รีเซต

กลุ่มทรู ผนึก มูลนิธิกระจกเงาเดินหน้าช่วยติดตามผู้พลัดหลงภายใต้โครงการ “หาย (ไม่) ห่วง”

กลุ่มทรู ผนึก มูลนิธิกระจกเงาเดินหน้าช่วยติดตามผู้พลัดหลงภายใต้โครงการ “หาย (ไม่) ห่วง”
TNN ช่อง16
21 กรกฎาคม 2565 ( 10:00 )
98

กรุงเทพฯ 23 มิถุนายน 2565 – ความเสี่ยงในการพลัดหลงของผู้ป่วยที่มีอาการหลงลืม อาจเกิดขึ้นได้เสมอ  ปัญหาเมื่อผู้ป่วยหลงลืม ที่พลัดหลงหายออกจากบ้าน จะไม่สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวเองได้ และมักไม่มีเอกสารติดตัว... กลุ่มทรู มูลนิธิกระจกเงา และภาคีเครือข่าย ได้แก่ บริษัท เอ็นเนอร์จีทิค อิเล็คทริคอล เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด และ บริษัท เอสเคที. เอ็มบรอยเดอรี่ จำกัด จึงร่วมกันพัฒนา ริสแบนด์ และป้ายคิวอาร์ โค้ด สำหรับรีดติดเสื้อผ้า เพิ่มช่องทางและเป็นเครื่องมือในการติดตามคนหายที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยใส่ฐานข้อมูลผู้เสี่ยงพลัดหลง ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม โรคหลงลืม กลุ่มโรคจิตเวช และผู้ป่วยทางสมองอื่นๆ  ที่ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการไว้บนสายรัดข้อมือสีเหลือง และป้ายคิวอาร์โค้ด สำหรับรีดติดเสือผ้า ซึ่งจะเชื่อมโยงให้คนทั่วไปมีส่วนร่วมช่วยเหลือสังคมอย่างง่ายดาย เพียงสแกน คิวอาร์โค้ด ที่ติดอยู่ ก็สามารถแจ้งเบาะแสและส่งต่อข้อมูลได้ทันที เพื่อให้มูลนิธิฯ ดำเนินการติดต่อญาติให้มารับผู้พลัดหลงกลับคืนสู่ครอบครัว โดยผู้ที่สนใจสามารถลงทะเบียนรับริสแบนด์ และ ป้ายคิวอาร์ โค้ด ได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายผ่านช่องทางของมูลนิธิกระจกเงา


นายเอกลักษณ์ หลุ่มชุมแข หัวหน้าศูนย์ข้อมูลคนหาย มูลนิธิกระจกเงา เผยว่า “สถิติรับแจ้งคนพลัดหลงในปี 2564 จากรายงานของมูลนิธิกระจกเงา พบว่ามีจำนวนทั้งสิ้น 714 คน ประกอบด้วยผู้ป่วยที่มีอาการของโรคต่างๆ ดังนี้ ผู้ป่วยที่มีอาการของโรคสมองเสื่อม จำนวน 133 คน ผู้ป่วยที่มีอาการของโรคจิตเวช จำนวน  452 คน ผู้ป่วยที่มีอาการทางสมอง จำนวน 71 คน และผู้ป่วยที่มีพัฒนาการช้า จำนวน 58 คน ทั้งนี้ มูลนิธิกระจกเงา จึงร่วมมือกลุ่มทรู และภาคีเครือข่าย พัฒนานวัตกรรมช่วยเหลือผู้พลัดหลงภายใต้โครงการ “หาย (ไม่) ห่วง”  ด้วยการใช้ศักยภาพของการสื่อสารผ่านคิวอาร์ โค้ด (QR Code) บนริสแบนด์ (Wristband) เพื่อให้ผู้พบเห็นทราบว่า บุคคลที่สวมใส่ริสแบนด์นี้ กำลังพลัดหลงหายจากบ้าน และต้องการความช่วยเหลือ ซึ่งในปี 2565 นี้ ผู้เข้าร่วมโครงการนอกกจากจะได้รับริสแบนด์แล้ว ยังได้รับป้ายคิวอาร์ โค้ด สำหรับรีดติดเสื้อผ้าอีก 12 ชิ้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและโอกาสในการติดตามค้นหาผู้พลัดหลงได้มากขึ้น โดยหากพบเห็นบุคคลพลัดหลงที่สวมใส่ริสแบนด์ หรือเสื้อผ้าที่คิวอาร์ โค้ด ของโครงการ “หาย (ไม่) ห่วง” สามารถให้ความช่วยเหลือได้ เพียงสแกนป้ายคิวอาร์ โค้ด บนริสแบนด์ผ่านแอปพลิเคชันไทยมิสซิ่ง (ThaiMissing Application) หรือแอปพลิเคชันอื่นๆ เพื่ออ่านรหัสข้อมูล และประสานงานผ่านเจ้าหน้าที่ของมูลนิธิกระจกเงาเพื่อติดต่อครอบครัวของผู้พลัดหลงต่อไป ปัจจุบัน โครงการ “หาย (ไม่) ห่วง” มีผู้เข้าร่วมกว่า 1,500 ครอบครัว และได้รับการช่วยเหลือจนกระทั่งสามารถกลับคืนสู่ครอบครัวได้อย่างปลอดภัยแล้วมากกว่า 10 ครอบครัว”


นายประพาฬพงษ์ มากนวล รองผู้อำนวยการฝ่ายกิจกรรมองค์กรเพื่อสังคม บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “โครงการ “หาย (ไม่) ห่วง” นี้ ตอกย้ำเจตนารมณ์การเป็นองค์กรที่มุ่งมั่นรับผิดชอบต่อสังคมช่วยเหลือกลุ่มผู้เปราะบางทุกมิติอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพื่อให้สังคมไทยเป็นสังคมของการแบ่งปัน เกื้อกูลกันและกัน ซึ่งกลุ่มทรู ได้ร่วมสนับสนุนโครงการนี้ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ด้วยการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ ผ่านช่องทางต่างๆ อาทิ ทรูวิชั่นส์ ทรูโฟร์ยู TNN รวมถึงโซเชียลมีเดียภายใต้กลุ่มทรู และเครือเจริญโภคภัณฑ์  พร้อมทั้งสมทบทุนการผลิตริสแบนด์ และนำศักยภาพด้านเทคโนโลยีการสื่อสารมาเปิดช่องทางรับบริจาคผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ ของกลุ่มทรู อาทิ แอปพลิเคชัน ทรูไอดี โดยลูกค้าทรู สามารถใช้ทรูพอยท์แลกแทนเงินบริจาค และประชาชนทั่วไปสามารถร่วมบริจาคผ่านแอปพลิเคชัน ทรูมันนี่วอลเล็ท เลือกไอคอน “All Donations” จากนั้นเลือกไอคอน “มูลนิธิกระจกเงา” หรือสแกนผ่าน QR Code ทรูมันนี่วอลเล็ท บนสื่อประชาสัมพันธ์โครงการฯ ซึ่งเงินบริจาคจะไม่ถูกหักค่าใช้จ่ายใดๆ ตั้งแต่วันนี้ ถึง 31 ธันวาคม 2565 เพื่อนำไปผลิตริสแบนด์ในครั้งถัดไป นอกจากนี้ กลุ่มทรู ขอเชิญชวนคนในสังคมไทยร่วมเป็นจิตอาสา เป็นหูเป็นตา ด้วยการสังเกตริสแบนด์บนข้อมือ หรือป้ายคิวอาร์ โค้ด จากโครงการ “หาย (ไม่) ห่วง” ที่อยู่บนเสื้อผ้าของผู้พลัดหลง ช่วยเหลือให้สามารถกลับคืนสู่ครอบครัวได้ในที่สุด”


สแกนบริจาคผ่านทรูมันนี่ วอลเล็ท 

(https://tmn.app.link/MIRROR_PR)

สแกนเพื่อบริจาคผ่านทรูไอดี 

(https://ttid.co/OiLl/2a6ukpft)


นายเกรียงไกร วังวิจิตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสเคที. เอ็มบรอยเดอรี่ จำกัด กล่าวว่า “ริสแบนด์ยังคงเป็นอุปกรณ์สำคัญที่จะช่วยเหลือผู้พลัดหลงได้เป็นอย่างดี แต่ในบางขณะผู้ที่สวมใส่อาจหลงลืมและถอดริสแบนด์ออก ทำให้ไม่สามารถระบุตัวตนได้ นายธนดล วังวิจิตร ลูกชายวัย 15 ปี จึงเสนอไอเดียต่อยอดการให้ความช่วยเหลือดังกล่าว โดยผลิตเป็นป้ายคิวอาร์ โค้ด สำหรับรีดติดเสื้อผ้าผู้พลัดหลง ซึ่งมีความแข็งแรง ทนทาน ไม่มีสารเคมีที่อันตรายต่อคนและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงข้อมูลของผู้สวมใส่เช่นเดียวกับริสแบนด์ได้อีกช่องทางหนึ่ง ซึ่งจะเพิ่มโอกาสให้คนทั่วไปสังเกตเห็นและสามารถช่วยเหลือและประสานงานผ่านมูลนิธิกระจกเงาต่อไปได้”


นายคมสัน กอชัชวาล ประธานกรรมการ บริษัท เอ็นเนอร์จีทิค อิเล็คทริคอล เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด กล่าวว่า “คิวอาร์ โค้ด ที่ปรากฏอยู่บนริสแบนด์ และบนป้ายติดเสื้อนั้น จะแตกต่างกันออกไปรายบุคคล ซึ่งทางบริษัทมีส่วนร่วมกับโครงการ “หาย (ไม่) ห่วง” ในการพัฒนาระบบลงทะเบียนและระบบบริหารจัดการข้อมูลแจ้งบุคคลสูญหาย เพื่อให้สามารถระบุตัวตนของผู้สวมใส่ได้อย่างถูกต้อง”


ทั้งนี้ผู้ที่สนใจสามารถร่วมบริจาคได้ที่ แอปพลิเคชัน ทรูไอดี และแอปพลิเคชัน ทรูมันนี่วอลเล็ท ร่วมทั้งสามารถลงทะเบียนรับริสแบนด์ และ ป้ายคิวอาร์ โค้ด ได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายที่ 

http://thaimissing.backtohome.org/home หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ มูลนิธิกระจกเงา โทร. 095-631-1914

#หายไม่ห่วง #นวัตกรรมติดตามช่วยผู้พลัดหลงให้กลับคืนสู่ครอบครัว

#มูลนิธิกระจกเงา #TrueTogether #คุณค่าของการมีกันและกัน #csrtrue #ซีพีร้อยเรียงความดี #ซีพี100ปี

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง