วันออกพรรษา 2566 ตรงกับวันไหน? สำคัญอย่างไร มีพิธี-กิจกรรมอะไรบ้าง
วันออกพรรษา 2566 ตรงกับวันไหน? เปิดประวัติความเป็นมา สำคัญอย่างไร มีกิจกรรมและพิธีอะไรบ้าง
วันออกพรรษา เป็นวันที่พุทธบริษัททั้งชาววัดและชาวบ้าน ได้พร้อมใจกันกระทำบุญกุศลต่าง ๆ ตามคติประเพณีที่เคยประพฤติปฏิบัติสืบ ๆ กันมาแต่โบราณกาล เช่นมีการตักบาตรเทโว หรือเรียกตักบาตรดาวดึงส์ เป็นต้น "วันออกพรรษา" มีสาเหตุเนื่องมาจาก "วันเข้าพรรษา" ที่มีมาแล้วเมื่อวันแรม 1 ค่ำเดือน 8 อันเป็นวันที่พระภิกษุทั้งหลายอธิษฐานใจเข้าอยู่พรรษาครบไตรมาส คือ 3 เดือน ตามพระพุทธบัญญัติ โดยไม่ไปค้างแรมค้างคืนนอกสถานที่ที่ท่านตั้งใจอยู่ไว้
วันออกพรรษา 2566 ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ปีนี้ตรงกับวันอาทิตย์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ.2566
เมื่อมีวันเข้าพรรษาก็จำเป็นต้องมีวันออกพรรษา ซึ่งวันออกพรรษา ซึ่งวันออกพรรษาตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 (เพ็ญเดือน 11) ของทุกปี วันออกพรรษา เป็นวันสุดท้ายแห่งการจำพรรษาของพระภิกษุสงฆ์ หมายถึงพระภิกษุสงฆ์ได้จำพรรษาครบกำหนดไตรมาส ตามพระพุทธบัญญัติแล้ว ท่านมีสิทธิ์ที่จะจาริกไปพักค้างคืนที่อื่นได้ ไม่ผิดพระพุทธบัญญัติและยังได้รับอานิสงส์ (ผลดี) คือ
1.ไปไหนไม่ต้องบอกลา
2.ไม่ต้องถือผ้าไตรครบชุด
3.ลาภที่เกิดขึ้นแก่ท่านมีสิทธิ์รับได้
4.มีโอกาสได้อนุโมทนากฐินและได้รับอานิสงส์คือได้รับการขยายเวลาของ
อนึ่ง มีชื่อเรียกวันออกพรรษาอีกอย่างหนึ่งว่า " วันปวารณา หรือ วันมหาปวารณา" มีความหมายว่าพระภิกษุทั้งหลายทั้งพระผู้ใหญ่และพระผู้น้อยต่างเปิดโอกาสอนุญาตแก่กันและกัน ให้ว่ากล่าวตักเตือนกันได้มีคำกล่าวปวารณาเป็นภาษาลี ว่า "สังฆัมภันเต ปะวาเรมิ ทิฎเฐนะ วา สุเตนะ วาปะริสังกายะ วา วะทันตุ มัง อายัส์มันโต อะนุกัทปัง อุปาทายะ ปัสสันโต ปฎิกะริสสามิ"
แปลว่า ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ กระผมขอปวารณาต่อสงฆ์ ด้วยได้เห็นหรือได้ฟังก็ตาม ขอท่านทั้งหลายโปรดอนุเคราะห์ ว่ากล่าวตักเตือนกระผมด้วย เมื่อกระผมมองเห็นแล้ว จักประพฤติตัวเสียเลยใหม่ให้ดี
ส่วนพิธีของฆราวาสนั้นควรจะนำเอาพิธีปวารณาของพระท่านมาใช้ดูบ้าง ซึ่งจะมีผลดีที่เกิดขึ้นแก่กลุ่มชนที่อยู่รวมกัน ไม่ว่าครอบครัวและสังคมต่าง ๆ และมีพิธีกรรมของฆราวาสที่เกี่ยวเนื่องกันในวันออกพรรษานี้ก็ได้แก่การบำเพ็ญบุญกุศลต่าง ๆ เช่น การทำบุญตักบาตร รักษาศีล ฟังธรรม ณ วัดที่อยู่ใกล้เคียง
มีการทำบุญอันเป็นประเพณีที่นิยมกระทำกันมานานแล้วในวันออกพรรษา ซึ่งเรียกว่า " ตักบาตรเทโว" หรือเรียกชื่อเต็มตามคำพระว่า "เทโวโรหนะ" แปลว่าการหยั่งลงจากเทวโลก หรือการตักบาตรนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ตักบาตรดาวดึงส์" และการตักบาตรเทโวนี้ จะกระทำในวันขึ้น 15 เดือน 11 หรือวันแรม 1 ค่ำเดือน 11 ก็ได้สุดแท้แต่จะเห็นพร้อมกัน
การทำบุญตักบาตรเทโวนี้ ท่านจัดเป็นกาลนาน คือ หนึ่งปีมีหนึ่งครั้ง และการกระบุญเช่นนี้ โดยยึดถือว่าเป็นวันคล้ายกับวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก ตามตำนานกล่าวว่า
เมื่อก่อนพุทธศักดิ์ราช 80 ปี พระพุทธเจ้าเสด็จขึ้นไปจำพรรษา ณ บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อทรงเทศนา "พระสัตตปรณาภิธรรม" คือพระอภิธรรม 7 คัมภีร์ โปรดพระพุทธมารดา (ซึ่งทรงบังเกิดอยู่ในสวรรคชั้นดุสิต)
ครั้นครบกำหนดการทรงจำพรรษาครบ 3 เดือนพระพุทธเจ้าทรงปวารณาพระวัสสาแล้วเสด็จลงจากดาวดึงส์เทวโลกมาสู่มนุษย์โลก ในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 โดย เสด็จลงทางบันไดแก้วทิพย์ ซึ่งตั้งระหว่างกลางของนับไดทองทิพย์อยู่เบื้องขวาบันไดเงินทิพย์อยู่เบื้องซ้ายและหัวบันไดทิพย์ที่เทวดาเนรมิตขึ้นทั้ง ๓ พาด บนยอดเขาพระสิเนรุราช อันเป็นที่ตั้งแห่งสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ส่วนเชิงบันไดตั้งอยู่บนแผ่นศิลาใหญ่ใกล้ประตูเมืองสังกัสสนครและสถานที่นั้นประชาชนถือว่าเป็นศุภนิมิตรสร้างพระเจดีย์ขึ้นเป็น "พุทธบูชานุสาวรีย์" เรียกว่า "อจลเจดีย์"
อนึ่งในวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงมาสู่มนุษย์โลกนั้นประชาชนพร้อมกันไปทำบุญตักบาตรเป็นจำนวนมากสุดจะประมาณ พิธีที่กระทำกันในการตักบาตรเทโว ซึ่งถือตามประวัตินี้ก็เท่ากับทำบุญตักบาตร รับเสด็จพระพุทธเจ้าในคราวเสด็จลงมาจากเทวโลกนั่นเอง บางวัดจึงเตรียมการในคฤหัสถ์แต่งตัวเป็นเทวดาบ้าง เป็นพรหมบ้างแล้วอัญเชิญพระพุทธรูปขึ้นประดิษฐานบนบุษบกที่มีล้อเคลื่อนและมีบาตรตั้งอยู่ข้างหน้าพระพุทธรูปใช้คนลากนำหน้าพระสงฆ์ พวกทายกทายิกาตั้งแถวเรียงรายคอยใส่บาตรเป็นการกระทำให้ใกล้กับความจริงเพื่อเป็นการระลึกถึงพระพุทธเจ้า ส่วนอาหารที่นำมาทำบุญตักบาตรในวันนั้น มีข้าว กับข้าวต้มมัดใต้ ข้าวต้มลูกโยนที่ห่อด้วยใบมะพร้าวหรือใบลำเจียกไว้หางยาวและข้าวต้มลูกโยนนี้มี ประวัติมาตั้งแต่ครั้งพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพราะตั้งใจอธิษฐานแล้วโยนไปให้ลงบาตรของพระพุทธเจ้า เนื่องจากมีคนมากเข้าไปใส่บาตรไม่ได้
ความมุ่งหมายของการปวารณากรรม ปวารณากรรม มีความมุ่งหมายชัดเจนปรากฏอยู่ในคำที่สงฆ์ใช้ปวารณาซึ่งกันและกัน ดังนี้
- เป็นกรรมวิธีลดหย่อนผ่อนคลายข้อขุ่นข้องคลางแคลงที่เกิดจากความระแวงสงสัย ให้หมดไปในที่สุด
- เป็นทางประสานรอยร้าว ที่เกิดจากผลกระทบกระทั่งในการอยู่ร่วมกันให้มีโอกาสกลับคืนดีด้วยการให้โอกาสได้ปรับความเข้าใจซึ่งกันและกัน
- เป็นทางสร้างเสริมความสามัคคีในหมู่ให้กลมเกลียวอยู่ร่วมกันอย่างสนิทใจ
- เป็นแนวปฏิบัติให้เกิดความเสมอภาคกันในการแสดงความคิดว่ากล่าวตักเตือนได้โดยไม่จำกัดด้วย ยศ ชั้น พรรษา วัย
- ก่อให้เกิด "ภราดรภาพ" รู้สึกเป็นมิตรชิดเชื้อปรารถนาดี เอื้อเฟื้ออาทรเป็นพื้นฐานนำไปสู่พฤติกรรมอันพึงประสงค์ที่ดีงานคล้าย ๆ กัน เรียกว่า ศีลสามัญญุตา
การประกอบพิธีในวันออกพรรษา
การประกอบพิธีในวันนี้ พุทธศาสนิกชนจะนิยมทำบุญเป็นกรณีพิเศษ เช่นตักบาตรในตอนเช้า ถวายสังฆทาน ไปทำบุญที่วัด ถวายภัตตาหาร ฟังพระธรรมเทศนา และมีการตักบาตรเทโวในวันรุ่งขึ้น
กิจกรรมต่างๆ ที่ควรปฏิบัติในวันออกพรรษา
1. ทำบุญตักบาตร อุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ที่ล่วงลับ
2. ไปวัดเพื่อปฏิบัติธรรม ฟังพระธรรมเทศนา
3. ร่วมกุศลกรรม "ตักบาตรเทโว"
4. ปัดกวาดบ้านเรือนให้สะอาด ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ราชการ และประดับธงชาติและธงธรรมจักตามวัดและสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา
5. ตามสถานที่ราชการ สถานที่ศึกษาและที่วัด ควรจัดให้มีนิทรรศการ การบรรยาย ฉายสไลด์ หรือบรรยาธรรม เกี่ยวกับวันออกพรรษา ฯลฯ เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนและผู้ที่สนใจทั่วไป
พิธีตักบาตรเทโวโรหณะในสมัยปัจจุบัน
ตอนรุ่งอรุณของวันตักบาตรเทโว พระภิกษุสามเณรลงทำวัตรในพระอุโบสถ พอพระอาทิตย์ขึ้นก็สมมติว่า พระลงมาจากบันใดสวรรค์ บางที่ก็มีดนตรีบรรเลงเพลงไทยเดิม สมมุติว่าเป็นพวกเทวดาบรรเลง ขับกล่อมตามส่งพระพุทธเจ้า ยังมีพวกแฟนตาซีอีก แต่งเป็นพวกยักษ์ เทวดา พระอินทร์ พรหม นางเทพธิดา นำหน้าขบวนพระภิกษุสามเณร ชาวบ้านก็จะใส่บาตรด้วยอาหารหวาน อาหารคาว ข้าวต้มลูกโยน ข้าวต้มมัดจึงเป็นสัญลักษณ์ของพิธีนี้
สำหรับบางที่ไม่นิยมตักบาตรเทโว แต่นิยมตักบาตรตอนเช้าถวายอาหารพระภิกษุแล้ว ฟังเทศน์รักษา อุโบสถศีล
โดยนิยมตักบาตรเทโว จะทำบุญเป็น 2 วันคือวันออกพรรษากับวันเทโว ในวันแรม 1 ค่ำเดือน 11 ในวันออกพรรษานั้น ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ก็มีการฟังเทศน์ตอนสาย และรักษาอุโบสถศีล
ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับวันออกพรรษา ที่นิยมปฏิบัติ คือ
1. ประเพณีตักบาตรเทโว (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 หลังจากออกพรรษาแล้ว 1 วัน)
2. พิธีทอดกฐิน (ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันขึ้น15 ค่ำ เดือน 12 กำหนด 1 เดือนนับตั้งแต่วันออกพรรษา)
3. พิธีทอดผ้าป่า
4. ประเพณีเทศน์มหาชาติ (นิยมทำกันในวันขึ้น 8 ค่ำ หรือ วันแรม 8 ค่ำ กลางเดือน 12 ในบางท้องถิ่นอาจนิยมทำกันในเดือน 5 ต่อเดือน 6 หรือในเดือน 10)
เปิดปฏิทินวันพระ และ วันสำคัญตลอดปี 2566 ได้ที่นี่
วันพระ เดือนสิงหาคม 2566
-วันอังคารที่ 1 สิงหาคม 2566 ขึ้น 15 ค่ำ เดือนแปด (วันอาสาฬหบูชา)
-วันพุธที่ 2 สิงหาคม 2566 แรม 1 ค่ำ เดือนแปด (วันเข้าพรรษา)
-วันพุธที่ 9 สิงหาคม 2566 แรม 8 ค่ำ เดือนแปด
-วันพุธที่ 16 สิงหาคม 2566 แรม 15 ค่ำ เดือนแปด
-วันพฤหัสบดีที่ 24 สิงหาคม 2566 ขึ้น 8 ค่ำ เดือนเก้า
-วันพฤหัสบดีที่ 31 สิงหาคม 2566 ขึ้น 15 ค่ำ เดือนเก้า
วันสำคัญ เดือนสิงหาคม 2566
1 สิงหาคม 2566 วันอาสาฬหบูชา / วันสตรีไทย
2 สิงหาคม 2566 วันเข้าพรรษา
4 สิงหาคม 2566 วันสื่อสารแห่งชาติ / วันสัตวแพทย์ไทย
7 สิงหาคม 2566 วันรพี
8 สิงหาคม 2566 วันแห่งคนอ้วน (ญี่ปุ่น)
10 สิงหาคม 2566 วันขี้เกียจสากล / วันเกิดสนูปปี้
12 สิงหาคม 2566 วันแม่แห่งชาติ / วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง / วันเยาวชนสากล
13 สิงหาคม 2566 วันคนถนัดซ้ายสากล
16 สิงหาคม 2566 วันสันติภาพไทย
17 สิงหาคม 2566 วันยกย่องแมวดำ
18 สิงหาคม 2566 วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ
19 สิงหาคม 2566 วันมนุษยธรรมโลก
23 สิงหาคม 2566 วันระลึกการค้าทาสและการเลิกทาสสากล
25 สิงหาคม 2566 วันบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
26 สิงหาคม 2566 วันสุนัขโลก
29 สิงหาคม 2566 วันแห่งเนื้อย่าง (ญี่ปุ่น) วันออกพรรษา
30 สิงหาคม 2566 วันสารทจีน / วันแห่งการรำลึกถึงผู้ถูกบังคับสูญหายสากล
วันพระ เดือนกันยายน 2566
-วันศุกร์ที่ 8 กันยายน 2566 แรม 8 ค่ำ เดือนเก้า
-วันพฤหัสบดีที่ 14 กันยายน 2566 แรม 14 ค่ำ เดือนเก้า
-วันศุกร์ที่ 22 กันยายน 2566 ขึ้น 8 ค่ำ เดือนสิบ
-วันศุกร์ที่ 29 กันยายน 2566 ขึ้น 15 ค่ำ เดือนสิบ
วันพระ เดือนตุลาคม 2566
-วันเสาร์ที่ 7 ตุลาคม 2566 แรม 8 ค่ำ เดือนสิบ
-วันเสาร์ที่ 14 ตุลาคม 2566 แรม 15 ค่ำ เดือนสิบ
-วันอาทิตย์ที่ 22 ตุลาคม 2566 ขึ้น 8 ค่ำ เดือนสิบเอ็ด
-วันอาทิตย์ที่ 29 ตุลาคม 2566 ขึ้น 15 ค่ำ เดือนสิบเอ็ด (วันออกพรรษา)
วันพระ เดือนพฤศจิกายน 2566
-วันจันทร์ที่ 6 พฤศจิกายน 2566 แรม 8 ค่ำ เดือนสิบเอ็ด
-วันอาทิตย์ที่ 12 พฤศจิกายน 2566 แรม 14 ค่ำ เดือนสิบเอ็ด
-วันจันทร์ที่ 20 พฤศจิกายน 2566 ขึ้น 8 ค่ำ เดือนสิบสอง
-วันจันทร์ที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ขึ้น 15 ค่ำ เดือนสิบสอง (วันลอยกระทง)
วันพระ เดือนธันวาคม 2566
-วันอังคารที่ 5 ธันวาคม 2566 แรม 8 ค่ำ เดือนสิบสอง (วันคล้ายวันเฉลิมฯ ร.9, วันพ่อ)
-วันอังคารที่ 12 ธันวาคม 2566 แรม 15 ค่ำ เดือนสิบสอง
-วันพุธที่ 20 ธันวาคม 2566 ขึ้น 8 ค่ำ เดือนอ้าย
-วันพุธที่ 27 ธันวาคม 2566 ขึ้น 15 ค่ำ เดือนอ้าย
ที่มา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ / ศูนย์ประชาสัมพันธ์ กองทัพภาคที่ 3
ภาพจาก TNN Online