รีเซต

beartai คว้ารางวัลเชิดชูเกียรติปี 2566 จากเวทีวันนวัตกรรมแห่งชาติ โดย NIA

beartai คว้ารางวัลเชิดชูเกียรติปี 2566 จากเวทีวันนวัตกรรมแห่งชาติ โดย NIA
แบไต๋
5 ตุลาคม 2566 ( 23:14 )
75
beartai คว้ารางวัลเชิดชูเกียรติปี 2566 จากเวทีวันนวัตกรรมแห่งชาติ โดย NIA

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จัดพิธีมอบรางวัลนวัตกรรมประจำปี 2566 เนื่องในวันนวัตกรรมแห่งชาติ ซึ่งจัดมาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 19 โดยสื่อ beartai ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติประเภทผู้สื่อสารนวัตกรรม ระดับนิติบุคคล

ดร. กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า ในปี 2566 – 2570 NIA ได้เปลี่ยนบทบาทจากสะพานเชื่อมสู่การเป็นผู้กำหนดทิศทางนวัตกรรม หรือ Focal Conductor โดยมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมที่สามารถสร้างประโยชน์ให้กับประเทศและประชาชนในทุกมิติ ผ่านการผลักดันนโยบายและกิจกรรมต่าง ๆ

ดร. กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

รวมถึงการมอบรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติเพื่อเชิดชูเกียรติให้กับผู้พัฒนานวัตกรรมที่ดีเด่นอย่างต่อเนื่อง เพื่อกระตุ้นให้สังคมไทยตระหนักถึงความสำคัญของนวัตกรรมและเป็นการยกระดับขีดความสามารถด้านนวัตกรรมของไทยให้พร้อมก้าวสู่การเป็น “ชาตินวัตกรรม” ในอนาคต

ทางด้าน รศ.นพ. สรนิต ศิลธรรม ประธานกรรมการ คณะกรรมการนวัตกรรมแห่งชาติ กล่าวแสดงความยินดีกับผู้ที่ได้รับรางวัลเนื่องในวันนวัตกรรมแห่งชาติ ประจำปี 2566 พร้อมเน้นย้ำความสำคัญของนวัตกรรมในฐานะจุดเปลี่ยนของโลก ทั้งระบบการผลิต อุตสาหกรรม และเศรษฐกิจการค้าขาย

รศ.นพ. สรนิต ศิลธรรม ประธานกรรมการ คณะกรรมการนวัตกรรมแห่งชาติ

ซึ่งการจัดพิธีมอบรางวัลสุดยอดนวัตกรรมให้แก่นักนวัตกรไทยที่ผลิตหรือคิดค้นผลงานนวัตกรรมที่มีคุณค่าเชิงพาณิชย์ ส่งผลดีต่อสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการนำเทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มประโยชน์ใช้สอย จะช่วยให้นวัตกรรมเป็นที่รู้จักและเป็นที่สนใจกันอย่างกว้างขวาง เพื่อการพัฒนาประเทศในอนาคตต่อไป

สำหรับการจัดประกวดรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติในปี 2566 แบ่งออกเป็น 5 ด้าน ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ, ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม, ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการ, ด้านสื่อและการสื่อสาร และด้านองค์กรนวัตกรรมดีเด่น โดยในปีนี้มีผู้ที่สนใจส่งผลงานนวัตกรรมเข้าประกวดรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติจำนวน 347 ผลงาน และผลงานประกวดรางวัลนวัตกรรมแห่งประเทศไทย (TIA) ระดับเยาวชนจำนวน 453 ผลงาน โดยมีผู้ที่ได้รับรางวัลเนื่องในวันนวัตกรรมแห่งชาติ ประจำปี 2566 ดังต่อไปนี้

รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ประจำปี 2566

รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ด้านเศรษฐกิจ
  • รางวัลชนะเลิศ ประเภทวิสาหกิจขนาดกลาง ได้แก่ ผลงาน : หม้อแปลง BCG & โลว์คาร์บอน โดย บริษัท เจริญชัยหม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด
  • รางวัลชนะเลิศ ประเภทวิสาหกิจขนาดย่อมและวิสาหกิจรายย่อย ได้แก่ ผลงาน : HY-N นวัตกรรมไบโอพอลิเมอร์ ระบบนำส่งสาร ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพเวชสำอาง ยา วัคซีน โดย บริษัท แนบโซลูท จำกัด
รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม
  • รางวัลชนะเลิศ ประเภทหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ ผลงาน : แบตเตอรี่ชนิดลิเธียมไอออนจากแกลบ และขยะโซลาร์เซลล์ โดย โรงงานแบตเตอรี่และพลังงานยุคใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • รางวัลชนะเลิศ ประเภทหน่วยงานภาคเอกชน ได้แก่ ผลงาน : ระบบบำบัดน้ำเสียวงจรไฟฟ้าชีวภาพ โดย บริษัท อินโน กรีน เทค จำกัด
  • รางวัลชนะเลิศ ประเภทองค์กรเพื่อสังคมและชุมชน ได้แก่ ผลงาน : เตียงสนามกระดาษ SCGP สำหรับหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ โดย มูลนิธิเอสซีจีร่วมกับ SCGP
รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการ
  • รางวัลชนะเลิศ ประเภทการออกแบบผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ผลงาน : ชุดปลูกผักปลอดสารพิษด้วยตัวเองเพื่อคนในเมือง โดย บริษัท ดู๊ดแพลนต์ จำกัด
  • รางวัลชนะเลิศ ประเภทการออกแบบบริการ ได้แก่ ผลงาน : แมกซ์ เอ็นเตอร์ไพรส์ คอนเนค โดยแอพพลิเคชั่นวชิระแอทโฮม โดย บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน)
รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ด้านสื่อและการสื่อสาร
  • รางวัลชนะเลิศ ประเภทผลงานสื่อและการสื่อสาร ได้แก่ ผลงาน : ต่อยอด แสงหลวง วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร เชียงใหม่ โดย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • รางวัลเชิดชูเกียรติ ประเภทผู้สื่อสารนวัตกรรม ระดับบุคคลธรรมดา ได้แก่ คุณสรานี สงวนเรือง (เฟื่องลดา)
  • รางวัลเชิดชูเกียรติ ประเภทผู้สื่อสารนวัตกรรม ระดับนิติบุคคล ได้แก่ แบไต๋ (beartai)
รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ด้านองค์กรนวัตกรรมดีเด่น
  • รางวัลดีเด่น ประเภทองค์กรภาคเอกชนขนาดใหญ่ ได้แก่ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) และ บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน)
  • รางวัลเกียรติคุณ ประเภทองค์กรภาครัฐและประชาสังคม ได้แก่ กรมสุขภาพจิต
  • รางวัลเกียรติคุณ ประเภทองค์กรรัฐวิสาหกิจ ได้แก่ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

รางวัลนวัตกรรมแห่งประเทศไทย (TIA) ประจำปี 2566

รางวัลระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย – ปวช.
  • รางวัลชนะเลิศ ผลงานแพลตฟอร์มเพื่อช่วยคัดกรองโรคหัวใจและหลอดเลือดจากกราฟคลื่นไฟฟ้า หัวใจด้วยปัญญาประดิษฐ์ จากโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 จำนวน 2 ผลงาน ได้แก่ ผลงาน SVMR ตู้ยาเพื่อแจ้งเตือนและดูแลผู้สูงอายุ จากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน และผลงานบรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพทนต่อน้ำจากเปลือกทุเรียนและชะลอการเติบโตของแบคทีเรียด้วยสารสกัดจากสมุนไพรไทย พร้อมตัวบ่งชี้การเน่าเสียของอาหารสดจากดอกต้องติ่ง จากโรงเรียนกำเนิดวิทย์
รางวัล Best Pitching Awards by Education New Zealand
  • รางวัลชนะเลิศ ผลงานแพลตฟอร์มเพื่อช่วยคัดกรองโรคหัวใจและหลอดเลือดจากกราฟคลื่นไฟฟ้า หัวใจด้วยปัญญาประดิษฐ์ จากโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ผลงานบรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพทนต่อน้ำจากเปลือกทุเรียนและชะลอการเติบโตของแบคทีเรียด้วยสารสกัดจากสมุนไพรไทย พร้อมตัวบ่งชี้การเน่าเสียของอาหารสดจากดอกต้องติ่ง จากโรงเรียนกำเนิดวิทย์

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง