รีเซต

"เศรษฐา" จับมือ "Google" ประกาศแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในไทยเพิ่ม พร้อมดันโครงการสนับสนุนเศรษฐกิจ “AI” ในงาน APEC

"เศรษฐา" จับมือ "Google" ประกาศแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในไทยเพิ่ม พร้อมดันโครงการสนับสนุนเศรษฐกิจ “AI” ในงาน APEC
TNN ช่อง16
21 พฤศจิกายน 2566 ( 09:44 )
58
"เศรษฐา" จับมือ "Google" ประกาศแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในไทยเพิ่ม พร้อมดันโครงการสนับสนุนเศรษฐกิจ “AI” ในงาน APEC

ในการประชุมผู้นำความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (APEC) ที่ผ่านมา รัฐบาลไทย และกูเกิล (Google) ประกาศความร่วมมือทางยุทธศาสตร์เพื่อเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัล และเร่งให้เกิดนวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์ (AI) โดยทำงานร่วมกันเพื่อวางรากฐานใน 4 ด้าน ตั้งแต่โครงสร้างพื้นฐาน การส่งเสริมการใช้ AI การวางนโยบาย และการเสริมทักษะดิจิทัลของประชาชนในไทย


นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า “ความร่วมมือกับ Google เป็นก้าวสำคัญเพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ของรัฐบาลในการปรับปรุงภาคส่วนต่าง ๆ ที่มีความสำคัญกับประชาชนชาวไทย ธุรกิจ และนักลงทุน ด้วยการลงทุนผ่านนโยบายการใช้งานระบบคลาวด์เป็นหลัก (Cloud-First Policies) พร้อมกับการสร้างไซเบอร์สเปซ (Cyberspace) ที่ปลอดภัย ความเชี่ยวชาญและการลงทุนจาก Google ในด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล รวมถึงการวิจัยทางด้านการใช้ AI อย่างมีความรับผิดชอบ การพัฒนาทักษะทางดิจิทัล และการรักษาความปลอดภัยของแพลตฟอร์มในระดับโลกจะช่วยให้ประเทศไทยทะยานสู่การเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม เพิ่มโอกาสสร้างงานที่มีมูลค่าสูง และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน”


4 เสาหลัก การลงทุนของ Google

การขยายแผนการลงทุนของ Google ในครั้งนี้ อยู่บนพื้นฐานของ 4 เสาหลัก ได้แก่ การต่อยอดการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล การส่งเสริมการใช้ AI อย่างมีความรับผิดชอบและปลอดภัยเพื่อยกระดับการให้บริการของภาครัฐ การวางหลักเกี่ยวกับนโยบายการใช้งานระบบคลาวด์เป็นหลัก (Cloud-First Policies) และการทำให้คนไทยสามารถเข้าถึงทักษะด้านดิจิทัลได้มากขึ้น


เสาหลักที่ 1: การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลของประเทศไทย

Google กำลังพิจารณาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลใหม่ภายในประเทศเพื่อขับเคลื่อนบริการดิจิทัล พร้อมประกาศแผนก่อตั้งศูนย์ข้อมูล (Cloud Region) แห่งแรกในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ 


ทั้งนี้ Google คาดว่า เมื่อ Cloud Region ในประเทศไทยเปิดให้บริการ จะทำให้องค์กรและหน่วยงานต่าง ๆ ในประเทศเข้าถึงเทคโนโลยีของ Google Cloud ได้มากขึ้น และเชื่อว่าจะยกระดับผลิตภาพทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะมีส่วนช่วยสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจมากกว่า 4.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 144,000 ล้านบบาท ให้กับ GDP ของประเทศ และสร้างงาน 50,300 ตำแหน่ง ภายในปี 2030


เสาหลักที่ 2: การเร่งให้เกิดการใช้ AI อย่างมีความรับผิดชอบในส่วนภาครัฐ และการสร้างไซเบอร์สเปซที่มั่นคง

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) และกูเกิล คลาวด์ (Google Cloud) จะร่วมกันศึกษาแนวทางการใช้งาน Generative AI (Gen AI) และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี Google Cloud ในการใช้งานกับภาครัฐ โดยจะให้ความสำคัญกับการให้บริการภาครัฐผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ ๆ เทคโนโลยีด้านการเงิน รวมถึงการพัฒนาภาคสาธารณสุข การศึกษา และการขนส่งมวลชนเป็นอันดับแรก


ทั้งนี้ Google จะให้การสนับสนุนด้านความเชี่ยวชาญทางนโยบายและ Secure AI Framework หรือกรอบการทำงานด้านความปลอดภัยของ AI ของ Google เพื่อช่วยลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับระบบ AI ต่าง ๆ  Google เป็นหนึ่งในบริษัทแรกๆ ที่ให้คำมั่นสัญญาผ่านหลักการปัญญาประดิษฐ์ (AI Principles) และกำหนดขอบเขตการใช้งาน AI ที่ Google จะไม่ดำเนินการตั้งแต่ปี 2018 


โดยรัฐบาล และ Google Cloud จะดำเนินการแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ และร่วมกันศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการก่อตั้ง National CyberShield Alliance ซึ่งจะช่วยให้รัฐบาลสามารถใช้ระบบอัตโนมัติ การวิเคราะห์ ระบบข่าวกรองภัยคุกคาม และ AI ร่วมกันเพื่อตรวจหา ตรวจสอบ และร่วมกันป้องกันการโจมตีโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของประเทศด้วยวิธีการที่ซับซ้อน
เพื่อปกป้องประชาชนจากอาชญากรรมไซเบอร์ และกิจกรรมทางไซเบอร์ที่เป็นอันตราย 

 

เสาหลักที่ 3: การวางนโยบายการใช้คลาวด์เป็นหลักในประเทศไทย

Google Cloud จะสนับสนุนการพัฒนานโยบาย Go Cloud-first ของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมสำหรับประเทศไทย โดยจะให้ความช่วยเหลือด้านนโยบายและความเชี่ยวชาญทางเทคโนโลยีเพื่อให้แน่ใจว่าจะสามารถส่งมอบโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลที่มีความยืดหยุ่น ประหยัดค่าใช้จ่าย และขับเคลื่อนโดยนวัตกรรมให้แก่ประเทศ 


นโยบายนี้ตอกย้ำความพยายามของรัฐบาลในการให้ความสำคัญกับการใช้บริการคลาวด์ที่ดีที่สุดในการดำเนินการของรัฐบาลมากกว่าโซลูชันที่ใช้ทรัพยากรในสถานที่ตั้งของตนเองซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูง โดยยังคงไว้ซึ่งมาตรฐานการรักษาความปลอดภัย และความเป็นส่วนตัวระหว่างประเทศ นอกจากนี้ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมยังจะร่วมมือกับ Google Cloud เพื่อระบุประเภทของข้อมูลที่อาจจำเป็นต้องจัดเก็บใน Google Distributed Cloud Hosted ซึ่งเป็นสิ่งแวดล้อมของคลาวด์ที่เป็นส่วนตัวและมีมาตรการทางด้านความมั่นคงปลอดภัยที่ตัดขาดการเชื่อมต่ออย่างสมบูรณ์แบบ (Fully air-gapped)


เสาหลักที่ 4: การทำให้คนไทยสามารถเข้าถึงทักษะด้านดิจิทัลและระบบคลาวด์ได้มากขึ้น

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) กับ Google จะมอบทุนการศึกษาสำหรับใบรับรองทักษะอาชีพของ Google เพิ่มเติมจำนวน 12,000 ทุน ภายใต้โครงการ Samart Skills ที่ได้เปิดตัวเป็นครั้งแรกในเดือนตุลาคม 2022 ทำให้มียอดรวมทั้งสิ้น 34,000 ทุน 


ทุนดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้คนไทยได้พัฒนาทักษะพร้อมรับใบรับรองทักษะอาชีพโดยไม่มีค่าใช้จ่าย สำหรับงานระดับเริ่มต้นในสาขาที่มีความต้องการสูงอย่าง เช่น การรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ การวิเคราะห์ข้อมูล การสนับสนุนด้านไอที และอีคอมเมิร์ซและการตลาดดิจิทัล



Google Cloud ยังเปิดหลักสูตร Introduction to Generative AI Path ให้แก่บุคคลทั่วไปโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ผ่านโครงการ Google Cloud Skills Program ซึ่งประกอบด้วยหลักสูตรออนไลน์ที่ทำให้ผู้เรียนเข้าใจความแตกต่างระหว่าง Gen AI กับ AI ประเภทอื่น และการใช้ AI อย่างมีความรับผิดชอบ ผู้เรียนที่สำเร็จหลักสูตรการเรียนรู้นี้จะได้รับป้ายรับรองแบบดิจิทัลซึ่งสามารถแสดงไว้ในเรซูเม่ของตนเองเพื่อแสดงถึงความเข้าใจขั้นพื้นฐานของ Gen AI ด้วย


AI, Clould และ Google ในประเทศไทย 

รูธ โพรัท (Ruth Porat) ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหารการลงทุน  ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการเงิน ของอัลฟาเบต (Alphabet - บริษัทแม่ของกูเกิล) และ Google กล่าวว่า “การร่วมมือกับรัฐบาลในครั้งนี้มุ่งที่จะเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลของประเทศไทย และเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลที่ใช้ระบบคลาวด์เป็นหลักเพื่อตอกย้ำพันธกิจของ Google ประเทศไทย”


โดยการลงทุนเกิดขึ้นภายใต้แนวคิด Leave no Thai Behind จากศักยภาพของเทคโนโลยีในการเป็นตัวขับเคลื่อนให้ธุรกิจและชุมชน เพื่อพัฒนาการให้บริการภาครัฐแก่ประชาชนและขยายการใช้งานเทคโนโลยี AI ด้วย Google Cloud ให้คนไทยได้มีส่วนร่วมในเศรษฐกิจดิจิทัลผ่านการเสริมทักษะและการวางโครงสร้างพื้นฐานที่ปลอดภัย เชื่อถือได้ และมีนวัตกรรมเพื่อประชาชนและธุรกิจ 


ความร่วมมือในครั้งนี้เป็นการต่อยอดจากการลงทุนของ Google ตลอด 12 ปีที่ดำเนินการในประเทศไทย ในปี 2022 ผลิตภัณฑ์และโครงการต่าง ๆ ของ Google ประกาศว่าได้สนับสนุนการจ้างงานในประเทศกว่า 250,000 ตำแหน่ง  และสร้างผลประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมให้ภาคธุรกิจไทยกว่า 4,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือมากกว่า 150,000 ล้านบาท


ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง