รีเซต

“แผ่นดินไหว” เปิดจุดรอยเลื่อนประเทศไทย เสี่ยงธรณีพิโรธมากแค่ไหน?

“แผ่นดินไหว” เปิดจุดรอยเลื่อนประเทศไทย เสี่ยงธรณีพิโรธมากแค่ไหน?
TNN ช่อง16
9 กุมภาพันธ์ 2566 ( 14:08 )
61

วันนี้ ( 9 ก.พ. 66 )เหตุแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในประเทศตุรกีและซีเรีย ทำให้ต้องหันกลับมาดูความปลอดภัยของการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างรวมไปถึงการป้องกันและการรับ มือเหตุแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น ซึ่งรวมถึงประเทศไทยที่อยู่ใกล้เคียงกับรอยเลื่อนในประเทศเพื่อนบ้านหรือทางภาคเหนือ ที่ยังถือว่าเป็นรอยเลื่อนที่ยังคงมีพลังและสามารถปล่อยพลังดังกล่าวออกมาได้ตลอดเวลา ซึ่งล่าสุดมีการเปิดเผยออกมา ว่าพบรอยเลื่อนพาดผ่านมาถึงกรุงเทพฯ การรับมือกับเหตุภัยพิบัติดังกล่าวจะต้องเตรียมการอย่างไร รวมไปถึงกรุงเทพฯเองจะต้องมีการเตรียมพร้อมหรือไม่ 

ความรุนแรงของเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในประเทศตุรกีและซีเรีย ถือเป็นผลกระทบจากแผ่นดินไหวที่รุนแรงที่สุดในภูมิภาคนี้ในรอบเกือบ 50 ปี  ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตนับหมื่นคน และยังคงเพิ่มจำนวนอย่างต่อเนื่อง ทำให้ต้องย้อนกลับมามองดูความเสี่ยงภัยพิบัติแผ่นดินไหวของประเทศไทย

แม้กรุงเทพฯ และปริมณฑล ตั้งอยู่ในพื้นที่นอกบริเวณแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหว แต่ก็ยังมีความเสี่ยงจากแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ เช่น รอยเลื่อนสกาย ในประเทศพม่า ซึ่งสามารถปล่อยพลังสูงสุดได้ถึง 8.0 แมกนิจูด และห่างจากกรุงเทพฯ ไปไม่กี่ร้อยกิโลเมตร หรือจากรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ ที่จากการแปลความจากภาพถ่ายดาวเทียม พบว่ามีความเป็นไปได้ที่อาจจะมีร่องของรอยเลื่อนพลาดเข้ามาถึงพื้นที่กรุงเทพฯ ถือเป็นสิ่งที่สมควรที่จะทำการศึกษา เพื่อที่จะได้วางแนวทางการป้องกัน ไม่เกิดความสูญเสียดั่งเช่นที่เกิดในต่างประเทศ

ข้อมูลจากกรมทรัพยากรธรณี ได้ศึกษาและรวบรวมข้อมูลด้านการสำรวจรอยเลื่อนมีพลัง พบว่า ประเทศไทยมีแนวรอยเลื่อนใหญ่ ๆ อยู่หลายแนว สามารถจัดกลุ่มรอยเลื่อนที่สำคัญได้ 3 แนว ครอบคลุม 22 จังหวัดของไทย แม้ที่ผ่านมารอยเลื่อนในประเทศไทย สามารถสร้างแรงสั่นสะเทือนให้รู้สึกและรับรู้ได้ แต่มีโอกาสน้อยมากที่จะสามารถสร้างภัยพิบัติให้เกิดขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับรอยเลื่อนใกล้เคียงในประเทศเพื่อนบ้าน 

เหตุแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในประเทศตุรกีและซีเรีย ถือเป็นบทเรียนของทุกประเทศทั่วโลก ที่ต้องให้ความสำคัญกับการเตรียมแผนเผชิญเหตุรับมือและป้องกันสาธารณภัย รวมถึงหันกลับมาดูความปลอดภัยของการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งรวมถึงประเทศไทยที่อยู่ใกล้เคียงกับรอยเลื่อนในประเทศเพื่อนบ้านหรือทางภาคเหนือ ที่ยังถือว่าเป็นรอยเลื่อนที่ยังคงมีพลังและสามารถปล่อยพลังดังกล่าวออกมาได้ตลอดเวลา

ภาพจาก : AFP 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง