ฝนตก กทม.วันนี้! 4 ต.ค. 65 เช็กพื้นที่ "ฝนตกหนัก" - "น้ำท่วม กทม." ล่าสุด
ข่าววันนี้ พยากรณ์อากาศกรุงเทพ ฝนตก น้ำท่วมวันนี้ 4 ตุลาคม 2565 ติดตามสถานการณ์ "ฝนตกหนัก" หลายพื้นที่ และ "น้ำท่วม กทม.วันนี้" เช็กด่วนจุดน้ำท่วม กทม. ฝนตกที่ไหนบ้าง?
พยากรณ์อากาศวันนี้ 4 ตุลาคม 2565 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน และมีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นเข้าปกคลุมภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ในขณะที่มีลมตะวันออกพัดปกคลุมภาคใต้ฝั่งตะวันออก และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้มีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก และมีฝนตกหนักมากบางแห่งบริเวณภาคกลาง และภาคใต้ฝั่งตะวันออก ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มในระยะนี้ไว้ด้วย
สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง
อนึ่งในช่วงวันที่ 5-9 ต.ค. 65 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมบริเวณภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และทะเลจีนใต้
"กรุงเทพ ฝนตกไหม"
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล : มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.
ในรอบ 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา (07.00 น.): กรุงเทพมหานคร ฝนตกปานกลางถึงหนัก ปริมาณฝนสูงสุดวัดได้ที่จุดวัดศูนย์ราชการ-ถ.แจ้งวัฒนะ หลักสี่ 165.5 มม. สนข.บางนา 126.0 มม. จุดวัด ถ.เทศบาลสงเคราะห์ เขตจตุจักร 120.0 มม. ส.คลองบางจาก เขตพระโขนง 118.0 มม.
มีรายงานจุดเร่งการระบายน้ำในถนนสายหลัก 20 จุด (ปัจจุบันแห้งเป็นปกติ)
https://dds.bangkok.go.th/flood_report.php
พยากรณ์อากาศกรุงเทพ ฝนตก
กทม.ระวังน้ำท่วม
5 - 13 ต.ค. นี้ กทม. เฝ้าระวังสถานการณ์ระดับน้าในแม่น้ำเจ้าพระยา
เนื่องจากน้ำทะเลหนุนสูง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น รวมทั้งมีการระบายน้ำบริเวณท้ายเขื่อนเจ้าพระยา อาจทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา "เพิ่มสูงขึ้นกว่าปกติ" โดยระดับน้ำจะมีความสูงประมาณ 1.70 - 2.00 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง
หากพบปัญหา "น้ำท่วมขัง" สามารถสแกน QR Code แจ้งได้ที่ traffy fondue และ Facebook: ศูนย์ประสานงานน้ำท่วม กทม.
ทั้งนี้ กรมอุทกศาสตร์ ได้แจ้งระดับน้ำให้ทราบล่วงหน้าไว้ที่ "สภาวะน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา" ในเว็บไซต์ของ กรมอุทกศาสตร์
ฝนตกหนัก กทม. ที่ไหนบ้าง
- วันที่ 4 ตุลาคม 2565 / เวลา 11.00 น. พื้นที่ กทม. ไม่มีฝนอุณหภูมิที่สำนักการระบายน้ำ 29องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 77 %
- วันที่ 4 ตุลาคม 2565 / เวลา 12.00 น. พื้นที่ กทม. ไม่มีฝนอุณหภูมิที่สำนักการระบายน้ำ 29 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 74 %
- วันที่ 4 ตุลาคม 2565 / เวลา 13.00 น. พื้นที่ กทม. ไม่มีฝนอุณหภูมิที่สำนักการระบายน้ำ 29องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 73 %/มีกลุ่มฝนจากบางปะกงเคลื่อนตัวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ แนวโน้มอีก1ชม. เข้าถึงพื้นที่ กรุงเทพมหานครฯ
สถานการณ์ระดับแม่น้ำเจ้าพระยา
สถานีวัดระดับน้ำ "คลองบางเขนใหม่"
- ปริมาณน้ำสูงสุด เวลา 14.45 น. 2.31 ม.รทก.
- ระดับความสูงแนวเขื่อน 3.5 ม.รทก.
- ระดับน้ำต่ำกว่าแนวเขื่อน -1.19 ม.รทก. (ระดับน้ำเตือนภัย 3.3 ม.รทก.)
สถานีวัดระดับน้ำ "ปากคลองตลาด"
- ปริมาณน้ำสูงสุด เวลา 14.10 น. 2.00 ม.รทก.
- ระดับความสูงแนวเขื่อน 3.0 ม.รทก.
- ระดับน้ำต่ำกว่าแนวเขื่อน -1.00 ม.รทก. (ระดับน้ำเตือนภัย 2.8 ม.รทก.)
สถานีวัดระดับน้ำ "บางนา"
- ปริมาณน้ำสูงสุด เวลา 12.00 น. 1.76 ม.รทก.
- ระดับความสูงแนวเขื่อน 2.8 ม.รทก.
- ระดับน้ำต่ำกว่าแนวเขื่อน -1.04 ม.รทก (ระดับน้ำเตือนภัย 2.6 ม.รทก.)
สถานีบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- น้ำไหลผ่านสูงสุด 3,218 ลบ.ม./วินาที
- กทม. สามารถรองรับปริมาณน้ำเหนือได้ประมาณ 2,500 - 3,000 ลบ.ม./วินาที
บริเวณป้อมพระจุลจอมเกล้า
วันที่ 5 ตุลาคม 2565
- น้ำลงเต็มที่ เวลา 05.55 น. ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง 0.86 เมตร
- น้ำลงเต็มที่ เวลา 15.36 น. สูงกว่าระดับทะเลปานกลาง 1.81 เมตร
บริเวณหน้ากองบัญชาการกองทัพเรือ
วันที่ 5 ตุลาคม 2565
- น้ำลงเต็มที่ เวลา 07.54 น. สูงกว่าระดับทะเลปานกลาง 0.87 เมตร
- น้ำขึ้นเต็มที่ เวลา 18.03 น. สูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง 1.86 เมตร
ติดตามข้อมูลตรวจวัดระดับน้ำ ได้ที่
- สำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร https://weather.bangkok.go.th/water/
- ศูนย์สนับสนุนข้อมูลการแจ้งเตือน ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กองทัพเรือ
หมายเหตุ : ม. คือ เมตร / รทก. คือ ระดับน้ำทะเลปานกลาง เป็นการอ้างถึงความสูงของพื้นที่ต่าง ๆ โดยใช้ระดับน้ำทะเลเป็นเกณฑ์
ข้อมูลจาก กรุงเทพมหานคร
--------------------
เกาะติดสถานการณ์โควิด-19 ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก
ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.
คลิกเลย >>> TrueID Community <<<