รีเซต

สถาบันพระปกเกล้าชูสบขุ่นโมเดลจ.น่าน เป็นเเนวทางการศึกษาการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน

สถาบันพระปกเกล้าชูสบขุ่นโมเดลจ.น่าน เป็นเเนวทางการศึกษาการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
TNN ช่อง16
15 มิถุนายน 2565 ( 15:04 )
109
สถาบันพระปกเกล้าชูสบขุ่นโมเดลจ.น่าน เป็นเเนวทางการศึกษาการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน

เมื่อวันที่10มิถุนายนที่ผ่านมา  ทีมคณะทำงานโครงการสบขุ่นโมเดล เครือเจริญโภคภัณฑ์  ได้นำผลิตภัณฑ์ของโครงการสบขุ่นโมเดลและผลิตภัณฑ์ชุมชนพื้นบ้านจากบ้านสบขุ่นอำเภอท่าวังผาจังหวัดน่าน ร่วมออกบูธ กิจกรรมปัจฉิมนิเทศ ในการนำเสนอผลงานของกลุ่มนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูงการเสริมสร้างสังคมสันติสุข (สสสส.) รุ่นที่12  ของสถาบันพระปกเกล้า  เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้มีโอกาสสัมผัสและลิ้มลองรสชาติกาแฟของโครงการสบขุ่นโมเดล


โดยโครงการสบขุ่นโมเดล เป็นโครงการที่เครือซีพีสนับสนุนในการสร้างป่าสร้างรายได้และถือเป็นโมเดลสำคัญ ของการศึกษาและถอดบทเรียนการแก้ปัญหาเรื่องความขัดแย้งด้านพื้นที่ทำกินและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ของบ้านสบขุ่นจนนำไปสู่การปรับเปลี่ยนอาชีพและขยายสู่โมเดลธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise ) ที่บริหารจัดการโดยชุมชนเเละมีเครือซีพีเป็นพี่เลี้ยงดูแล ด้วยการนำองค์ความรู้ด้านการเกษตรมาสนับสนุนชุมชนให้เปลี่ยนจากการปลูกข้าวโพดมาเป็นการปลูกกาแฟซึ่งคณะนักศึกษาจากสถาบันพระปกเกล้ากลุ่มทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ศึกษาดูงานโครงการสบขุ่นโมเดลเมื่อต้นปีที่ผ่านมานายอรรถวิทย์ ยุทธยศ ผู้จัดการทั่วไปด้านพัฒนาความยั่งยืนภาครัฐสำนักบริหารความยั่งยืนธรรมาภิบาลเเละสื่อสารองค์กรเครือเจริญโภคภัณฑ์กล่าวว่าเป็นโอกาสที่ดีของโครงการสบขุ่นที่มีสถาบันการศึกษาให้ความสนใจเเละขยายผลในการถอดบทเรียนการเเก้ปัญหาบนพื้นที่ทำกินของเกษตรกรเพื่อสร้างความเข้าใจในทุกภาคส่วนที่จะสร้างโอกาสในการสร้างอาชีพและรายได้พร้อมกับฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยปัจจุบันสบขุ่นโมเดลสามารถฟื้นฟูป่ากลับคืนมากว่า2,100 ไร่ และสร้างรายได้ให้ชุมชนรวมกว่า 707,863 บาทนายอดิศร์ กฤษณวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโสบมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหารหนึ่งในนักศึกษาจากสถาบันพระปกเกล้าเปิดเผยว่าการถอดบทเรียนทำงานวิจัยโครงการเพื่อสังคมที่ประสบความสำเร็จของเครือเจริญโภคภัณฑ์ในครั้งนี้จะเป็นตัวอย่างในการต่อยอดให้กับสถาบันได้ขยายผลโครงการให้กับหน่วยงานต่างๆที่กำลังหาเเนวทางการเเก้ไขปัญหาพื้นที่ทำกินเเละทรัพยากรธรรมชาติสู่ความยั่งยืนต่อไป

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง