รีเซต

ระวังกับดัก! ขายของออนไลน์ ไม่มีหน้าร้าน ใช่ว่าไม่มี ต้นทุน

ระวังกับดัก! ขายของออนไลน์ ไม่มีหน้าร้าน ใช่ว่าไม่มี ต้นทุน
เส้นทางเศรษฐี
27 กันยายน 2564 ( 17:45 )
90
ระวังกับดัก! ขายของออนไลน์ ไม่มีหน้าร้าน ใช่ว่าไม่มี ต้นทุน

ใช่ว่าการขายของออนไลน์ จะเป็นการจับเสือมือเปล่าแบบไม่มี ต้นทุน อย่างที่หลายคนเข้าใจ ก่อนที่จะเริ่มต้นขายของออนไลน์ เว็บไซต์ POSTFAMILYTHAILAND จึงลองมาทำความรู้จักต้นทุนตั้งต้น ที่ร้านขายของออนไลน์ต้องรู้ว่ามีต้นทุนอะไรบ้างที่ควรต้องรู

 

1. การสต๊อกสินค้า

 

ในกรณีที่เป็นการขายสินค้าที่ต้องสต๊อกของ ย่อมมีต้นทุนที่จะต้องลงทุนซื้อสินค้าเข้ามาเก็บไว้ให้พร้อมส่งทันทีที่มีลูกค้าสั่งซื้อ นี่จึงเป็นต้นทุนสำคัญที่พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ต้องนำมาคิดเป็นต้นทุนหลักของร้าน นอกจากต้นทุนในการสต๊อกสินค้าแล้ว อย่าลืมคิดต้นทุนอื่นๆ ที่พ่วงมาด้วย เช่น ค่าขนส่งจากผู้ค้าส่ง ค่าเดินทางหรือค่าน้ำมันในกรณีที่เดินทางไปรับเอง เป็นต้น

 

2. ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอินเทอร์เน็ต

 

ต้นทุนสุดเบสิคที่เกิดขึ้นกับแทบทุกธุรกิจ ถึงแม้จะเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้มาก แต่จำเป็นต้องนำมาคิดเป็นต้นทุนด้วยโดยเฉพาะผู้ค้าออนไลน์ ที่จำเป็นต้องใช้อินเทอร์เน็ตในการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าตลอดเวลา ยิ่งขนาดของกิจการใหญ่มากเท่าไหร่ ยิ่งต้องมีต้นทุนเรื่องของค่าน้ำ ค่าไฟ รวมถึงค่าอินเทอร์เน็ตมากตามไปด้วย

 

ฉะนั้น ในแต่ละเดือนจะต้องมีการรวมค่าน้ำค่าไฟหรือค่าอินเทอร์เน็ตที่ใช้ในการขายของออนไลน์เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนด้วย

 

3. อุปกรณ์ที่ใช้ในการแพ็กสินค้า

 

แน่นอนว่าการขายของออนไลน์จะต้องมีการส่งสินค้าเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการขาย จึงจะมีต้นทุนเรื่องอุปกรณ์ที่ใช้แพ็กสินค้า เช่น กล่อง เทปกาว แผ่นสติ๊กเกอร์ติดชื่อ เครื่องพริ้นต์ชื่อขนาดเล็ก ฯลฯ

 

ดังนั้น ในการกำหนดราคาสินค้า จึงต้องนำเอาค่าใช้จ่ายส่วนนี้เข้าไปคิดเป็นต้นทุนด้วย โดยอาจจะมีการบวกค่ากล่องค่าอุปกรณ์ยิบย่อยเข้าไปเป็นต้นทุนก่อนตั้งราคาขาย เพื่อไม่ให้ต้นทุนส่วนนี้กินกำไรที่เราควรจะได้นั่นเอง

 

4. ค่าขนส่งสินค้า

 

ค่าขนส่งสินค้า” เป็นต้นทุนที่ปฏิเสธไม่ได้สำหรับผู้ค้าออนไลน์ และเป็นต้นทุนที่ส่งผลว่าแม่ค้าจะได้กำไรมากหรือไม่ ดังนั้น ร้านค้าออนไลน์ควรเปรียบเทียบผู้ให้บริการขนส่งที่คิดค่าบริการในอัตราที่เหมาะสม ส่งไว และส่งสินค้าถึงมือลูกค้าอย่างปลอดภัยได้

 

นอกจากจะสามารถช่วยลดต้นทุนค่าส่งสินค้าได้แล้ว ยังสร้างความประทับใจให้กับลูกค้า เปิดโอกาสให้กลับมาใช้บริการซ้ำได้อีกด้วย โดยร้านค้าอาจเลือกใช้รูปแบบการส่งสินค้าให้สอดคล้องกับประเภทสินค้าของตัวเอง เช่น แยกคิดค่าส่งกับค่าสินค้าโดยไล่ระดับราคาตามจำนวนสินค้าหรือขนาดสินค้าในแต่ละรอบ

 

แต่ในบางกรณีที่ค่าส่งสินค้าตายตัว อาจเลือกใช้วิธีรวมค่าขนส่งสินค้าเข้าไปในราคาสินค้าตั้งแต่ต้น เช่น “ฟรี EMS ทุกชิ้น” “ครบ 300 บาทส่งฟรี” หากราคารวมไม่สูงจนเกินไปจะช่วยให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้าง่ายขึ้นได้

 

 

5. ทำการตลาดออนไลน์

ค่าทำการตลาดออนไลน์ เป็นต้นทุนสำคัญในการ ขายของออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นค่าโฆษณาบนสื่อออนไลน์ต่างๆ เช่น Facebook, Instagram, TikTok ฯลฯ ล้วนมีค่าบริการในการทำโฆษณา ยิ่งต้องการให้โฆษณาเข้าถึงคนบนโลกออนไลน์จำนวนมากเท่าไร ก็ต้องแลกด้วยต้นทุนที่เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน เช่น ค่า Boost Post, Facebook Ads เป็นต้น

ส่วนต้นทุนในส่วนนี้จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับกลยุทธ์การตลาดของแต่ละร้าน และค่าบริการของแต่ละแพลตฟอร์ม ดังนั้น การขายสินค้าออนไลน์จึงควรเตรียมต้นทุนในเรื่องของการทำการประชาสัมพันธ์ หรือควรจะมีการวางแผนก่อนจ่ายเงินโฆษณาก็จะช่วยให้ได้การโฆษณานั้นมีประสิทธิภาพคุ้มค่ากับต้นทุนที่เสียไปมากที่สุด

6. ค่าจ้างออกแบบ

ในช่วงเริ่มต้นการขายสินค้าออนไลน์ต้องมีการสร้างแบรนด์ เพื่อสร้างการรับรู้ และเป็นที่จดจำให้กับลูกค้าให้ได้ โดยอาจมีหลายองค์ประกอบ เช่น การออกแบบ โลโก้หรือสัญลักษณ์ของแบรนด์ การสร้างเว็บไซต์ เปิดเพจเฟซบุ๊กออกแบบรายการสินค้า ฯลฯ

ในกรณีที่ไม่สามารถออกแบบหรือลงมือทำเองได้ อาจจะมีต้นทุนในการจ้างงานนักออกแบบในการทำโลโก้ แต่ในกรณีที่พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์มีทักษะในการออกแบบอยู่แล้ว สามารถทำงานส่วนนี้ได้เอง ก็จะช่วยประหยัดต้นทุนในส่วนนี้ได้มากทีเดียว

7. ระบบจัดการหลังบ้าน

ร้านค้าออนไลน์หลายแห่งเริ่มหันมาใช้บริการในการ “ไลฟ์” หรือถ่ายทอดสดในออนไลน์ เพื่อสร้างความใกล้ชิดกับลูกค้า รวมถึงช่วยกระตุ้นยอดขาย ในกรณีที่การไลฟ์ขายของออนไลน์ที่มีผู้ชมจำนวนมาก จะต้องอาศัยระบบซอฟต์แวร์ที่ช่วยจัดการข้อมูลลูกค้าแบบอัตโนมัติเพื่อลดการใช้แรงงานคน ช่วยลดความผิดพลาดของคน (Human error) และช่วยร่นระยะเวลาในการทำงานด้วย

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง