รีเซต

น้ำโขงยังส่อวิกฤติ เหลือ 5 เมตร ลำน้ำสาขาแห้ง กระทบเลี้ยงปลากระชัง ชป.เร่งกักน้ำ

น้ำโขงยังส่อวิกฤติ เหลือ 5 เมตร ลำน้ำสาขาแห้ง กระทบเลี้ยงปลากระชัง ชป.เร่งกักน้ำ
มติชน
8 กันยายน 2563 ( 09:38 )
53
น้ำโขงยังส่อวิกฤติ เหลือ 5 เมตร ลำน้ำสาขาแห้ง กระทบเลี้ยงปลากระชัง ชป.เร่งกักน้ำ

เมื่อวันที่ 8 กันยายน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ จ.นครพนม ในช่วงนี้สภาพน้ำโขงยังแปรปรวน มีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง ล่าสุดอยู่ที่ระดับประมาณ 5 เมตร ห่างจากจุดวิกฤติล้นตลิ่ง ถึง 8 เมตร คือที่ 13 เมตร ถือว่า ต่ำสุดในรอบ 4 -5 ปี หากเทียบกับช่วงเดือนเดียวกัน ผลกระทบจากปริมาณฝนเฉลี่ยสะสมต่ำ บวกกับเกิดปัญหาฝนทิ้งช่วง ทำให้ปริมาณน้ำในลำน้ำสาขาสายหลักปีนี้ ต่ำกว่าทุกปีที่ผ่านมา ล่าสุดพบว่า ปริมาณน้ำในลำน้ำสาขาสายหลัก ลำน้ำอูน ลำน้ำสงคราม และลำน้ำก่ำ มีปริมาณเก็บ แค่ประมาณ 20 -30 เปอร์เซ็นต์ของความจุ และยังมีการระบายลงน้ำโขงรวดเร็ว หลังระดับน้ำโขงต่ำ โดยทางชลประทานจังหวัดนครพนม ได้เตรียมพร้อม เร่งวางแผนเก็บกักน้ำ ในอ่างเก็บน้ำ รวมถึงในระบบชลประทาน ที่สามารถเก็บกักได้ เตรียมพร้อมรับมือภัยแล้ง ไว้ช่วยเหลือเกษตรกรที่ขาดแคลนน้ำ

 

 

ขณะเดียวกันหลังน้ำโขงต่ำ ทำให้ลำน้ำสาขาสายหลักแห้ง ได้ส่งผลกระทบต่อชาวบ้านที่มีอาชีพเลี้ยงปลากระชัง ตามลำน้ำสาขาสายหลัก โดยเฉพาะลำน้ำอูน ลำน้ำสงคราม ในช่วงนี้ เกษตรกร เลี้ยงปลากระชัง ต้องลดปริมาณการเลี้ยง และเฝ้าดูแลใกล้ชิด เนื่องจากระดับน้ำต่ำ ทำให้ปลาเสี่ยงขาดออกซิเจน น็อกน้ำตาย ต้องเร่งนำส่งขาย บางรายต้องชะลอการเลี้ยง ทำให้ขาดรายได้


 

ด้านนายธานี วันดี อายุ 44 ปี เกษตรกรเลี้ยงปลากระชัง ลำน้ำสงคราม ต.ไชยบุรี อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม เปิดเผยว่า ปีนี้เลี้ยงปลากระชังยากมาก เนื่องจากระดับน้ำโขงแห้ง ทำให้ ลำน้ำสาขาผันผวน ยิ่งช่วงนี้ลดระดับเร็ว ปริมาณน้ำน้อย กระทบเลี้ยงปลา ต้องคอยดูแลใกล้ชิด เพราะปริมาณน้ำต่ำ ทำให้อุณหภูมิในน้ำสูง เสี่ยงต่อปัญหาขาดอออกซิเจน ปลาน็อกน้ำตาย และต้องลดปริมาณปลาต่อกระชัง ไม่ให้แออัด และให้ อาหารน้อยลง โดยปกติในช่วงเดือน สิงหาคม – กันยายน จะมีปริมาณน้ำสูง แต่ปีนี้น้ำลดลงมาก บางรายต้องชะลอการเลี้ยง และเร่งส่งขาย เกรงว่าปลาจะตายได้รับความเสียหาย

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง