รีเซต

UPA ซื้อกิจการ GTG แตกไลน์ธุรกิจพลังงาน-อสังหาฯ รุกธุรกิจกัญชง-กัญชาครบวงจร

UPA ซื้อกิจการ GTG แตกไลน์ธุรกิจพลังงาน-อสังหาฯ รุกธุรกิจกัญชง-กัญชาครบวงจร
มติชน
19 กรกฎาคม 2564 ( 14:15 )
41

นายกวิน เฉลิมโรจน์ ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ยูไนเต็ด เพาเวอร์ ออฟ เอเชีย จำกัด (มหาชน) หรือ UPA ผู้ประกอบธุรกิจในกลุ่มธุรกิจพลังงาน กลุ่มอสังหาริมทรัพย์และกลุ่มธุรกิจสาธารณูปโภค ในภูมิภาค CLMV+T เปิดเผยว่า บริษัทฯบรรลุข้อตกลงกับผู้ถือหุ้นใหญ่ซึ่งเป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท โกลเด้น ไทรแองเกิ้ล กรุ๊ป จำกัด หรือ GTG โดยมีเป้าหมายจะเข้าซื้อหุ้น 100%

 

 

ทั้งนี้ GTG เป็นผู้ประกอบการต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำด้านธุรกิจกัญชง-กัญชาแบบครบวงจรในประเทศ และเป็นผู้พัฒนากัญชงสายพันธุ์ Raksa (รักษา) โดยได้รับใบอนุญาตนำเข้าเมล็ดพันธุ์ เพาะปลูก และมีโรงสกัดสาร CBD ภายใต้มาตรฐาน GHP (Good Hygiene Practice) และ HACCP (Hazards Analysis and Critical Control Points) เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมการแพทย์ อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม และอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง เป็นต้น

 

 

นายกวิน กล่าวว่า การลงทุนครั้งนี้จะช่วยให้ UPA ก้าวสู่ธุรกิจกัญชง-กัญชาแบบครบวงจร และสร้างโอกาสเติบโตทางธุรกิจเพิ่มเติมจากธุรกิจหลักของบริษัทในปัจจุบัน ขณะนี้ GTG ได้ร่วมทดลองและพัฒนาผลิตภัณฑ์กับบริษัทหลายแห่ง ซึ่ง GTG มีเป้าหมายจะทำตลาดทั้งในประเทศและส่งออกต่างประเทศ โดย UPA จะเพิ่มทุนจดทะเบียนจำนวน 4,224 ล้านบาท และออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 8,449.7 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) 0.50 บาทต่อหุ้น เพื่อจัดสรรให้แก่บุคคลในวงจำกัด (Private Placement: PP) แก่กลุ่มผู้ถือหุ้น GTG ทุกราย นอกจากนี้ UPA เตรียมความพร้อมด้านเงินทุนไว้ขยายธุรกิจเพิ่มเติม โดยจะออกและเสนอขายใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นของ UPA ให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมของ UPA และผู้ถือหุ้นจากการจองซื้อหุ้น PP ในอัตราส่วน 4 หุ้นเดิมต่อ 1 หุ้นสามัญเพิ่มทุนใหม่สำหรับหุ้นเพิ่มทุน จำนวน 4,645 ล้านหุ้น และอัตราส่วน 5 หุ้นเดิมต่อ 1 ใบสำคัญแสดงสิทธิ ซึ่ง UPA จะออกหุ้นเพิ่มทุนเพื่อรองรับการใช้สิทธิของใบสำคัญแสดงสิทธิอีก 3,716 ล้านหุ้น รวมเป็นการเพิ่มทุนทั้งหมด 16,810.7 ล้านหุ้น คิดเป็นทุนจดทะเบียนที่เพิ่มขึ้นทั้งสิ้น 8,405.4 ล้านบาท โดยบริษัทฯ พร้อมกำหนดจัดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2564 เพื่อขออนุมัติจากผู้ถือหุ้นต่อไป

 

 

 

นายกฤษณ์ ธีรเกาศัลย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โกลเด้น ไทรแองเกิ้ล กรุ๊ป จำกัด หรือ (GTG) กล่าวว่า เห็นโอกาสเติบโตของอุตสาหกรรม โดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย ลงทุนก่อสร้างศูนย์วิจัยกัญชง-กัญชามาตรฐาน GMP ครอบคลุมต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ตั้งแต่การพัฒนาสายพันธุ์ ขั้นตอนการเพาะปลูก การจัดตั้งโรงสกัด ไปจนถึงการส่งออก โดยในปี 2561 GTG ได้รับอนุญาตจากภาครัฐให้นำเข้าสายพันธุ์กัญชง-กัญชาจากต่างประเทศจำนวน 12 สายพันธุ์เพื่อมาทำการศึกษาและพัฒนาสายพันธุ์โดยแลกเปลี่ยนเทคนิคทางวิชาการด้านการเพาะปลูก กับมหาวิทยาลัยมาอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 2 ปี จน GTG ประสบความสำเร็จในการพัฒนากัญชงสายพันธุ์ Raksa (รักษา) ที่เหมาะสมกับสภาพดินและอากาศของไทย อีกทั้งยังให้สารสกัด CBD ในดอกแห้งคุณภาพสูงถึง 15.8% ซึ่งถือว่ามากกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมกัญชา-กัญชงโลกที่อยู่เพียง 10% และยังให้ปริมาณ THC ต่ำกว่า 1% ตามที่กฎหมายไทยกำหนด

 

 

ทั้งนี้ กัญชงสายพันธุ์ Raksa ของ GTG ยังสามารถให้สารสกัดในรูปแบบ Full Spectrum CBD ที่ได้มาตรฐาน GMP รายแรกของประเทศไทย ซึ่งมีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้ในทางการแพทย์ อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง รวมถึงอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่กำลังจะมีการออกกฎหมายตามมา GTG พร้อมนำองค์ความรู้การเพาะปลูกช่วยสร้างความมั่นคงด้านผลผลิตทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณ โดยมีแผนงานก่อสร้างโรงเรือนระบบปิดมาตรฐาน ISO 8 cleanrooms, เพื่อเพิ่มการเพาะปลูกกัญชงขึ้นอีก 2 แห่งในจังหวัดเชียงราย พร้อมจะเริ่มดำเนินการปลูกได้ในสิ้นเดือนสิงหาคม และยังมีโรงเรือนระบบปิดในกรุงเทพฯ อีกแห่งที่คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในสิ้นปีนี้ เพื่อรองรับความต้องการเชิงพาณิชย์ต่อไ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง