รีเซต

นักธุรกิจใจบุญ บุกสวนทุเรียนนนท์ เหมาทั้งสวนกว่า 300 ลูกเป็นเงินกว่า 1 ล้าน

นักธุรกิจใจบุญ บุกสวนทุเรียนนนท์ เหมาทั้งสวนกว่า 300 ลูกเป็นเงินกว่า 1 ล้าน
TNN ช่อง16
24 พฤษภาคม 2564 ( 19:25 )
190
นักธุรกิจใจบุญ บุกสวนทุเรียนนนท์ เหมาทั้งสวนกว่า 300 ลูกเป็นเงินกว่า 1 ล้าน






     



เมื่อเวลา 14.30 น วันที่ 24 พ.ค. 64 ที่สวนทุเรียนยายละมัยตำบลบางกร่าง อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี ดร.กนกวรรณ วิลาวัลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พล.ต.ท.อำพล บัวรับพร ผบช.ภ.1 พล.ต.ต ไพศาล วงศ์วัชรมงคล ผบก. ภ.จว. นนทบุรี ดร.ชัยรัตน์ จํานงค์การ ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประธาน กต.ตร. จว.นนทบุรี (ภาคประชาชน) พร้อมเจ้าหน้าที่จากสำนักงานเกษตรจังหวัดนนทบุรี คณะนักศึกษา ปปร.รุ่นที่ 24 และคณะ กต.ตร. จังหวัดนนทบุรี เข้าเยี่ยมชมสวนทุเรียน ของยายละมัย ซึ่งเป็นสวนทุเรียนเมืองนนท์เก่าแก่ที่ยังคงเหลือเพียงไม่กี่แห่งในจังหวัดนนทบุรี พบว่าในวันนี้ มีผลิตผลของลูกทุเรียนออกลูกเต็มต้น อยู่ในสวนเป็นจำนวนหลายร้อยต้น 




ทางคณะรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้พูดคุย และให้กำลังใจ กับเจ้าของสวน ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหา การแพร่ระบาด ของโรคโควิด-19 หลังจากพูดคุย แลกเปลี่ยนความรู้กับเกษตรกรชาวสวนทุเรียนแล้ว ทางดร.ชัยรัตน์ ซึ่งเป็นนักธุรกิจชื่อดัง และรู้จักกันดีเพราะทุกปีที่ผ่านมา จะเป็นผู้ที่ประมูลทุเรียนพันธ์ก้านยาว ราคา 8 แสนบาทแพงที่สุดในโลก โดยนำเงินที่ได้จากการประมูลช่วยเหลือหน่วยงานการกุศลหลายแห่ง ตามที่เป็นข่าวโด่งดังมาแล้ว จึงตัดสินใจเหมาทุเรียนทั้งสวน โดยให้นางกนกวรีณ รัฐมนตรีช่วยกระทรวงศึกษาธิการปีนบันไดตัดลูกทุเรียนด้วยตัวเองเพื่อเป็นเกียรติแก่คณะที่มาในวันนี้



   

ดร.ชัยรัตน์ กล่าวว่าปัจจุบันจากปัญหาการแพร่ระบาดของ covid 19 ทำให้ไม่สามารถจัดงานประมูลการกุศลดังกล่าวได้ ในวันนี้เพื่อเป็นการสนับสนุน ผลผลิตทางเกษตร และเป็นการประชาสัมพันธ์ ทุเรียนนนท์ที่มีชื่อเสียงว่าเป็นราชินีของผลไม้ ที่เลื่องลือชื่อมากเพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจ ในช่วงยุค covid-19 ระบาดอยู่ขณะนี้ ดร.ชัยรัตน์ พร้อมเพื่อนนักธุรกิจ จึงตัดสินใจ เหมาทุเรียนทั้งสวน ประกอบไปด้วยทุเรียนหมอนทอง 300 กว่าลูก ก้านยาวกว่า 10 ลูก เป็นเงินทั้งสิ้น กว่า 1 ล้านบาท เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจ รวมทั้งส่งเสริมชาวสวนทุเรียนให้ช่วยกันอนุรักษ์ราชินีผลไม้ที่ลือชื่อของจังหวัดไม่ให้สูญพันธ์หรือร่อยหรอลงไปมากกว่านี้ ทำให้นายสำเริง สุนทรแสง อายุ 60 ปี เจ้าของสวนยิ้มแก้มปริดีใจกันทั้งครอบครัว 

   

ดร.ชัยรัตน์ หรือ ที่ชาวนนทบุรี มักเรียกติดปากกันว่า ดร.แก้ว เปิดเผยเพิ่มเติมว่าทุกๆปีที่เราช่วยเหลือชาวเกษตรกรชาวจังหวัดนนทบุรี ในปีนี้มีโควิดเข้ามาระบาดใหม่อีกครั้ง ตนจึงเป็นห่วงชาวสวนทุกคนเพราะทำให้การค้าขายยากลำบากขึ้น จึงมีแนวคิดว่าทำอย่างไรให้ผลผลิตขายออกได้หมดและได้ราคา ตนจึงเข้ามาส่งเสริมซึ่งทุเรียนของนนทบุรีเป็นทุเรียนที่อร่อยที่สุดในประเทศ ทำให้เป็นเอกลักษณ์และหาซื้อที่อื่นไม่ได้ และแสดงว่าเป็นของแท้จะมีป้ายจากผู้ว่าจังหวัดนนทบุรีเป็นผู้ติดให้ เป็นการป้องกันไม่ให้เกิดของปลอมซ้ำขึ้นซึ่งนนทบุรี เว้นการประมูลมาประมาณ 3 ปีแล้วเพราะมีโควิดระบาดหนัก ตนจึงเข้ามาเยี่ยมชมที่สวนและอุดหนุนราคาเหมาทั้งหมดประมาณ 1 ล้านกว่าบาท เราจะเอาไปกระจายต่อและถ้ามีปะชาชนอยากลองชิมตนจะจัดการให้ได้ลองชิมกัน ถือเป็นการช่วยเหลือสังคม


    

นางกนกวรรณ รมช.กระทรวงศึกษาธิการ  เปิดเผยว่า  ปีก่อนเกิดน้ำท่วมซึ่งทำให้ทุเรียนเสียหาย แต่ทางผู้ผลิตใช้ภูมิปัญญาในการพัฒนาเกษตกรให้ยั่งยื่น กลายเป็นพลิกฟื้นจากการได้รับความเสียหายมาสักพัก จึงทำให้วางใจได้ว่าผู้บริโภคจะได้กินอย่างปลอดภัย วันนี้จึงอยากขอบคุณทาง ดร.แก้ว ที่เชิญตนมาร่วมงานในครั้งนี้ ทำให้ตนรู้สึกภูมิใจมาก และหลักจากนี้จะนำไปเผยแพร่ให้ชาวเกษตกรที่ทำสวน ซึ่งในสวนนี้มีความปลอดภัยและความสะอาดสูง จะมีการเปิดวิทยุติดตามไว้ที่ต้อนทุเรียนต่างๆเพื่อเป็นการไล่สัตว์ที่เป็นศัตรูของต้นทุเรียน  เช่น กระรอก ก่อนเข้ามาจะให้สแกนคิวอาร์โค๊ดเพื่อดูทุเรียนแต่ละลูกว่าเป็นของแท้ไหม ลูกค้าจะได้รับประทานอย่างมีความสุขเอร็ดอร่อย  

  

ส่วนนายสำเริง เจ้าของสวน กล่าวว่า จริงๆแล้ววันนี้เรานัดตัดทุเรียนกัน แต่คนที่จองทุเรียนไว้ท่านเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรี และเป็นประธานกต.ตร.จังหวัดอีกด้วยได้มีการเชิญผู้ใหญ่หลายๆท่านเข้ามาร่วมงาน เราเองเป็น ชาวสวนในส่วนนี้ทางเรามีเจ้าหน้าที่ อสม. เข้ามาในการคัดกรองตรวจอุณหภูมิ  เพราะมีผู้มาร่วมงานหลายท่านจึงต้องคัดกรองเป็นพิเศษ ซึ่งทุเรียนนนท์จองกันมาข้ามปีแล้วเพราะผลผลิตน้อยมาก มีทั้งหมดเพียง 3,000 ลูก คนที่จองไว้จะจองเป็นต้น จึงทำให้ปริมาณที่ออกมาไม่พอจำหน่ายด้านนอก ปัญหาในการปลูกคือความเค็มของน้ำ และช่วงหน้าแล้ง จะมีปัญหาแบบนี้ทุกปีแต่ทางเราก็แก้ปัญหาได้ จึงอยากฝากถึงชาวสวนทุกคนว่า สวนหลักๆอาจจะเหลือเพียงไม่กี่สวนแล้ว เพราะปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ทำให้ทุเรียนนนท์เจอภาวะการแห้งแล้งเป็นอย่างแรก ผู้ทำสวนจะต้องคำนึงถึงเรื่องปัญหาพวกนี้ด้วย และต้องมีน้ำสำรองไว้ใช้ และขึ้นอยู่กับสถานที่ล้อมรอบด้วย ให้แก้ปัญหาให้ถูกจุด ก็จะได้ผลผลิตตามที่ต้องการ




ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง