รีเซต

เอกซเรย์ "กลุ่มแบงก์" หุ้นตัวไหนโบรกฯ เพิ่ม-ลดกำไร

เอกซเรย์ "กลุ่มแบงก์" หุ้นตัวไหนโบรกฯ เพิ่ม-ลดกำไร
ทันหุ้น
17 กันยายน 2564 ( 15:30 )
108
เอกซเรย์ "กลุ่มแบงก์" หุ้นตัวไหนโบรกฯ เพิ่ม-ลดกำไร

ทันหุ้น - บล.เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ปรับเพิ่มน้ำหนัก หุ้นกลุ่มธนาคาร จาก Neutral เป็น Overweight หลังจาก i) ความคืบหน้าของการกระจายวัคซีนช่วยหนุนให้เศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้น ii) ธปท.  ออกนโยบายใหม่ซึ่งส่งผลดีต่อธนาคาร โดยช่วยลดแรงดดันจาก NPLs และช่วยลด credit cost ซึ่งจะช่วยชดเชยแรงกดดันในฝั่งของ yield ในปี 2565 iii) หลังปรับประมาณการแล้ว กำไรในปี 2564/65 ยังโตได้ถึง 19%/16% และ iv) ROE ที่เพิ่มขึ้นสนับสนุนให้ re-rate P/BV 

 

ฝ่ายวิจัยมองว่าธีมการลงทุนหลัก คือแรงกดดันในด้านค่าใช้จ่ายสำรองฯ  (credit costs) ลดลงในกรณีของ KBANK SCB ในขณะที่ BBL มีหุ้นที่มีโอกาสโตกำไรจากแรงกดดันต่ำจากหนี้ปรับโครงสร้าง ส่วน KTB TTB เป็นหุ้นที่ valuation ต่ำ ส่วน TISCO ประเด็นการลงทุนอยู่ที่เงินปันผลสูง แต่ KKP ยังคงเผชิญความเสี่ยงกับผลขาดทุนจากสินเชื่อเช่าซื้อ 

 

โดยปรับเพิ่มประมาณการกำไรของ KBANK,TISCO ปรับเพิ่มคำแนะนำหุ้น SCB แต่ปรับลดประมาณการกำไรของ KTB,TTB 

 

แนวปฏิบัติใหม่ ธปท. ช่วยเหลือลูกหนี้เป็นประโยชน์กับธนาคาร โดยเรื่องการจัดการลูกหนี้กลุ่มที่ได้รับกระทบจากโควิด ให้จัดการภายใต้หนี้ปรับโครงสร้าง (TDR) ไปได้อีกสองปีจนถึงปี 2566 และพยายามให้ธนาคารต่าง ๆ ให้ความช่วยเหลือเป็นพิเศษแก่ลูกหนี้ที่ประสบปัญหา ซึ่งรวมถึงการอัดฉีดเม็ดเงินใหม่ และลด EIR หรือลดยอดหนี้ลง แนวทางดังกล่าวทำให้สถานะหนี้ TDR จะยังไม่เป็น NPL และคงมาตรการผ่อนผันการตั้งสำรองฯ ถึงแม้ว่ามาตรการดังกล่าวจะสนับสนุนให้มีการลด EIR ลง ซึ่งจะกดดัน yield และ margin ของสินเชื่อในปี 2565 แต่ผลบวก จากการผ่อนคลายเกณฑ์การจัดชั้น NPL และการตั้งสำรองที่ลดลง ซึ่งมีน้ำหนักมากกว่า ซึ่งจะส่งผลดีกับธนาคารที่เน้นปล่อยสินเชื่อ SME และ สินเชื่อผู้บริโภค 

 

คชจ.สำรองฯ (Credit cost) ที่ลดลงจะช่วยชดเชยแรงกดดันทางด้านของ yield ทั้งนี้ผลตอบแทนสินเชื่อ (Yield) อาจจะถูกกดดันจากการลดดอกเบี้ยเงินกู้ของลูกหนี้ปรับโครงสร้าง (TDR) และการลดหนี้ในส่วนของดอกเบี้ยค้างรับของลูกหนี้ที่ประสบปัญหา และไม่สามารถชำระหนี้ได้ในช่วงที่ COVID-19 ระบาด ฝ่ายวิจัยประเมินว่า ภายใต้สมมติฐานมีการให้ดอกเบี้ยไปที่ 2% กับกลุ่ม TDR ทั้งหมด (15-20% ของสินเชื่อรวม) จะทำให้ yield สินเชื่อของพอร์ตรวมลดลงประมาณ 20-30bps หรือในกรณี หากใช้สมมติฐานว่ามีการลดหนี้ลงประมาณสองในสามของดอกเบี้ยค้างรับของ TDR ผลที่ได้จากการคำนวณก็เป็นเช่นเดียวกัน ซึ่งหลายธนาคารว่า Yield ที่ลดลงจะชดเชยด้วยคชจ.สำรองฯที่ลดลง 

 

SCB พร้อมดำเนินการในระดับเดียวกับก่อนที่ COVID-19 ระบาดแล้ว สำหรับ SCB และ TISCO ส่งสัญญาณว่าค่าใช้จ่ายสำรองฯ (credit cost) จะลดลงมาอยู่ในระดับปกติในปี 2565 ซึ่งอาจจะทำให้ credit cost จะลดลง 30bps ส่วนค่าใช้จ่ายสำรองฯ ของ KTB น่าจะลดลงเนื่องจาก NPL coverage สูงเกินเกณฑ์อยู่มาก และสูงกว่า benchmark สำหรับ BBL น่าจะเป็นผู้ตามในตลาดเนื่องจากมี สำรองฯส่วนเกินก้อนใหญ่เพื่อรองรับหนี้เสีย และมีกลุ่มหนี้ให้กับลูกหนี้ที่มีปัญหาต่ำ คาดว่าคชจ.สำรองฯของ TMB และ KBANK  จะลดลงเล็กน้อย เพราะธนาคารอาจจะไม่มีมาตรการตัดหนี้สูญในอัตราเร่ง ในขณะที่คชจ.สำรองฯของ KKP จะยังคงอยู่ในระดับสูงจากผลขาดทุนก้อนใหญ่จากสินเชื่อเช่าซื้อ (H/P) 

 

ฝ่ายวิจัยปรับสมมติฐานสำคัญ และประมาณการกำไรปี 2565/66 จาก yield ที่ลดลงเพราะมีการปรับลด EIR, ต้นทุนทางการเงินลดลงเนื่องจากได้รับยกเว้นไม่ต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุน FIDF อีกหนึ่งปี จนถึงสิ้นปี 2565 และ credit cost ลดลง ปรับเพิ่มประมาณการกำไรปี 2565/66 ของ KBANK ขึ้นอีก 6%/3% แต่ปรับลดประมาณการกำไรของ KTB และ TTB ลงปีละ 8%/9 ซึ่งหลังจากที่ปรับประมาณการดังกล่าวแล้ว ยังคงคาดว่ากำไรในปี 2564/65 จะโตได้ถึงสองหลักที่ 19%/16% 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง