เลือกตั้ง 2565 : "แจ้งเหตุไม่ไปเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม./ส.ก." ย้อนหลัง วันที่ 23-29 พ.ค. 2565 เหตุผลแบบไหนใช้ได้บ้าง เช็กด่วน!
เลือกตั้งผู้ว่า กทม. 2565 จบลงไปแล้ว โดยผลการเลือกตั้งผู้ว่า กทม. ออกมาว่า "ชัชชาติ สิทธิพันธุ์" ได้รับคะแนนสูงสุด คว้าเก้าอี้ "ผู้ว่าฯ กทม." คนที่ 17 ของกรุงเทพมหานคร ซึ่งเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2565 หากใครไม่ได้แจ้งเหตุไม่ไปเลือกตั้ง สามารถแจ้งไม่ไปเลือกตั้ง ย้อนหลังได้ ถึง 29 พฤษภาคม 2565
การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลือกตั้งสภากรุงเทพมหานคร และเลือกตั้งเลือกตั้งนายกเมืองพัทยาและสมาชิกสภาเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี ถูกกำหนดจัดพร้อมกันในวันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม 2565 ซึ่งหากประชาชนผู้มีสิทธิไม่สามารถไปเลือกตั้งในวันดังกล่าวได้ จะต้องแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งต่อ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ระหว่างวันที่ 23-29 พฤษภาคม 2565 โดยสามารถแจ้งเหตุได้ 3 ช่องทาง ดังนี้
ช่องทางแจ้งเหตุไม่ไปเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. ส.ก.
- ทำเป็นหนังสือยื่นด้วยตนเองหรือมอบหมายให้บุคคลอื่นยื่นแทน
- ทำเป็นหนังสือจัดส่งทางไปรษณีย์ โดยถือเอาวันที่ไปรษณีย์ลงรับเป็นวันแจ้งเหตุฯ
- แจ้งทางอิเล็กทรอนิกส์ที่
- เว็บไซต์ www.bora.dopa.go.th
- เว็บไซต์ www.ect.go.th
- แอปพลิเคชัน Smart Vote หัวข้อ “การแจ้งเหตุจำเป็นที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งทางอิเล็กทรอนิกส์”
แจ้งเหตุไม่ไปเลือกตั้ง ใช้เหตุผลอะไรได้บ้าง
- สำหรับเหตุจำเป็นที่สามารถแจ้งเหตุไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ประกอบด้วย
- มีกิจธุระจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องเดินทางไปพื้นที่ห่างไกล
- เจ็บป่วยและไม่สามารถเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้
- เป็นคนพิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้สูงอายุและไม่สามารถเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้
- เดินทางออกนอกราชอาณาจักร
- มีถิ่นที่อยู่ห่างไกลจากที่เลือกตั้งเกินกว่า 100 กิโลเมตร
- ได้รับคำสั่งจากทางราชการให้ไปปฏิบัติหน้าที่นอกเขตเลือกตั้ง
- เหตุสุดวิสัยอื่น
หากไม่แจ้งเหตุไม่ไปเลือกตั้ง ถูกจำกัดสิทธิอะไรบ้าง
ผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ใดไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งและไม่ได้แจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง หรือแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งแล้วแต่เหตุนั้นไม่ใช่เหตุอันสมควร จะถูกจำกัดสิทธิ์ดังนี้
- สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น หรือสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา
- สมัครรับเลือกเป็นกำนันและผู้ใหญ่บ้านตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่
- เข้าชื่อร้องขอให้ถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วย การลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
- ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมืองตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมือง และ ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการรัฐสภา
- ดำรงตำแหน่งรองผู้บริหารท้องถิ่น เลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ช่วยเลขานุการผู้บริหาร ท้องถิ่น ประธานที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น ที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น หรือคณะที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
- ดำรงตำแหน่งเลขานุการประธานสภาท้องถิ่น ผู้ช่วยเลขานุการประธานสภาท้องถิ่น และ เลขานุการรองประธานสภาท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
--------------------
เกาะติดสถานการณ์โควิด-19 ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก
ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.
คลิกเลย >>> TrueID Community <<<