รีเซต

1 ก.ค.เปิดเทอม 3.1 หมื่นแห่งเรียนพร้อมกัน 4,500 แห่งสลับวันเรียน

1 ก.ค.เปิดเทอม 3.1 หมื่นแห่งเรียนพร้อมกัน 4,500 แห่งสลับวันเรียน
TNN ช่อง16
22 มิถุนายน 2563 ( 15:07 )
487
1
1 ก.ค.เปิดเทอม 3.1 หมื่นแห่งเรียนพร้อมกัน 4,500 แห่งสลับวันเรียน

วันนี้ (22 มิ.ย.63) นายวราวิช กำภู ณ อยุธยา ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวว่า การเตรียมตัวพร้อมเปิดเทอมวันที่ 1 ก.ค.นี้ ศธ.มีแคมเปญ คือ Back to Healthy School โรงเรียนสุขภาพดี นักเรียนมีความสุข

 

ทั้งนี้ หลายคนกังวลว่า การเลื่อนเปิดเทอมนักเรียนจะได้เรียนครบหรือไม่ ซึ่งแต่เดิมการเปิดเทอมเก่าช่วงวันที่ 16 พ.ค. - 10 ต.ค. ในเทอม 1 และวันที่ 1 พ.ย. - 31 มี.ค. ในเทอม 2 จะเรียนประมาณ 200 วัน ส่วนวันเปิดเทอมใหม่วันที่ 1 ก.ค. - 14 พ.ย. และวันที่ 1 ธ.ค. - 10 เม.ย. เวลาเรียน 180 วัน ที่เหลือได้ให้แต่ละโรงเรียนมีอิสระในการสอนเพิ่ม อาจเป็นตอนเย็นหรือวันเสาร์-อาทิตย์ เพื่อให้การเรียนครบถ้วน

 

สำหรับหลักการสำคัญของโรงเรียนสุขภาพดีฯ ศธ.ร่วมกับกรมอนามัย ทำคู่มือการปฏิบัติสำหรับสถานศึกษา ได้แจกจ่ายไปยังทุกโรงเรียนแล้ว แบ่งออกเป็น 6 มิติ โดยมิติที่ 1 คือ ความปลอดภัยจากการลดการแพร่เชื้อโรค มี 20 ข้อ โรงเรียนต้องทำครบทุกข้อถึงจะเปิดได้

 

ส่วนมิติที่ 2-6 คือการเรียนรู้ มี 4 ข้อ การครอบคลุมถึงเด็กด้อยโอกาส มี 6 ข้อ สวัสดิการและการคุ้มครอง มี 5 ข้อ นโยบาย มี 5 ข้อ และการบริหารเงินมี 4 ข้อ เป็นมิติเพิ่มรวมกัน 24 ข้อ โดยให้แต่ละโรงเรียนทำแบบประเมินตนเอง ซึ่งเป็นแบบประเมินเดียวกัน ขณะนี้ประเมินผ่านแล้ว 90% เหลือเวลาอีก 6-7 วันก็ติดว่าไม่น่าจะมีปัญหาถ้าจะผ่านเกณฑ์ทั้งหมด 100%

 

นายวราวิช กล่าวต่อว่า แนวทางปฏิบัติสำหรับสถานศึกษาระหว่างเปิดภาคเรียน คือ 1. คัดกรองสุขภาพ ตรวจอุณหภูมิ 2. ตรวจสอบการสวมหน้ากาก หากไม่เตรียมมาโรงเรียนก็จัดให้ 3. จัดสถานที่ล้างมือ จัดเตรียมสบู่ แอลกอฮอล์ 4. ทำความสะอาดโต๊ะ ที่นั่ง ถ้าเป็นอาชีวศึกษาที่มีเครื่องมือก็ต้องทำความสะอาดก่อนคนเข้าไปมาใช้ 5. เว้นระยะห่าง 1.5 เมตรของห้องเรียน และ 6. ลดความแออัด

"การเว้นระยะห่างและลดความแออัด น่าจะทำยากที่สุด โดยเราแบ่งการดำเนินงานเป็นโรงเรียนที่เว้นระยะห่างได้ตามข้อกำหนด และสามารถเรียนได้ครบทุกคนพร้อมกัน มีทั้งหมด 3.1 หมื่นโรง ครอบคลุมทั้งโรงเรียนรัฐ เอกชน อาชีวศึกษา และโรงเรียนนานาชาติ

ส่วนโรงเรียนที่มาเรียนพร้อมกันไม่ได้ มีขนาดใหญ่จริงๆ ต้องสลับกันมาเรียน มีจำนวน 4.5 พันโรง แบ่งเป็นเป็นโรงเรียนที่มีระดับชั้นอนุบาล-ม.6 ประมาณ 200 โรง ที่เหลือเป็นโรงเรียนประถมครึ่งหนึ่ง และโรงเรียนมัธยมอีกครึ่งหนึ่ง

ส่วนคนที่ไม่ได้มาเรียน ศธ.ได้จัดออนแอร์และออนไลน์ ดูแลนักเรียนที่ไม่ได้มาเรียน โดยเรียนผ่านทีวีหรืออินเทอร์เน็ต และหากเกิดปัญหามีผู้ติดเชื้อขึ้นมา นักเรียนก็ต้องเรียนที่บ้านเช่นกัน" นายวราวิช กล่าว

สำหรับแนวทางการสลับกันมาเรียน หรือแนวทางการจัดการเรียนแบบผสมผสานนั้น มีประมาณ 4-5 แบบ ซึ่งเกิดจากการประชุมร่วมกันระหว่างครูและผู้ปกครองที่เป็นกรรมการสถานศึกษา คือ

1. เรียน 5 วันหยุด 9 วัน หรือเรียนอาทิตย์เว้นอาทิตย์ คือ กลุ่มหนึ่งมาเรียนอาทิตย์นี้แล้วอยู่บ้านอาทิตย์หนึ่ง อีกกลุ่มก็มาเรียนอีกอาทิตย์หนึ่ง

2. เรียนสลับเช้าบ่าย ตรงนี้มีน้อย โดยเฉพาะโรงเรียนประถม เพราะการส่งมาเรียนเช้าและมารับกลับบ่ายเลยเป็นไปได้ยาก โรงเรียนประถมก็จะไม่ใช้แบบนี้

นอกจากนี้ ยังมีรูปแบบของการสลับวันคู่วันคี่ เรียนผสมผสาน เป็นต้น

ศธ.ยังมีข้อห่วงใยมี 6 ประเด็น คือ

1. รถโรงเรียน ที่ ศธ.ดูแล หรือรถเหมาของโรงเรียน ต้องนั่งตามมาตรการ คือ เว้นระยะห่าง สวมหน้ากาก ซึ่งเดิมนั่งได้ 30 คนก็เหลือ 15 คน ต้องมีรถ 2 คัน ศธ.มอบงบประมาณให้โรงเรียนแล้ว แต่โรงเรียนที่มีเด็กเยอะก็สลับกันมาเรียน โอกาสใช้รถอาจไม่ถึง 2 คันหรือไม่ถึง 3 เที่ยว

2. เด็กเล็ก ปฐมวัยหรือ ป.1-2 ที่ดูแลยาก ก็ต้องให้ครูดู ส่วนปัญหาครูน้อย โรงเรียนขนาดเล็กนอจากครูแล้วยังมีครูผู้ช่วยในการดูแล และดูแลจนถึงการนอน ซึ่งให้นอนห่างกัน 1.5 เมตร โดยนอนเอาเท้าชนกัน เพื่อไม่ให้เอาศีรษะชนกัน ตอนนอนไม่สวมหน้ากาก เพระไม่น่าจะดี แต่ก่อนเข้ามาโรงเรียนก็ผ่านการคัดกรองก่อน

3. อาหารกลางวัน จะแออัดหรือไม่ โรงอาหารพอหรือไม่ ก็จะผลัดกันทาน เช่น 3-4 ผลัด แล้วแต่จำนวนนักเรียน

4. ตัวชี้วัดผลหรือการสอบ ศธ.จะประกาศภายใน 1-2 สัปดาห์ว่าต้องสอบหรือไม่ แต่ ม.6 อย่างไรต้องสอบ ส่วนชั้นอื่นถ้าสอบจะปรับตัวชี้วัดให้ได้เกณฑ์ที่สามารถสอนได้ในปีโควิดนี้ เพื่อให้ถูกวัดผลได้ยุติธรรม

5. กรณีปิดโรงเรียน หากพบผู้ต้องสงสัยอยู่ในเกณฑ์เป็น เราจะคัดแยกและให้หยุด 14 วัน ระหว่างนั้นแจ้งผู้ปกครอง และแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพื่อตรวจ ระหว่างตรวจยังเรียนหนังสืออยู่ ถ้าตรวจไม่พบก็จบยังเรียนได้ ถ้าพบต้องหยุด 14 วัน โรงเรียนหยุด 3 วันเพื่อทำความสะอาด และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจะมาดูว่าใครสัมผัสใกล้ชิด และให้หยุดดูอาการ 14 วัน ส่วนใครอยู่ใกล้ใคร ศบค.ประสานกับ ศธ.ให้เราใช้ไทยชนะด้วย ซึ่งมีที่ทำได้และทำไม่ได้ เด็กโตอาจทำได้ ส่วนเด็กเล็กก็จะจดว่า เด็กคนนี้มาเรียนนั่งอยู่กับใคร ซึ่ง ศธ.จะสอบย้อนหลังได้

6. โรงเรียนชายขอบ เช่น จากประเทศเพื่อนบ้านที่จะมาเรียนไปกลับ หรือพ่อแม่ไปทำงานประเทศเพื่อนบ้าน เรายังไม่ให้เข้า เด็กเหล่านี้จะข้ามมาเรียนไม่ได้ จนกว่าประกาศผ่อนปรน หรือต้องข้ามมากักตัว 14 วัน และไม่กลับไปแล้ว อย่างไรก็ตาม เพื่อไม่ให้มีปัญหามาก ให้การเรียนการสอนเป็นไปได้เต็มรูป โรงเรียนชายขอบได้ประสาน ตม.ทั้งหมดแล้ว โดยมีกล่องและครูเอาใบงานไปใส่ เด็กมาเอาใบงานและเอาการบ้านมาส่ง ไม่ต้องเจอกัน เรียนผ่านทีวี

เกาะติดข่าวที่นี่
website: www.TNNThailand.com
facebook : TNNThailand
facebook live : TNN Live
twitter : @TNNThailand
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNThailand
Instagram : @tnn_online
TIKTOK : @tnnonline

ข่าวที่เกี่ยวข้อง