รีเซต

'อาหาร เสื้อผ้า การเดินทาง' สะท้อนทศวรรษแห่งการเปลี่ยนแปลงในจีน

'อาหาร เสื้อผ้า การเดินทาง' สะท้อนทศวรรษแห่งการเปลี่ยนแปลงในจีน
Xinhua
14 ตุลาคม 2565 ( 18:02 )
97

ปักกิ่ง, 14 ต.ค. (ซินหัว) -- ฉู่เยี่ยน ดีไซเนอร์ชาวจีน อาจารย์ประจำสถาบันเทคโนโลยีแฟชั่นปักกิ่ง และเจ้าของสตูดิโอแฟชั่น มีชื่อเสียงโด่งดังจากการรังสรรค์เสื้อผ้าจีนโบราณเข้ากับองค์ประกอบสมัยใหม่ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือชุดเครื่องแบบประจำการแข่งขันกีฬาปักกิ่ง โอลิมปิก ฤดูหนาว 2022ฉู่ผสมผสาน "เป่าเซียงฮวา" หรือลวดลายดอกไม้ที่มักพบในเครื่องเคลือบโบราณ เข้ากับภาพเกล็ดหิมะ เพื่อออกแบบชุดเครื่องแบบสำหรับพิธีมอบเหรียญรางวัลในการแข่งขันกีฬาฯ อันเป็นเวทีระดับนานาชาติที่เธอเชื่อว่าสามารถเผยแพร่ "สุนทรียศาสตร์จีนสมัยใหม่สู่สายตาชาวโลก"ฉู่เริ่มสนใจแฟชั่นตั้งแต่อายุ 12 ปี และวาดฝันอยากเป็นดีไซเนอร์ เธอมุ่งความสนใจไปที่เสื้อผ้าจีนโบราณมากที่สุดหลังเล่าเรียนแฟชั่นจากหลากหลายประเทศ โดยเส้นทางอาชีพของเธอเติบโตอย่างรวดเร็วในทศวรรษที่ผ่านมา เนื่องด้วยกระแสนิยมแบรนด์และผลิตภัณฑ์ในประเทศที่ผสมผสานสไตล์และวัฒนธรรมจีนดั้งเดิมอันที่รู้จักกันในชื่อ "กั๋วฉาว""กลุ่มดีไซเนอร์รุ่นใหม่จะต้องตั้งเป้าหมายให้สูง และไม่เพียงเผยแพร่ความงดงามของจีนสู่โลกกว้าง แต่ต้องมุ่งเป็นผู้นำแฟชั่นระดับโลกด้วย" ฉู่กล่าวการเปลี่ยนแปลงเพื่อสิ่งที่ดีขึ้นการสวมใส่เสื้อผ้าของชาวจีนเปลี่ยนแปลงไปมากตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผันผ่าน นอกเหนือจากชุดกี่เพ้าและเสื้อคอจีนถังจวงอันมีเสน่ห์ล้นเหลือมาอย่างยาวนานแล้ว จีนยังมี "ฮั่นฝู" หนึ่งในเครื่องแต่งกายแบบดั้งเดิมอันมีเอกลักษณ์ข้อมูลจากไอไอมีเดีย รีเสิร์ช (iiMedia Research) บริษัทวิจัยในนครกว่างโจว ระบุว่ายอดจำหน่ายฮั่นฝูเพิ่มขึ้นจาก 190 ล้านหยวน (ราว 1 พันล้านบาท) ในปี 2015 เป็น 6.36 พันล้านหยวน (ราว 3.38 หมื่นล้านบาท) ในปี 2020 ซึ่งแรงกระตุ้นส่วนหนึ่งมาจากเหล่าอินฟลูเอนเซอร์และนักไลฟ์สดบนสื่อสังคมออนไลน์หวังเหวินเซิง รองผู้อำนวยการสมาคมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มปักกิ่ง เผยว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันคือการฟื้นฟูวัฒนธรรมจีนดั้งเดิมอันรุ่มรวยให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง โดยอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มจะได้พานพบการสร้างสรรค์ผลงานที่มีความเป็นต้นฉบับและช่างคิดช่างทำยิ่งขึ้นอนึ่ง ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของจีนในปี 2021 อยู่ที่ 114 ล้านล้านหยวน (ราว 605.34 ล้านล้านบาท) เติบโตเป็นสองเท่าจากกว่า 50 ล้านล้านหยวน (ราว 265.5 ล้านล้านบาท) ในปี 2012 โดยจีดีพีต่อหัวของจีนเมื่อสิบปีก่อนอยู่ที่ 6,300 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 239,841 บาท) ก่อนจะเพิ่มขึ้นเป็นมากกว่า 12,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 456,840 บาท) ในปีก่อนจางเยี่ยนเหมย พนักงานร้านอาหารหม้อไฟเซียปู่ เซียปู่ (Xiabu Xiabu) บอกเล่าการเปลี่ยนแปลงว่าเมื่อ 2-3 ปีก่อน รสชาติน้ำซุปยังไม่หลากหลายเหมือนปัจจุบันที่มีทั้งรสชาติต้มยำกุ้ง แกงอินเดีย และไก่ทุเรียน พร้อมเสริมว่าอุตสาหกรรมการจัดเลี้ยงมีแบรนด์และร้านค้าเครือข่ายเกิดใหม่อย่างต่อเนื่อง และกำลังขยายตัวในต่างประเทศด้วยด้าน จ้าวฉีหรง ชาวนครไท่หยวน เมืองเอกของมณฑลซานซีที่อุดมด้วยถ่านหินทางตอนเหนือของจีน กล่าวถึงวิธีการเดินทางที่เปลี่ยนแปลงตลอดทศวรรษที่ผ่านมาหลังตลาดรถยนต์ไฟฟ้าเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยจีนมียานยนต์พลังงานใหม่สูงถึง 10 ล้านคัน เมื่อนับถึงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา และจ้าวก็เป็นหนึ่งในคนที่ซื้อรถยนต์ไฟฟ้ามาใช้งานเกาเลี่ยง คณบดีคณะวิศวกรรมโยธาแห่งมหาวิทยาลัยปักกิ่ง เจียวทง กล่าวว่ารถไฟความเร็วสูงเป็นอีกช่องทางคมนาคมที่พัฒนาขึ้นอย่างก้าวกระโดด โดยเทคโนโลยีทางรถไฟความเร็วสูงของจีนกำลังทลายกรอบเดิมๆ เพื่อประโยชน์สาธารณะทั้งนี้ ระยะทางรวมของทางรถไฟและทางหลวงในจีน เพิ่มขึ้น 1.1 ล้านกิโลเมตร เมื่อนับจากปี 2012 จนถึงสิ้นปี 2021รหัสลับการเติบโตกู้ไห่เหลียง ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยปักกิ่ง กล่าวว่าการพัฒนาที่มีการสร้างนวัตกรรม สอดประสาน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เปิดกว้าง และแบ่งปันกัน ล้วนเป็นแรงผลักดันการเติบโตตลอดทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดในด้านการดำรงชีวิตทางสังคมและเศรษฐกิจในจีน"จีนจะเดินหน้าการเติบโตที่มีคุณภาพสูงและเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันต่อไป ผ่านการใช้แนวคิดข้างต้นอย่างครอบคลุมและซื่อตรง" กู้กล่าวแม้เผชิญโรคระบาดใหญ่ แต่เศรษฐกิจจีน ช่วงเดือนมกราคม-มิถุนายน ยังเติบโตร้อยละ 2.5 เมื่อเทียบปีต่อปี และรักษาทิศทางการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2012 จีนได้ช่วยให้ชาวชนบทหลุดพ้นจากความยากจนโดยสมบูรณ์ราว 100 ล้านคน และนำพาประชาชนย้ายถิ่นฐานจากพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมกับการอยู่อาศัยไปยังพื้นที่ที่มีสภาพแวดล้อมดีขึ้นถึง 9.6 ล้านคนความสำเร็จในการขจัดความยากจนของจีนยังเป็นหมุดหมายสำคัญในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ สะท้อนความเข้มแข็งของความเป็นผู้นำของพรรคคอมมิวนิสต์จีน (CPC) และประสิทธิภาพของปรัชญาที่ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง ตลอดจนความแข็งแกร่งเชิงสถาบันจีนได้เน้นย้ำความมุ่งมั่นบนแนวทางที่ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง และยืนกรานว่าการพัฒนานี้มีขึ้นเพื่อประชาชน ขึ้นอยู่กับประชาชน และแบ่งปันผลลัพธ์อันงดงามโดยประชาชน ผ่านร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติระยะ 5 ปี ฉบับที่ 14 (2021-2025) รวมถึงเป้าหมายระยะยาวจนถึงปี 2035นอกจากนั้นจีนได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาใหม่ และให้ความสำคัญด้านความเจริญรุ่งเรืองร่วมกันมากยิ่งขึ้น โดยมุ่งเน้นที่ความมั่งคั่งที่ทุกคนมีร่วมกันในอนาคตอวี๋เจี้ยนซิง อธิการบดีมหาวิทยาลัยเจ้อเจียง กงซาง กล่าวว่ามณฑลเจ้อเจียง ซึ่งเป็นเขตสาธิตเพื่อความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน กำลังดำเนินงานอย่างมั่นคง โดยแนวทางปฏิบัติของเจ้อเจียงช่วยให้เราเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงความหมายของความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน และช่วยวางรากฐานสำหรับการบรรลุเป้าหมายดังกล่าว[caption id="attachment_314219" align="aligncenter" width="900"] (แฟ้มภาพซินหัว : เจ้าหน้าที่สวมเสื้อผ้าประดับองค์ประกอบจีนดั้งเดิมในพิธีมอบเหรียญรางวัลการแข่งขันกีฬาปักกิ่ง โอลิมปิก ฤดูหนาว 2022 ในกรุงปักกิ่งของจีน วันที่ 5 ก.พ. 2022)[/caption][caption id="attachment_314218" align="aligncenter" width="900"] (แฟ้มภาพซินหัว : นักท่องเที่ยวสวมชุดฮั่นฝูถ่ายรูปกับโคมไฟเทศกาลไหว้พระจันทร์ในเทศบาลนครเซี่ยงไฮ้ทางตะวันออกของจีน วันที่ 28 ส.ค. 2022)[/caption][caption id="attachment_314217" align="aligncenter" width="900"] (แฟ้มภาพซินหัว : รถไฟความเร็วสูงขนวบหนึ่งวิ่งบนทางรถไฟความเร็วสูงปักกิ่ง-กว่างโจว ส่วนปักกิ่ง-อู่ฮั่น ในนครอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ยทางตอนกลางของจีน วันที่ 20 มิ.ย. 2022)[/caption][caption id="attachment_314220" align="aligncenter" width="900"] (แฟ้มภาพซินหัว : ทิวทัศน์ริมแม่น้ำสายหนึ่งในตำบลชางฮั่ว เมืองหางโจว มณฑลเจ้อเจียงทางตะวันออกของจีน วันที่ 26 เม.ย. 2022)[/caption]

ข่าวที่เกี่ยวข้อง