รีเซต

ราชกิจจานุเบกษาประกาศขายสินค้าออนไลน์ไม่แสดงราคาปรับ 1 หมื่นบาท

ราชกิจจานุเบกษาประกาศขายสินค้าออนไลน์ไม่แสดงราคาปรับ 1 หมื่นบาท
TrueID
24 กันยายน 2563 ( 14:52 )
446
เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ ฉบับที่ 70 พ.ศ.2563 เรื่อง การแสดงราคาและรายละเอียดเกี่ยวกับการจำหน่ายสินค้าและบริการผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หรือออนไลน์ ซึ่งใช้แทนประกาศฉบับที่ 102 พ.ศ. 2562 ลงวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 ซึ่งมีผลบังคับใช้แล้ว
 
 
ทนายบันเทิง
 
 

ประกาศฉบับนี้มีหลักเกณฑ์สำคัญ คือ

 

1) ผู้ประกอบธุรกิจออนไลน์ ต้องแสดงราคาสินค้า​หรือ​ ค่าบริการ

จะมีตัวเลขภาษาใดก็ได้ แต่ต้องมีตัวเลขอารบิก อยู่ด้วย ผู้ประกอบธุรกิจ​ ในที่นี้ ได้แก่​ ผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการจำหน่ายสินค้าหรือบริการ ที่สำคัญการจำหน่ายสินค้าหรือบริการต้องทำผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หรือออนไลน์ ไม่ว่าจะอยู่ในเฟสบุ้ค ติ้กต้อก ไลน์ อินสตาร์แกรม ทวิตเตอร์ ลาซาด้า ชอปปี้ หรือฟู้ดแพนด้า เป็นต้น​ การขายไม่ว่าจะเป็นไลฟ์สด โพสต์ภาพเคลื่อนไหว ภาพนิ่งหรือข้อความ จะต้องแสดงราคาต่อหน่วยของสินค้าหรือบริการ เช่น ราคาต่อ เสื้อ 1 ตัว รองเท้า 1 คู่ น้ำปลา 1 ขวด ห้องพัก 1 ห้อง เป็นต้น

 
โดยผู้ประกอบธรุกิจ ต้องแสดงราคาสินค้า หรือค่าบริการ มีตัวเลขแสดงอยู่ด้วยเสมอ ในกรณีไลฟ์สด​ หรือภาพเคลื่อนไหว ผู้ขายจะใช้วิธีพูด บอกแสดงราคา ด้วยวาจาหรือ ใช้เสียงบรรยาย หรือท่าทาง นิ้วมือ ใช้สัญลักษณ์ โดยไม่แสดงตัวเลขไม่ได้
 

2) ต้องแสดงประเภท

ทั้ง ชนิด ลักษณะ ขนาด น้ำหนัก และรายละเอียดของสินค้า หรือบริการ โดยแสดง เป็นภาษาไทย แต่จะมีภาษาอื่นด้วยก็ได้​ ซึ่งหากพ่อค้าแม่ค้าที่นำภาพสินค้าจากต่างประเทศ มาจำหน่ายหรือให้บริการ ก็ต้องทำข้อความภาษาไทยกำกับหรือแปลเป็นภาษาไทย ด้วย
 

3) รายละเอียดตามข้อ 1 และ 2 ต้องแสดงให้ปรากฎในระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือระบบออนไลน์ของผู้ประกอบธุรกิจนั้น​ อย่างชัดเจน ครบถ้วน เปิดเผย สามารถอ่านเข้าใจง่าย

  • ข้อสังเกตคือ ต้องแสดง ราคา ค่าบริการและรายละเอียดในเพจ หรือแอพลิเคชั่น หรือเว็บของตน เท่านั้น จะแนบลิงค์ ไว้ใต้โพสต์ เพื่อให้ลูกค้ากดเข้าไปดู ราคา ค่าบริการและรายละเอียดตามลิงค์ ไม่ได้ รวมทั้งจะให้ลูกค้า in box เพื่อสอบถามราคาก็ไม่ได้เช่นกัน เนื่องจากไม่เป็นการแสดงราคาหรือรายละเอียดให้ปรากฏโดย ชัดเจน เปิดเผย

 

4) หากมีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายอื่น ๆ นอกเหนือจากราคา หรือค่าบริการ ต้องแสดงให้ชัดเจน ครบถ้วนและเปิดเผย

  • ข้อสังเกต ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่กล่าวถึง เช่น ค่าขนส่ง ค่าวัสดุหีบห่อที่ใช้ เป็นต้น
 
 
หากผู้ประกอบุรกิจ ฝ่าฝืน ไม่ปฏิบัติตามประกาศดังกล่าวก็จะมีความผิดตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 มาตรา 28 และมีโทษตามมาตรา 40 คือต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท (ไม่มีโทษจำคุก)
 
ซึ่งผู้ใดแจ้งเบาะแส แก่เจ้าหน้าที่จนสามารถจับกุมผู้กระทำความผิดได้ และผู้กระทำความผิดยินยอมชำระค่าปรับในอัตราอย่างสูงสำหรับความผิดฐานนี้ ให้ผู้แจ้งเบาะแสมีสิทธิได้รับเงินรางวัลสินบน อัตราร้อยละ 25 ของค่าปรับ และผู้จับกุมมีสิทธิได้รับเงินรางวัล ร้อยละ 30 ของค่าปรับ โดยจะได้รับเงินสินบนหรือเงินรางวัลก็ต่อเมื่อ มีการจับกุม การดำเนินคดี เปรียบเทียบ และชำระค่าปรับแล้ว
 
 
ข้อมูล : ทนายบันเทิง   
 
 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง