รีเซต

สำรวจค่ายรถ EV มาแรง “Tesla” ยังคงเป็นผู้นำตลาดหรือไม่?

สำรวจค่ายรถ EV มาแรง “Tesla” ยังคงเป็นผู้นำตลาดหรือไม่?
TNN ช่อง16
22 มกราคม 2564 ( 06:49 )
40

เจาะลึกสำรวจการเติบโตของตลาดEVในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาพร้อมวิเคราะห์ถึงปัจจัยหนุนต่างๆและจับตาเทรนด์การพัฒนาและเติบโตของอุตสาหกรรมEVทั่วโลก...

เริ่มต้นกันที่มูลค่าตามราคาตลาด (MarketCap) ของบริษัทรถยนต์ทั่วโลกล่าสุดจะเห็นได้ว่า "เทสลา"(Tesla) ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้ารายใหญ่สัญชาติอเมริกันได้ก้าวขึ้นมาเป็นบริษัทรถยนต์ที่มี MarketCap สูงสุดในโลกแซงหน้าแชมป์เก่าอย่าง "โตโยตาบริษัทผลิตรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่นเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนกรกฎาคมปีที่ผ่านมา

โดยมูลค่าตลาดของเทสลาล่าสุด (รวบรวมข้อมูลเมื่อวันที่ 21 ..) อยู่ที่ประมาณ แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ (หรือราวล้านบาทขณะที่โตโยตา ค่ายรถยนต์ยักษ์ใหญ่อันดับ มี MarketCap อยู่ที่ประมาณ 148,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (หรือราวล้านบาทสะท้อนให้เห็นอย่างชัดเชนถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่มีต่ออนาคตของอุตสาหกรรม EV

นอกจากนี้กระแสความเชื่อมั่นในยานยนต์ไฟฟ้ายังผลักดัน "นีโอ้"(NIO) ผู้ผลิตยานยนต์ไฟฟ้ารายใหญ่สัญชาติจีนก้าวขึ้นมาเป็นบริษัทรถยนต์ที่มี MarketCap ใหญ่เป็นอันดับ ของโลกอยู่ที่ประมาณ 91,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (หรือราวล้านบาทแซงบริษัทรถยนต์รายใหญ่อื่นๆอย่าง เจเนรัล มอเตอร์ (GeneralMotors) ของสหรัฐไดม์เลอร์ (Daimler) ของเยอรมนีฮุนได (Hyundai) ของเกาหลีใต้บีเอ็มดับเบิลยู (BMW) ของเยอรมณีรวมไปถึงเฟอร์รารี่ (Ferrari) ที่อยู่ในอันดับ 10 ไปได้

ติดตามได้ในรายการเศรษฐกิจ Insight: ตอน สำรวจค่ายรถEVมาแรง“Tesla”ยังคงเป็นผู้นำตลาดหรือไม่ได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=rr8w4idIHUw


นอกเหนือไปจาก "เทสลา"แล้วก็จะพบว่า ในปี2563 ที่ผ่านมา บริษัทผลิตEV หลายแห่งก็มีมูลค่าตามราคาตลาดเพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อเปรียบเทียบกับบริษัทผลิตรถยนต์ที่ยังไม่ปล่อยรถยนต์พลังงานไฟฟ้าเป็นของตัวเองออกมา

โดยเฉพาะNIO ที่มี Market Capเพิ่มขึ้นกว่า 1,600เปอร์เซนต์ ในปี 2563โดยแนวโน้มการเติบโตของNIO ในปีนี้ก็ยังเป็นบวกเนื่องจาก การเติบโตของMarket Cap ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา(Market Cap) เพิ่มขึ้นไปกว่า15 เปอร์เซนต์แล้วหลังจากต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมาNIO ได้เปิดตัวรถยนต์ซีดานพลังงานไฟฟ้ารุ่นแรกของบริษัทที่มีชื่อว่า อีทีเซเว่น(ET7) ท้าชนบริษัทคู่แข่งฝั่งตะวันตกอย่าง"เทสลา"ที่พยายามรุกตลาดจีนมากเรื่อยๆ

Nioมีเป้าหมายที่จะขยายกลุ่มผลิตภัณฑ์เพื่อดึงดูดลูกค้ามากขึ้นในตลาดรถยนต์จีน เนื่องจากรถซีดานและ SUV มียอดขายรวมกันประมาณ46 เปอร์เซนต์ของยอดขายโดยรวมทั้งหมด (ปัจจุบันNIO ออกรถ EV มาแล้ว3 รุ่น แต่เป็นประเทศSUV หรือ sport utilityvehicle ทั้งหมด ได้แก่ES8 ES6 EC6 )

ส่วนMarket Cap ของเวิร์กฮอร์ซ(Workhorse) ผู้ผลิตรถบรรทุกและยานพาหนะจัดส่งเชิงพาณิชย์รายใหญ่ของสหรัฐฯก็มีขยายตัวกว่า 1,000 เปอร์เซนต์หลังธุรกิจค้าปลีกหลายแห่งเริ่มแสดงความมุ่งมั่นในการต่อสู้กับปัญหาสิ่งแวดล้อมโดยการหันมาใช้ยานยนตร์สำหรับส่งสินค้าที่ใช้พลังงานไฟฟ้าแทน

ขณะที่Market Cap ของเสี่ยวเผิง(Xpeng) บริษัท EVสัญชาติจีนอีกแห่งที่เพิ่งเสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก(IPO) ในตลาดหุ้นนิวยอร์กของสหรัฐฯเมื่อวันที่ 27 สิงหาคมก็เติบโตขึ้นกว่า107 เปอร์เซนต์ ในปีก่อน(27. สิงหาคม -31ธันวาคม)

ทั้งนี้เสี่ยวเผิง เป็นบริษัทที่ได้รับการสนับสนุนจาก"อาลีบาบา"บริษัทอีคอมเมิร์ซและ "เสี่ยวมี่"บริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ในจีน 


นอกเหนือไปจาก "เทสลาแล้วก็จะพบว่า ในปี 2563 ที่ผ่านมา บริษัทผลิต EV หลายแห่งก็มีมูลค่าตามราคาตลาดเพิ่มขึ้นอย่างมาก เมื่อเปรียบเทียบกับบริษัทผลิตรถยนต์ ที่ยังไม่ปล่อยรถยนต์พลังงานไฟฟ้าเป็นของตัวเองออกมา

โดยเฉพาะ NIO ที่มี Market Cap เพิ่มขึ้นกว่า 1,600 เปอร์เซนต์ ในปี 2563 โดยแนวโน้มการเติบโตของ NIO ในปีนี้ก็ยังเป็นบวก เนื่องจาก การเติบโตของ Market Cap ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา (Market Cap) เพิ่มขึ้นไปกว่า 15 เปอร์เซนต์แล้ว หลังจากต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา NIO ได้เปิดตัวรถยนต์ซีดานพลังงานไฟฟ้ารุ่นแรกของบริษัท ที่มีชื่อว่า อีทีเซเว่น (ET7) ท้าชนบริษัทคู่แข่งฝั่งตะวันตกอย่าง "เทสลาที่พยายามรุกตลาดจีนมากเรื่อยๆ

Nio มีเป้าหมายที่จะขยายกลุ่มผลิตภัณฑ์เพื่อดึงดูดลูกค้ามากขึ้น ในตลาดรถยนต์จีน เนื่องจาก รถซีดานและ SUV มียอดขายรวมกันประมาณ 46 เปอร์เซนต์ของยอดขายโดยรวมทั้งหมด (ปัจจุบัน NIO ออกรถ EV มาแล้ว รุ่น แต่เป็นประเทศ SUV หรือ sport utility vehicle ทั้งหมด ได้แก่ ES8 ES6 EC6 )

ส่วน Market Cap ของเวิร์กฮอร์ซ (Workhorse) ผู้ผลิตรถบรรทุก และยานพาหนะจัดส่งเชิงพาณิชย์รายใหญ่ของสหรัฐฯ ก็มีขยายตัวกว่า 1,000 เปอร์เซนต์ หลังธุรกิจค้าปลีกหลายแห่ง เริ่มแสดงความมุ่งมั่นในการต่อสู้กับปัญหาสิ่งแวดล้อมโดยการหันมาใช้ยานยนตร์สำหรับส่งสินค้าที่ใช้พลังงานไฟฟ้าแทน

