ตลท.ชี้ยังไม่จำเป็นต้องมีมาตรการพิเศษ ดูแลการซื้อขาย รับมือภาษีทรัมป์ 1 ส.ค.นี้

นายอัสสเดซ คงสิริ กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยในงานพัฒนาศักยภาพผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจระดับสูง (พศส.) ประจำปี 2568 “รู้ทันโลกการเงิน ทลายหนี้สู่ความยั่งยืน" ที่จัดโดยสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ ว่า การเจรจาภาษีการค้าไทย-สหรัฐในอีก 3 สัปดาห์ก่อนจะมีผลสรุปว่าจะบังคับใช้อัตราภาษีที่ร้อยละ 36 ในวันที่ 1 ส.ค.ปีนี้หรือไม่ เชื่อว่ารัฐบาลจะสามารถหาจุดสมดุลของการเจรจาได้ หากดูทิศทางความเคลื่อนไหวของตลาดที่ผ่านมา ได้มีการวิเคราะห์ไว้แล้ว นักลงทุนมีข้อมูลเพียงพอในการตัดสินใจ ดังนั้น คาดว่าความผันผวนน่าจะอยู่ในวงแคบ ไม่น่าจะมีช็อค แต่ยังต้องติดตามดู trigger point ด้วย
สำหรับการเตรียมรับมือกับผลลัพธ์ภาษีสหรัฐครั้งนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่จำเป็นต้องมีมาตรการพิเศษออกมาดูแลตลาด เพราะเชื่อว่ามาตรการปกติจะเพียงพอในการรับมืออยู่แล้ว อาทิ Circuit Breaker // Ceiling & Floor เป็นต้น เนื่องจากรอบนี้ไม่น่าจะมีเซอร์ไพรส์ เหมือน liberation day เมื่อเดือนเมษายนที่ประกาศภาษีครั้งแรก ที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน และในช่วงเวลานี้มองว่าตลาดับรู้และมีข้อมูลเพียงพอในการตัดสินใจลงทุนแล้ว ผลลัพธ์น่าจะไม่เกินความคาดหมาย
อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับ วันนี้ตลาดมีความผันผวนจากปัจจัยหลายอย่าง ทั้งเรื่องภาษีสหรัฐที่ยังไม่มีความชัดเจน การขยายตัวที่ต่ำของเศรษฐกิจเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในภูมิภาค มีโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ต้องแก้ไขปรับปรุง และนักลงทุนอาจกังวลต่อเสถียรภาพทางการเมือง แต่เศรษฐกิจไทยยังขยายตัวอยู่ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประเมินว่า GDP ปีนี้จะเติบโตได้ที่ร้อยละ 2.3 แต่ยังมีความไม่แน่นอนที่จะกดดัน GDP ให้โตต่ำลงได้
ส่วนบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ภาษีสหรัฐคงกระทบการส่งออกและอุตสาหกรรมของบจ. ที่เกี่ยวข้องของไทย ซึ่งนักลงทุนต้องไปวิเคราะห์ข้อมูลให้ดีในรายละเอียด แต่บจ.ยังมีการเติบโตอยู่ ไม่ได้อยู่นิ่ง หรือถดถอย โดย Valuation // Dividend Yield ก็ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับภูมิภาค ขณะที่ P/E อยู่ในระดับต่ำ ซึ่งพื้นฐานเศรษฐกิจไทยยังเติบโต ไม่ใช่ถดถอย อีกทั้ง หากมองตามพื้นฐานของนักวิเคราะห์หลายแห่งมองว่า Downside Risk ค่อนข้างต่ำ การท่องเที่ยวยอดใช้จ่ายต่อหัวก็เพิ่มขึ้น เฮลธ์แคร์ยังเติบโต ดังนั้น ตลาดหุ้นไทยยังมีความน่าสนใจ
และในช่วงครึ่งปีหลัง หากการเจรจาภาษีสหรัฐ มีข้อตกลงที่ชัดเจนและไทยสามารถแข่งขันด้านการค้าระหว่างประเทศได้ ก็จะทำให้นักลงทุนมีความมั่นใจมากขึ้น และวิเคราะห์ได้ว่าอุตสาหกรรมไหนสามารถแข่งขันได้ ส่วนสิ่งที่อยากจะเห็น คือ การใช้งบประมาณของประเทศเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและลงทุน นอกจากนี้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นนักลงทุน ตลาดหลักทรัพย์ฯ ยังเดินหน้าโครงการ JUMP+ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้แก่บจ.ที่สนใจ ซึ่งปัจจุบันแสดงความสนใจเข้ามาแล้วราว 40 ราย // ลงทุนในแพลตฟอร์มที่จะมาช่วยบจ.ลดต้นทุน ปรับตัวตามกติกาการแข่งขันในตลาดโลกได้ เช่น CBAM หรือมาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป ตลาดก็ได้จดทำแพลตฟอร์มกลางในการคำนวณคาร์บอน (Carbon Calculator )
ผู้สื่อข่าวถามว่า ในช่วงสั้นๆ 3 สัปดาห์จากนี้ก่อนที่อัตราภาษีการค้าสหรัฐจะเรียกเก็บจากไทยเราชัดเจน จำเป็นต้องมาตรการพเศษอะไรออกมาดูแลภาวะตลาดหุ้นไทยหรือไม่นั้น นายอัสสเดซ กล่าวว่า " ผมวาดูจาก Movement จากข้อมูลตลาด นักลงทุน น่าจะวิเคราะห์เอาไว้แล้ว น่าจะอยู่ในวงแคบ ความผันผวนในวงแคบคิดว่านักลงทุนมีข้อมูลเพียงพอแล้วที่จะตัดสินใจ เดี๋ยวต้องดู Trigger Point ซึ่งรัฐบาลก็พยามอย่างเต็มที่ในการจุดสมดุล คงไม่ยอมง่ายๆ ต้องดูผลประโยชน์ประเทศ คงหาจุดที่ลงตัวให้ไปต่อได้ ถ้าเกิด Shock เราก็ดูอยู่ เราคิดว่าทุกวันนี้ตลาดมีกลไกที่จะรับแรงผันผวนได้ ยกตัวอย่าง Circuit Breaker 8% ,15% ,20% มี Ceiling & Floor มาตรการที่เราใช้ที่ผ่านมาในวัน liberation day อันนั้นเป็นการประกาศที่ไม่มีใครคาดมาก่อน ...เราดูตลอดว่ามีอะไรที่จำเป็นต้องทำในระยะสั้นหรือป่าว คิดว่ามาตรการที่เป้นแนวปฎิบัติ (Practice) ที่เป็นสากลที่เขาใช้กัน การมีข้อมูลเพียงพอ ไม่เซอร์ไพร์สเกินไป กลไกที่มีอยู่น่าจะเพียงพอ"
Tag
ยอดนิยมในตอนนี้
