื้อจะเข้าสู่ระบบการรักษา ระยะแรกเจ้าหน้าที่ใช้มาตรการการขอความร่วมมือก่อน จากนั้นจึงประกาศเป็นโรคติดต่ออันตราย พ.ศ.2558 เพื่อให้เจ้าหน้าที่มีอำนาจหน้าที่ในการควบคุมโรค
หลังจากโรคโควิด19 ได้กระจายไปยังเมืองอื่นนอกจากอู่ฮั่น ทำให้มีการเข้มข้นในการเฝ้าระวังกลุ่มที่เดินทางมาจากเมืองอื่นด้วย การให้โหลดแอปพลิเคชั่นติดตามตัว ติดตามอาการ14 วันจนนำมาสู่ การให้ประชาชน ที่เดินทางมาจากประเทศเสี่ยง เข้ากักตัว14 วัน ตามสถานที่ที่รัฐจัดให้ และ โรงแรมที่เข้าร่วม
ส่วนกลุ่มประชาชนทางภาคใต้ที่กลับมาจากพิธีทางศาสนา หากถึงไทย ก็จะต้องเข้าสถานที่กักตัว14 วัน
ขณะที่ ภูเก็ต ถือเป็นกรณีศึกษา ที่มีการระบาดต่อเนื่อง รองจากกรุงเทพมหานคร และนนทบุรี โดยภูเก็ต ใช้มาตรการปิดเมืองแต่ก็ยังมีการคิดมาตรการต่างๆในการคุมโรค เช่น การค้นหากลุ่มเสี่ยงในเชิงรุก หลังจากพบปัญหา เมื่อมีอาการไม่เข้ารักษาตามสถานพยาบาล
ขณะที่ นพ. ณรงค์ อภิกุลวณิช รองอธิบดีกรมการแพทย์ ระบุว่า เริ่มแรกของการแพร่ระบาด ทางกระทรวงสาธารณสุข ได้เฝ้าระวัง ในกลุ่มผู้ป่วยปอดบวมอักเสบไม่ทราบสาเหตุ กลุ่มมีอาการเข้าข่ายเกณฑ์สอบสวนโรคโดยตรงและกลุ่มไม่มีอาการ จากนั้นมีการเตรียมสถานที่รักษา อุปกรณ์ ทรัพยากรเช่น ห้องแยกโรค ห้องความดันลบ หอผู้ป่วยโควิดห้องรวม คลินิกทางเดินหายใจ รพ.สนาม
ขณะนี้ แนวทางการรักษา ผู้ป่วยโควิด-19 ของไทย ยังคงให้ผู้ป่วยโควิด-19 ทุกรายนอนในโรงพยาบาล จนกว่าจะตรวจไม่พบเชื้อ ขณะเดียวกันจำนวนผู้ป่วยที่กลับบ้านวันนี้มากกว่า จำนวนที่รักษาในโรงพยาบาลแล้ว ซึ่งมาจากมาตรการต่างๆที่ทุกคนช่วยกัน ย้ำผู้ป่วย หากเข้าสู่กระบวนการรักษาเร็ว โอกาสหายเร็ว
โดยอัตราการหายจากโรคโควิด-19 ของไทย ถือว่าอยู่ในอันดับต้นๆของโลก รวมถึงอัตราการเสียชีวิตด้วย ซึ่งกลุ่มที่สำคัญที่สุดในการลดการแพร่ระบาดโควิด-19 คือ ประชาชน ส่วน สถานพยาบาลเป็นเพียงส่วนที่รองรับต่อเท่านั้น
นพ. บัญชา ค้าของ รองอธิบดีกรมอนามัย ยังคงยืนยันที่ประชาชนต้องสวมหน้ากากอนามัยฯ และวันนี้ ถือเป็นแรกที่มีผู้ป่วยโควิด-19 ต่ำกว่า1, 000 รายในโรงพยาบาลได้มีการทำข้อมูลจากการสำรวจผู้ที่ไปตลาด ส่วนใหญ่ ร้อยละ41.22 อยู่ในช่วงอายุ 30-49 ปี โดยตลาดถือเป็นหนึ่งจุดเสี่ยงของการแพร่ระบาดโรค จากการสำรวจตลาด 300 แห่ง พบว่า มีมาตรการในการควบคุมโรค เช่น ให้ทุกคนที่จะเข้าตลาดต้องสวมหน้ากากอนามัยฯ ย้ำ เราคนไทย ต้องตั้งการ์ดให้เป็นนิสัย คือ การใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อยๆ กินร้อนช้อนกลาง เน้นมาตรการระยะห่างทางสังคม จะเป็นการ์ดคุมโรคชั้นดีของสังคมไทย
เกาะติดข่าวที่นี่
website: www.TNNThailand.com
facebook : TNNThailand
twitter : @TNNThailand
Line : @TNNThailand
Youtube Official : TNNThailand