ขณะที่ Market Cap ของเสี่ยวเผิง (Xpeng) บริษัท EV สัญชาติจีนอีกแห่ง ที่เพิ่งเสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) ในตลาดหุ้นนิวยอร์กของสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 27 สิงหาคมก็เติบโตขึ้นกว่า 107 เปอร์เซนต์ ในปีก่อน (27. สิงหาคม - 31ธันวาคม)

ทั้งนี้ เสี่ยวเผิง เป็นบริษัทที่ได้รับการสนับสนุนจาก "อาลีบาบาบริษัทอีคอมเมิร์ซ และ "เสี่ยวมี่บริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ในจีน 

จุดนี้จึงทำให้บริษัทผลิตรถยนต์หลายแห่งหันมาลงทุนกับนวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้ามาขึ้น โดยจะเห็นได้จากพัฒนาการสำคัญในอุตสาหกรรม EV ตั้งแต่ปี 2563 จนถึงต้นปีนี้ 2564 นี้ 

เริ่มจาก เมื่อเดือนมกราคมปี 2563 โฟล์คสวาเกน (Volkswagen) ของเยอรมนี ซึ่งมีรถ EV แล้วถึง รุ่น (ได้แก่รุ่น e-Golf , e-up! , ID.4 , ID.3 ) ประการลงทุนกว่า 40,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ พร้อมตั้งเป้าขายรถยนต์พลังงานไฟฟ้าให้ได้ 28 ล้านคัน ภายในปี 2571 (.. 2028)

ต่อมาในเดือนมิถุนายน เจเนรัล มอเตอร์ส (General Motors) หรือ GM ของสหรัฐฯ ประกาศว่า กำลังพัฒนารถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ 20 รุ่นภายในปี 2566 เป็นส่วนหนึ่งของแผนการลงทุน 20,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อเทคโนโลยีไฟฟ้าและระบบอิสระ

เดือนสิงหาคมปี 2563 ฮุนได มอเตอร์ (Hyundai Motor) ผู้ผลิตรถยนต์อันดับ ของเกาหลีใต้ ได้ประกาศสร้างแบรนด์รถ EV ให้ภายใต้ชื่อ "ไอออนิก" (Ioniq) ที่ปัจจุบัน เป็นชื่อรุ่นรถยนต์พลังงานไฟฟ้าของแบรนด์ฮุนได พร้อมทั้ง ระบุว่า การยกระดับรถยนต์รุ่น "ไอออนิกเป็นแบรนด์รถยนต์ใหม่ 

ก่อนที่ในเดือนธันวาคมปี 2564 ฮุนไดจะประกาศเป้าหมายครองส่วนแบ่งตลาดรถยนต์พลังงานไฟฟ้า (EV) ทั่วโลก 8 - 10 % ภายในปี 2583 (.. 2040) และจะขึ้นเป็นผู้ขายรถยนต์พลังงานไฟฟ้ารายใหญ่อันดับ ของโลก ภายในปี 2568 (.. 2025) ให้ได้

กันยายนปี 2563 ที่ผ่านมา อีลอน มัสก์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร "เทสลาประกาศ ตั้งเป้าสร้างยานยนต์ไฟฟ้าที่มีราคาเพียง 25,000 ดอลลาร์สหรัฐ ที่สามารถขับเคลื่อนอัตโนมัติโดยสมบูรณ์ให้ได้ ซึ่งการจะไปถึงเป้าหมายนั้นได้ เทสลาจะต้องลดต้นทุนแบตเตอรี่ลง พร้อมทั้งคาดการณ์ว่า น่าจะใช้เวลาประมาณ ปี และเพื่อการลดต้นทุนแบตเตอรี่ มักส์ ยังเปิดเผยว่า Tesla วางแผนที่จะรีไซเคิลเซลล์แบตเตอรี่โรงงานของบริษัทในรัฐเนวาดา พร้อมทั้ง ลดโคบอลต์ ซึ่งเป็นหนึ่งในวัสดุผลิตแบตเตอรี่ที่มีราคาแพงที่สุดให้เหลือศูนย์ พร้อมวางแผนที่จะผลิตเซลล์แบตเตอรี่ของตัวเองในโรงงานแห่งทั่วโลก รวมไปถึง โรงงานผลิตแบตเตอรี่แห่งใหม่ซึ่งอยู่ในระหว่างการก่อสร้างในเยอรมนี

ขณะที่ คอสตา ซามาราส ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อมแห่งมหาวิทยาลัยคาร์เนกี เมลลอน ระบุว่า หาก Tesla สามารถผลิตแบตเตอรี่ราคาถูกและเชื่อถือได้ โดยมีโคบอลต์เพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย ได้สำเร็จ จะถือเป็นการเพิ่มความสามารถของยานยนต์พลังงานไฟฟ้าได้อย่างแท้จริง

พฤศจิกายน 2563 ฟอร์ด มอเตอร์ ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่สัญชาติอเมริกัน เปิดตัวรถตู้เชิงพาณิชย์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้ารุ่นใหม่ ที่มีชื่อว่า อี-ทรานซิท (E-Transit) หวังแย่งส่วนแบ่งในตลาดรถยนต์ไฟฟ้า และตอบสนองความต้องการของลูกค้าเดิมที่ใช้รถตู้ขนส่งสินค้าอยู่แล้ว เปลี่ยนผ่านสู่สังคมพลังงานสีเขียว

ด้าน จิม ฟาร์ลีย์ (Jim Farley) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) ของฟอร์ด กล่าวแสดงความมั่นใจว่า ยานยนต์ไฟฟ้าเพื่อการพาณิชย์ไฟฟ้าจะสามารถสร้างผลกำไรให้กับฟอร์ดได้ แม้ว่า จะมีคู่แข่งในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ก็ตาม

สำหรับสนนราคาของ E-Transit เริ่มต้นประมาณ 45,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ ล้าน แสนบาทหรือมีราคามากกว่ารุ่นที่ใช้แก๊สประมาณ หมื่นดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น โดยฟอร์ดยังรับประกันชิ้นส่วนไฟฟ้า 100,000 ชิ้นในตัวรถให้ด้วยนานถึง ปี

BMW ผู้ผลิตรถยนต์หรูสัญชาติเยอรมัน เปิดเผยว่า ตั้งแต่ปี 2564 ถึง 2566 BMW จะเพิ่มกำลังการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าอย่างมีนัยสำคัญและมากกว่าแผนเดิมที่วางไว้ พร้อมตั้งเป้าว่า ยานพาหนะ 20% ของ BMW จะเป็นยานยนต์พลังงานไฟฟ้า ภายในปี 2566 แม้ในปีนี้ ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าของ BMW จะอยู่ที่ประมาณ 8% เท่านั้น 

เมื่อต้นเดือนมกราคมปี 2564 GM ได้เปิดตัวแบรนด์ลูกที่มีชื่อว่า "ไบร์ทดรอป" (BrightDrop) โดยจะมุ่งรถบรรทุกสินค้าเชิงพาณิชย์ ซึ่งขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า พร้อมทั้งเปิดเผยด้วยว่า "เฟดเอกซ์" (FedEx) บริษัทขนส่งรายใหญ่ในสหรัฐอเมริกา จะเป็นลูกค้ารายแรกของไบร์ทดรอป โดยไบร์ทดรอปจะส่งมอบรถบรรทุกคันแรกให้แก่ FedEx ภายในปลายปีนี้ เนื่องจาก GM คาดว่า การระบาดของโควิด -19 น่าจะทำให้ตลาดธุรกิจจัดส่งพัสดุและอาหารในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นทะลุ 850,000 ล้านดอลลาร์ภายในปี 2568

ข่าวนี้ยังทำให้ราคาหุ้นของ GM ในวันเดียวกัน (12 มกราคมพุ่งแตะระดับสูงสุด นับตั้งแต่บริษัทเสนอขายหุ้น IPO เมื่อปี 2553

เมื่อวันที่ 11 มกราคมที่ผ่านมา ไป่ตู้ (Baidu) ผู้ให้บริการเสิร์ชเอนจินอันดับหนึ่งของประเทศจีน และจี๋ลี่ (Geely) บริษัทผลิตรถยนต์ในจีน เพิ่งประกาศจะเป็นพันธมิตรกัน เพื่อสร้างยานยนต์พลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะ โดย Baidu จะเป็นผู้พัฒนาความสามารถในการขับขี่อัจฉริยะ ขณะที่ Geely จะเป็นผู้ออกแบบและผลิต การร่วมมือของ Baidu และ Geely ครั้งนี้น่าจะทำให้สมรภูมิยานยนต์ไฟฟ้าในจีน ซึ่งเป็นตลาดรถ EV รายใหญ่ของโลกดุเดือดขึ้นไปอีก

นอกจากนี้ ในเดือนมกราคม 2564 นี้ “ฮุนได” ของเกาหลีใต้ ยังแถลงว่า กำลังเจรจากับ “แอปเปิล” บริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ของสหรัฐฯ ในการร่วมมือกันพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าและแบตเตอรี่ แต่ขณะนี้ยังอยู่ในระหว่างการพูดคุยเบื้องต้น และยังไม่มีข้อสรุปใดๆ

ขณะที่ สื่อเกาหลีใต้รายงานว่า ฮุนไดกำลังหารือกับบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ของสหรัฐฯ และคาดว่าทั้ง บริษัทจะพัฒนาแบตเตอรี่ในโรงงานผลิตที่สหรัฐฯ ซึ่งดำเนินการโดยฮุนได หรือ “เกีย มอเตอร์ส” บริษัทในเครือ

ในรายงานระบุว่า ฮุนได และแอปเปิล กำลังทำงานร่วมกันผ่าน “คาร์เพลย์” ซอฟต์แวร์ของแอปเปิลในการเชื่อมต่อสมาร์ทโฟน “ไอโฟน” เข้ากับยานพาหนะของค่ายรถต่างๆ ทำให้หลังมีข่าวออกมาหุ้นของฮุนไดขยับขึ้นเกือบ 24% ทำสถิติสูงสุดในรอบกว่า ปี 

เมื่อเดือนธันวาคม รอยเตอร์ส ระบุว่า แอปเปิลกำลังพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับรถขับขี่อัตโนมัติ และตั้งเป้าจะผลิตรถยนต์ที่ใช้แบตเตอรี่ที่พัฒนาเองภายในต้นปี 2567

นักวิเคราะห์มองว่า ความร่วมมือระหว่างฮุนได-แอปเปิลจะช่วยให้แอปเปิลลดต้นทุนในการพัฒนาและผลิตรถยนต์อัตโนมัติได้ เพราะสามารถใช้แพลตฟอร์มรถไฟฟ้าของฮุนได และโรงงานที่เกี่ยวข้องได้ 

อย่างไรก็ดี ไม่กี่วันต่อมา ฮุนไดกลับกลับลำ พร้อมระบุว่า บริษัทกำลังเจรจากับหุ้นส่วนหลายรายโดยไม่เอ่ยชื่อ "แอปเปิลอีก

ขณะที่ สื่อหลายสำนักตั้งข้อสังเกตว่า การออกมาแก้ข่าวครั้งนี้ เป็นเพราะ แอปเปิลขึ้นชื่อเรื่องการรักษาความลับของผลิตภัณฑ์และหุ้นส่วน

เมื่อดูพัฒนาการของตลาดรถ EV ในปีที่ผ่านมา จะเห็นว่า เทสลา กำลังเผชิญกับความท้าทายอย่างมาก เนื่องจาก รถยนต์หลายค่ายต่างเร่งลงทุนเพื่อพัฒนานวัตกรรมนี้ อย่างไรก็ดี ตามความคิดของนักวิเคราะห์หลายคนยังมองว่า เทสลา ยังคงยืนอยู่ในตำแหน่ง "ผู้เล่นที่ดีที่สุดเนื่องมาจากมีต้นทุนการวิจัยเกี่ยวกับ "แบตเตอรี่ซึ่งถือเป็นส่วนประกอบของรถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่สำคัญและมีราคาสูงที่สุด เหนือบริษัทคู่แข่งอื่นๆ 

โดยเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา "อีลอน มัสก์ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) ของเทสลาประกาศว่า จะเปิดจำหน่ายแบตเตอรี่ พร้อมระบุว่า เทสลาจะพยายามผลักดันพลังงานยั่งยืน ไม่ใช่การบดขยี้คู่แข่ง อย่างไรก็ตาม ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่า เทสลาจะจัดจำหน่ายแบตเตอรี่ชนิดใด

ทั้งนี้ เทคโนโลยีการผลิตแบตเตอรี่ ถือเป็นข้อได้เปรียบของอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าสหรัฐฯ โดย ก่อนหน้านี้ เทสลา เคยทำข้อตกลงจัดหาแบตเตอรี่ให้แก่ "เมอร์เซเดสผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติเยอรมนี และ "โตโยตา มอเตอร์ผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่นมาแล้ว

ขณะที่ ศาสตรจารย์ พัค ชุล-วาน ผู้เชี่ยวชาญด้านแบตเตอรี่จากมหาวิทยาลัยซอจอง ในเกาหลีใต้ มองว่า การเคลื่อนไหวครั้งนี้จะลดอุปสรรค์ต่างๆ ด้านแบตเตอรี่ให้กับบริษัทยานยนตร์พลังงานไฟฟ้า startup รวมทั้ง เป็นการสร้างภัยคุกคามให้กับผู้ผลิตรถยนต์เจ้าเก่าอื่นๆ พร้อมทั้งมองว่า หากกลยุทธ์ของเทสลาครั้งนี้ประสบความสำเร็จจะทำให้ตลาดรถยนต์พลังงานไฟฟ้าพึ่งพาเทสลามากขึ้นอีก

สำหรับปัจจัยที่ทำให้ตลาดรถยนต์พลังงานไฟฟ้าทั่วโลกเติบโตอย่างรวดเร็วในปีที่ผ่าน มาจากหลายปัจจัย ได้แก่

1. การตระหนักรู้ถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยตามข้อมูลของทบวงพลังงานระหว่างประเทศ หรือ ไออีเอ (IEA) ระบุว่าในปี 2018 (ล่าสุดยานพาหนะทั่วโลกปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 8,258 ล้านตัน หรือคิดเป็นสัดส่วนถึง 24.64 % ของปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกปล่อยออกมาทั่วโลก อยู่ที่ 33,513 ล้านตัน 

2. คุณสมบัติของยานยนต์พลังงานไฟฟ้า โดยราคาเชื้อเพลิงน้ำมันสำหรับรถยนต์ทั่วไปเฉลี่ยจะอยู่ที่ 2.55 ดอลลาร์สหรัฐต่อแกลลอน (ราว 76 บาทในสหรัฐฯ ขณะที่ พลังงานไฟฟ้ามีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 1.21 ดอลลาร์สหรัฐต่อ อี-แกลลอน (e-gallon) เท่านั้น (ราว 36 บาทหรือประหยัดไปประมาณ 50% แม้ว่า รถ EV จะใช้เวลาชาร์จไฟฟ้าที่สถานีนานถึง 75 นาที หรือใช้เวลาชาร์จในบ้านประมาณ วันก็ตาม

นอกจากนี้อีกหนึ่งข้อดีของรถ EV หลายรุ่นคือ ตำแหน่งของแบตเตอรี่จะอยู่บริเวณข้างใต้ ตรงกลางของตัวรถ จะช่วยเรื่องแรงศูนย์ถ่วง (gravity) และความสมดุลย์ (balance) ขณะขับขี่


3. คำสั่งห้ามใช้รถน้ำมัน  กันยายน 2563 กาวิน นิวซัม ผู้ว่าการรัฐแคลิฟอร์เนียประกาศ ห้ามการขายรถยนต์และรถบรรทุกที่ใช้เชื้อเพลิงจากน้ำมัน ตั้งแต่ปี 2035 เป็นต้นไป แต่ไม่ได้ห้ามชาวแคลิฟอร์เนียในการเป็นเจ้าของยานยนต์น้ำมันหรือการขายรถยนต์น้ำมันในตลาดมือสอง

นอกจากนี้ นิวซัม ยังระบุว่า เขาต้องการให้สภานิติบัญญัติของรัฐยุติการออกใบอนุญาตใหม่ สำหรับการใช้เทคโนโลยไฮดรอลิก แฟรคเชอริง สำหรับการขุดเจาะน้ำมันและแก๊ส ภายในปี 2024 ด้วย

พฤศจิกายน 2563 บอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ระบุว่า ทางการจะห้ามการขายรถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงจากน้ำมันเบนซินและดีเซล ตั้งแต่ปี 2030 เป็นต้นไป ตามแผนการที่เรียกว่า "การปฏิวัติอุตสาหกรรมสีเขียว" (green industrial revolution) ที่มุ่งจัดการกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และสร้างงานในอุตสาหกรรมสีเขียว รวมไปถึง อุตสาหกรรมนิวเคลียร์

โดย ผู้นำอังกฤษยังยืนยันด้วยว่า คำสั่งนี้ไม่ได้ห้ามชาวอังกฤษเป็นเจ้าของยานยนต์ที่ใช้พลังงานน้ำมัน การขายยานยนต์ใหม่ที่ใช้ระบบไฮบริด รวมไปถึง การขายรถยนต์น้ำมันในตลาดมือสอง

แผนการห้ามขายรถยนต์พลังงานน้ำมันใหม่นี้ ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงตลาดรถยนต์อังกฤษครั้งใหญ่ เนื่องจาก รถยนต์ใหม่ที่ขายในอังกฤษตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ใช้พลังงานน้ำมันถึง 73.6 เปอร์เซนต์ และเป็นพลังงานไฟฟ้าเพียง 5.5 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

ธันวาคม 2563 ยูริโกะ โคอิเกะ ผู้ว่าการกรุงโตเกียว ประกาศว่า เมืองหลวงของญี่ปุ่นเตรียมห้ามการขายรถใหม่ที่ใช้น้ำมันภายในปี 2030 หรืออีก 10 ปีข้างหน้านี้ เพื่อสนับสนุนเป้าหมายปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ภายในปี 2050 ของรัฐบาลกลางญี่ปุ่น พร้อมระบุด้วยว่า โตเกียวจะเป็นผู้นำโลกในการงดใช้น้ำมันเบนซิน 100 เปอร์เซนต์

สำหรับคำสั่งห้ามขายรถจักรยานยนต์ใหม่ใช้น้ำมัน ทางการกรุงโตเกียววางแผน จะบังคับใช้ภายในปี 2035 หรืออีก ปีหลังจากคำสั่งห้ามขายรถยนต์ใช้น้ำมันใหม่มีผลบังคับใช้ อย่างไรก็ดี คำสั่งดังกล่าว ไม่ได้ห้ามการขายยานยนต์มือสองใช้น้ำมัน และยานยนต์ที่ใช้ระบบไฮบริด


4. มาตรการจูงใจผู้บริโภคของภาครัฐ

แคนาดา ให้ส่วนลดมากถึง 5,000 ดอลลาร์สำหรับรถยนต์ EV และสูงถึง 2,500 ดอลลาร์สำหรับรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริด เฉพาะกับรถยนต์ที่มีราคาต่ำกว่า 45,000 ดอลลาร์ และรถที่มีราคาต่ำกว่า 55,000 ดอลลาร์บางรุ่น

อังกฤษ รัฐบาลอังกฤษให้ส่วนลดสูงสุด 3,500 ปอนด์ สำหรับรถ EV 31 รุ่น

เยอรมนี เตรียมเพิ่มเงินอุดหนุนเป็น 6,000 ยูโรสำหรับรถ EV สำหรับยานยนต์ทีมีราคาไม่เกิน 40,000 ยูโร


นอร์เวย์ ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับยานพาหนะพลังงานแบตเตอรี่ 25%

ฝรั่งเศส ให้เงินอุดหนุนแก่ผู้ซื้อรถ EV สูงสุด 7,000 ยูโร สำหรับยานยนต์ทีมีราคาไม่เกิน 45,000 ยูโร และ 5,000 ยูโร สำหรับรถปลั๊กอินไฮบริด สำหรับยานยนต์ทีมีราคาไม่เกิน 50,000 ยูโร 


ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง